สัญญาปางหลวง

สัญญาปางหลวง 1947 (สัญญาที่ก่อให้เกิด "สหภาพพม่า") 

วันที่ 19 พ.ย. 2428 อังกฤษได้จับกุมตัวกษัตริย์สี่ปอมิน(ธีบอ) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าไว้และในวันที่ 1 ม.ค. 2429 อังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของพม่าไว้หมดแล้ว ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้มีการรวมรัฐฉานของไทยใหญ่เข้าไปด้วย จนกระทั่งในเดือน มกราคม พ.ศ. 2430 อังกฤษถึงได้เดินทางเข้ามาในรัฐฉานและประกาศให้รัฐฉานเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ (Protectorate) ภายได้การปกครอง ของอังกฤษนั้นมีการแบ่งอยกการปกครองและเงินงบประมาณของรัฐฉานและพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน ในสมัยนั้นพม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อด้านอังกฤษมาโดยตลอด ในขณะทีเจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับอังกฤษรวมทั้งให้การช่วยเหลือสนับสนุนอังกฤษในการสู้รบสมัยสงคราโลกครั้งที่ 1 และ 2 ด้วย 



อ่อง ซาน กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 

เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ วันที่ 15 ส.ค. 2482 อองซานจึงได้จัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ได้ดินขึ้นโดยมีตัว อองซาน เป็นเลขาธิการของกลุ่ม อองซานได้พยายามติดต่อกับกลุ่มคอมมิวนิสต์กลุ่มต่างๆ ดังนี้ หลังจากที่เดินทางจากอินเดียกลับถึง กรุงย่างกุ้ง แล้วอองซานจึงได้แอบเดินทางเพื่อไปประเทศจีนแต่เพราะลงเรือผิดลำจึงไปขึ้นท่าที่เกาะอมอย (Amoy) ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัวอองซานไปที่เมืองโตเกียว หลังจากที่อองซานเดินทางกลับมาถึงกรุงยางกุ้งแล้วอองซานได้รวมรวมพรรคพวกจำนวน 3 คนเดินทางไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น วันที่ 26 ธ.ค. 2484 อองซาน ได้จัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่า (B.I.A. = Burma Independence Army ) ขึ้นที่ กรุงเทพฯแล้วในปี พ.ศ. 2485 อองซานได้นำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่นทำการโจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฏษและในช่วงสงครมโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นก็ได้เดินทางเข้ามาในพม่าและรัฐฉาน ทางเจ้าฟ้ารัฐฉานจึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษไปยังอินเดีย พม่าและญี่ปุ่นได้เข้ามาทำทารุณกรรมกับประชาชนในรัฐฉาน เช่นเดียวกันกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย จนกระทั่งสงครามโลกครั้ง ที่ 2 สงบลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลอเมริกา และอังกฤษได้จัดทำหนังสือข้อตกลงเตหะราน (Teheran Agreement) ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้วนั้น จะคืนเอกราชได้แก่ดินแดนอาณานิคมของทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด ซึ่งหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงแล้วนั้น อองซานจึงได้พยายามเข้าพบปะกันอังกฤษเพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษถึงกรุงลอนดอนในขณะที่อังกฤษปกครองพม่าและรัฐฉานอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน (ไม่ใช่ชาวไทยใหญ่) เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้งและมีแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบ เจ้าฟ้าได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช ของอองซาน และตกลงที่จะทำงานบ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของรัฐฉาน และให้เกิดการเข้าร่วมกับพม่าในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของอองซาน .โดยอาศัยพื้นที่ปฏิบัติการในรัฐฉาน เนื่องจากเจ้าฟ้าเป็นมิตรกับอังกฤษมาดตลอด จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่าขอให้รัฐฉานอยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อน อังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา การเมือง การปกครอง การติดต่อต่างประเทศ ในประเทศ การเศรษฐกิจและการคมนาคมแก่รัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง อองซาน เป็นผู้ที่ไปชักจูงให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในพม่าและรัฐฉาน แต่สุดท้ายแล้วในวันที่ 27 มี.ค. 2488 อองซานได้นำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น และพม่าได้ถือเอาวันนี้เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

 เจ้าฟ้าร่วมกันก่อตั้ง "สหพันธรัฐเทือกเขา" 

เจ้าฟ้าร่วมกันก่อตั้ง "สหพันธรัฐเทือกเขา" เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง หลังจากนั้น 2เดือน เจ้าหญิงเมืองป๋อน ทรงสิ้นพระชนม์ลง บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงได้เดินทางมาร่วมงานพระศพทำให้ได้พบปะและได้พูดคุยกันไว้ว่า น่าจะจัดให้มีการประชุมของเจ้าฟ้าทั้งหมด เกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉานจนกระทั่งวันที่ 31 ม.ค. 2489 จึงได้จัดประชุมกันขึ้นที่ เมืองกึ๋ง และในทีประชุมได้มีมติให้จัดตั้ง คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉานขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉานในแนวทางระบอบประชาธิปไตยและเพื่อที่จะทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีนแดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่าสามารถดำรงค์อยู่ได้อย่างมั่นคงนั้น ทางเจ้าฟ้ามีแนวความคิดที่จะร่วมสร้างบ้านแปงเมืองกับทางรัฐคะฉิ่น และรัฐชิน ดังนั้น จึงตกลงเห็นควรว่าจะเชิญ รัฐคะฉิ่น และ รัฐชิน เข้ามาร่วมเป็นสหพันธรัฐ ต่อมาในวันที่ 20-28 มี.ค. 2489 ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ คะฉิ่น และรัฐชิน จึงได้จัดประชุมร่วมกันขึ้นที่ เมืองปางหลวง (ป๋างโหลง)โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะทำการจัดตั้ง สหพันธรัฐเทือกเขาและสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา (Supereme Council of the United Hill People) S.C.O.U.H.P ขึ้นและกำหนดให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภารัฐละ 6 คนรวม 18 คนโดยจะเริ่มจัดตั้งภายในปี พ.ศ. 2490 และให้มีจัดประชุมร่วมกันขึ้นอีกครั้งหนึ่งที่เมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) ภายในปี พ.ศ. 2490 และถือว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นพื้นฐานของการจะอยู่ร่วมกับแบบสหพันธรัฐครั้งแรกในดินแดนแห่งนี้ แต่ด้วยนักศึกษาที่เป็นแนวร่วมของพม่าได้แจ้งข่าวเรื่องการประชุมร่วม 3 รัฐ ให้ทางพม่าทราบ ทางพม่าซึ่งนำโดย นายอูนุ และนายอูจ่อ จึงได้เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย แต่ถึงแม้พม่าจะเข้าร่วมประชุมด้วยก็ตาม ในที่ประชุมก็ไม่สามารถตกลงหาข้อยุติอันใดได้ เนื่องจากเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้พูดในที่ประชุมอย่างชัดเจนว่าจะจัดตั้งสหพันธรัฐที่ไมี่มีพม่ารวมอยู่ด้วยเท่านั้น ดังนั้น พม่าจึงเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์เท่านั้น ไม่มีสิทธิ์แส่ดงความคิดเห็นและไม่มีสิทธิ์ลงมติใดๆ ทั้งสิน วันที่ 27 ก.ค. 2489 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน (Exctive Committee of the Council of Shan State Saophas ) ขึ้นตามมติที่ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมที่เมืองกึ๋งในขณะที่พม่าต้องการให้ไทยใหญ่ร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ไม่เห็นด้วย พม่าจึงทำการยุยงให้นักศึกษาในรัฐฉานบางกลุ่มซึ่งเป็นแนวร่วมของพวกเขาทำการจัดตั้งกลุ่ม เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน ขึ้นเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2489 ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวความคิดทีจะเรียกร้องเอกราชร่วมกับพม่าและล้มล้างการปกครองระบอบเจ้าฟ้า

 เจ้าฟ้าไม่คิดที่จะร่วมกับพม่าตั้งแต่ต้น 

คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้พยายามเรียกร้องว่า หากมีการให้เอกราชแก่รัฐฉาน ก็ไม่เห็นด้วยที่จะได้ร่วมกันกับพม่า โดยได้ทำหนังสือแสดงจุดยืนดังกล่าวต่อข้าหลวงอังกฤษมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันอองซานก็ได้เดินทางไปลอนดอนเพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษและกลับมาชักชวนให้รัฐคะยาเจ้าร่วมกับพม่าด้วย ในระหว่างการเดินทางไปรัฐคะยา อองซาน ได้แวะกล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทยใหญ่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2489 ในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง ที่เมืองตองกี ซึ่งผู้ที่เข้าฟังการปราศรัยส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยเรียกร้องให้ไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับพม่า และในวันที่ 23 ธ.ค. 2489 อองซาน ได้ขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้าที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉานโดยได้พยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้าเหล่านั้นเห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษรร่วมกับพม่า แต่เจ้าฟ้าเหล่านั้นไม่เห็นด้วย ในวันที่ 26 ธ.ค. 2489 อองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุยกับ นายแอตลี (Attlee) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่กรุงลอนดอน เกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า วันที่ 30 .ธ.ค. 2489 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวีและได้ส่งโทรเลขจากเมืองล่าเสี้ยวถึง นายแอตลี มีใจความว่า อองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ เรื่องของทางไทยใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ติดสินใจเอง นายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่ 2 ม.ค. 2490 


อ่อง ซาน กับอูนุ คือผู้อยู่เบื้องหลับนักศึกษานิยมพม่า

 วันที่ 9 ม.ค. 2490 อองซาน เดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ 16 – 26 ม.ค. 2490 เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่า และรัฐฉานร่วมกัน แต่ทางนายแอตลี ได้ตอบปฏิเสธเนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมร์ของประชาชนชาวไทยใหญ่จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า เมื่อนายอูนุทราบว่าทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้ส่งโทรเลขถึง นายแอตลี มีใจความไม่เห็นด้วยกับพม่า ในวันที่ 22 ม.ค. 2490 นายอูนุ จึงได้สั่งให้คนของเขาไปทำการยุยงให้นักศึกษากลุ่ม เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน ส่งโทรเลขสนับสนุนให้ อองซานเป็นตัวแทนของขาวไทยใหญ่ ถึงนายแอตลี บ้าง โดยนายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2490 ต่อมาในวันที่ 27 ม.ค. 2490 จึงได้มีการทำหนังสือข้อตกลง อองซาน แอตลี (Aungsan Attlee-Agreement) ขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในวรรคที่ 8 ได้ กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า ให้อองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทยใหญ่ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ ปางหลวง (ป๋างโหลง)ในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้ และ นายแอตลี ได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ตัวแทนรัฐคะฉิ่น ตัวแทนรัฐชินให้ได้รับทราบเพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับอองซานในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาที่จะจัดขึ้นที่ เมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) จากมติการประชุมที่ เมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) เมื่อปี 2489 ว่า จะจัดให้มีการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นในวันที่ 3 ก.พ. 2490 ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ จึงได้จัดประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นที่ เมืองปางหวง (ป๋างโหลง) อีกครั้งหนึ่งซึ่งงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้นั้น ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด 


การประกาศใช้ธงชาติรัฐฉาน วันที่ 7 ก.พ. 2490 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯและประชาชนชาวไทยใหญ่ได้มีมติจัดตั้งสภาแห่งรัฐฉาน (Shan State Council) ขึ้น ซึ่งสมาชิกสภาแห่งรัฐฉาน นี้ประกอบด้วยตัวแทนเจ้าฟ้า 7 คน และตัวแทนจากประชาชนจำนวน 7 คนเช่นกันและให้ สภาแห่งรัฐฉาน เป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยใหญ่ทั้งปวงพร้อมทั้งได้มีมติประกาศใช้ธง ซึ่งประกอบด้วยสีเหลือง เขียว แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง เป็นธงชาติของรัฐฉานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (สีเหลือง หมายถึงการเป็นชนชาติผิวเหลืองและพุทธศาสนา สีเขียวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ของแผ่นดินรัฐฉาน และยังหมายถึงความเป็นชนชาติที่รักความสงบร่มเย็นไม่รุกรานใคร สีแดง หมายถึงความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของชนชาติรัฐฉาน และวงกลมสีขาวหมายถึงความมีสัจจะ ชื่อสัตย์และมีจิตใจที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ดั่งเช่นดวงพระจันทร์)


 ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชินร่วมกันก่อตั้งคัดสรร "สภาสหพันธรัฐเทือกเขา" 

วันที่ 8 ก.พ. 2490 เวลา 18.00 น. อองซาน ได้เดินทางมาถึงยังเมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) ก่อนหน้านี้ อองซานไม่ได้มาและเพิ่งเดินทางมาถึงโดยมีการเตรียมตัวเพื่อที่จะมาเข้าร่วมประชุมเลย อองซานมาในครั้งนี้ เหมือนเป็นการเสี่ยงดวงว่าทางไทยใหญ่จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น ที่มีการพูดว่า อองซาน เป็นผู้จัดการประชุมสัญญาปางหลวง(ป๋างโลหง) นั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดวันที่ 9 ก.พ. 2490 เวลา 10.00. น. ตัวแทนไทยใหญ่ ชิน และ คะฉิ่น ได้จัดตั้งสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา (S.C. O.U. H. P.) ขึ้นตามมติการประชุมร่วมกันเมื่อเดือน มี ค. 2489 โดยมีสมาชิกสภาซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากรัฐฉาน (ไทยใหญ่) รัฐชิน และรัฐคะฉิ่น รัฐละ 6 คน รวมเป็น 18 คนและให้เป็นสภาปกครองสูงสุดของสหพันธรัฐเทือกเขา

 อ่อง ซาน คือตัวแปรหลักที่ทำให้รัฐฉานตกหลุมพลาง

 วันที่ 9 ก.พ. 2490 เวลา 11.30 น. อองซาน ได้กล่าวในที่ประชุมเรียกร้องให้ไทยใหญ่ร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแนนเช่นเดิมและในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้น ได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้นระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของอองซาน กับองเจ้าฟ้าส่วยแต็ก แห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ทั่งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นมา บรรดาเจ้าฟ้าไยใหญ่ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระหลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด ส่วนตัวแทนองรัฐคะฉิ่นก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแทนของรัฐคะฉิ่นให้ชัดเจน (แต่เดิมดินแดนของรัฐคะฉิ่น เป็นดินแทนของรัฐฉานแต่ต่อมาอังกฤษได้แยก เมืองกอง เมืองยาง ออกไปเป็นรัฐคะฉิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการปกครองเป็นการชั่วคราวเท่านั้น) ซึ่ง อองซานได้แสดงอาการโกรธและจะไม่อยู่ร่วมประชุมต่อ แต่ทางฝ่ายหนักศึกษาของกลุ่ม เพื่อเอกราชรัฐฉาน ซึ่งเป็นแนวร่วมกับทาง อองซาน ได้เรียกร้องให้อยู่ร่วมประชุมต่อ วันที่ 11 ก.พ. 2490 ได้มีมติตกลงที่ร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการติดสินใจ ทุกอย่างที่ต้องร่วมกันเรียกร้องเอกราชก็เพื่อให้เกิดพลังในการเจรจากับอักฤษเท่านั้น วันที่ 12 ก.พ. 2490บรรดาเจ้าฟ้าและตัวแทนจากรัฐต่างๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง(ป๋างโหลง) ซึ่งอองซานเป็นผู้ร่างขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2490 มีเนื้อหาสาระทั้งหมด9 ข้อ แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระบรรดาเจ้าฟ้าจึงไท้วงถาม ซึ่งอองซาน ได้ตอบว่าเรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพจะมีผลดีมากว่าเขียนไว้ในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) 1. ให้ตัวแทนของสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา (Supreme Council of the United Hill People )เข้าร่วมในคณะรัฐบาลได้จำนวน 

  • 1 คน โดยให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ปรึกษา 
  • 2. รัฐมนตรีผู้นั้น จะไม่สังกัดกระทรวงใดเกี่ยวกับด้านการทหารและการต่างประเทศของสหันธรัฐเทือกเขา (United Hill People) นั้น จะต้องมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล 
  • 3. ตัวแทนของสหพันธรัฐเทือกเขา (United Hill People) สามารถเลือกรัฐมนตรีช่วยได้อีก 2 ตำแหน่ง ซึ่งในจำนวน 2 ตำแหน่งนี้ จะต้องมิใช่ชนชาติเดียวกันและต้องมิใช่ชนชาติเดียวกับยกับรัฐมนตรีด้วย 
  • 4. รัฐมนตรีช่วยทั้ง 2 คนมีสิทธิเข้าร่วมการประชุมเมื่อมีการประชุมเกี่ยวกับสหพันธรัฐเทือกเขา (ไทยใหญ่ ชินและคะฉิ่น) เท่านั้นหากนอกเหลือจากนี้รัฐมนตรีเท่านั้นที่จะมีสิทธิเข้าร่วมในการประชุมสภาฯ 
  • 5. สหพันธรัฐเทือกเขา (United Hill People ) มีสิทธิปกครองตนเองโดยอิสระเหนือนดังเช่นที่เคยปฏิบัติ 
  • 6. ในหลักการให้การรับรองว่า ให้รัฐคะฉิ่น เป็นรัฐๆ หนึ่ง แต่ในการณ์นี้จะต้องนำเข้าสู่วาระการประชุมร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง 
  • 7. ตามหลักการระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดไว้สหพันธรัฐเทือกเขา(United Hiil People)ตองได้รับสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันพม่าทุกประการ 
  • 8. รัฐฉาน มีสิทธิในการใช้จ่ายเงินทองเหมือนเดิม(เหมือนสมัยอยู่ในอารักขาของอังกฤษ) 
  • 9. ต้องนำเงินส่วนกลางจากทางรัฐบาลไปช่วยเหลื่อแก่รัฐชิน และคะฉิ่น ส่วนหนี้สินระหว่างพม่าและไทยใหญ่นั้น ให้รัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยของสหพันธรัฐเทือกเขา (United Hill People) ทำการตรวจสอบและเพื่ออำเนินการแก้ไขต่อไป 


ผู้ร่วมลงนามใน "สัญญาปางหลวง"
 ฝ่ายพม่า     1. อองซาน 

ฝ่ายคะฉิ่น    
  • 1. สะมาตูวาสิ่นวาหน่อง (ตัวแทนจากเมืองแมดจีนา) 
  • 2. เต่งระต่าน (ตัวแทนจาก เมืองแมดจีนา) 
  • 3. ตูวาเจ๊าะลุน (ตัวแทนจาก เมืองบ้านหม้อ) 
  • 4. ละป่านกะหร่อง (ตัวแทนจาก เมืองบ้านหม้อ) 
  •  
ฝ่ายชิน   
  • 1. ลัวะมง (ตัววแทนจากเมืองกะลาน) 
  • 2. อ่องจ่าคบ (ตัวแทนจาก เมืองต๊ะเต่ง) 
  • 3. กี่โหย่มาน (ตัวแทนจาก เมืองฮาคา) 

ฝ่ายไทยใหญ่ 
  • 1. เจ้าขุนปานจิ่ง (เจ้าฟ้าน้ำสั่น) 
  • 2. เจ้าส่วยแต๊ก (เจ้าฟ้า ย่องฮ่วย) 
  • 3. เจ้าห่มฟ้า (เจ้าฟ้าแสนหวีเหนือ) 
  • 4. เจ้าหนุ่ม (เจ้าฟ้า ลายค่า) 
  • 5. เจ้าจ่ามทุน (เจ้าฟ้า เมืองป๋อน) 
  •  6. เจ้าทุนเอ (เจ้าฟ้า ส่าเมืองคำ) 
  • 7. อูผิ่ว (ตัวแทนจาก เมืองสี่แส่ง) 
  • 8. ขุนพง (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน) 
  • 9. ติ่นเอ (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน) 
  • 10. เกี่ยปุ๊ (ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน) 
  • 11. เจ้าเหยียบฟ้า (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน) 
  • 12. ทุนมิ้น (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน 
  • 13. ขุนจอ (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน) 
  • 14. ขุนที (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน 

ไทยใหญ่ 14 คน คะฉิ่น 5 และชิน 3 คน พม่า 1 คน รวม 23 คน ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) เป็นการเริ่มหยั่งรากการเริ่มต้นของการรวมเมืองเพื่อเป็นสหภาพ ซึ่งในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) มีชนชาติร่วมลงนามเพียง 4 ชนชาติเท่านั้น 







ร่างรัฐธรรมนูญ 

เนื่องจากสิทธิสำคัญส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับไทยใหญ่เสียเป็นส่วนใหญ่ และไทยใหญ่ ก็เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งความสามัคคี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไทยใหญ่มีผู้ร่วมลงนามมากกว่าชนชาติอื่น การรวมกันเป็นสหภาพนี้ มิได้เกิดขึ้นจากความคิดของ อองซาน แต่เกิดขึ้นจากการริเริ่มของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ที่พยายามก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 ซึ่งในขณะนั้น อองซาน เองก็ยังไม่ได้มีความคิดที่จะรวมเอาสหพันธรัฐเทือกเขาเป็นสหภาพ ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่เองที่ได้มีการตระเตรียมดำเนินการไว้ทั้งหมดแล้ว แต่ภายหลัง อองซาน ได้เข้ามาฉายโอกาศชุบมือเปิบถือเอาว่าการต่อตั้งสหภาพเป็นการริเริ่มของพม่า เนื่องจากหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) ซึ่งตกลงร่วมกันเรียกร้องเอกราชและจัดตั้งคณะรัฐบาลในการปกครองประเทศต่อไปในอนาคต (หลังจากรับเอกราชแล้ว) จำเป็นที่จะต้องมีรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศดังนั้น ในเดือน พ.ค. 2490 พ.ย. 2490 จึงได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาและในบทบัญญัติที่ 10 บรรทัดที่ 202 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีหนังสือสัญญาปางหลวง(ป๋างโหลง) นั้นมิได้มีการกำหนดระยะเวลาในการอยู่ร่วมกัน เจ้าฟ้าและผู้นำของชาวไทยใหญ่มีความคิดแต่เพียงว่าอยู่ร่วมกันจนได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วเท่านั้น แต่เมื่อร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) แล้วอองซานจึงได้เสนอให้อยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลา 10 ปี (เสนอเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2490 ณ เมืองเม่เมี้ยว MAY MYO) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อังกฤษได้เข้ามาพบปะ และถามความคิดเห็นของประชาชนสหพันธรัฐเทือกเขา 


เนวิน ยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญ 

ด้วยเหตุที่มีการร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) และได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาในวันที่ 4 ม.ค. 2491 จึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ โดยมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ เนื่องจากประเทศไทยใหญ่และพม่ามิได้เป็นประเทศเดียวกัน อองซาน จึงได้เรียกร้องต่ออังกฤษเพื่อให้ไทยใหญ่ และพม่าได้รับเอกราชในเวลเดียวกัน และตัวอองซานเองได้เดินทางขึ้นมาพบปะพูดคุยกับเจ้าฟ้าในที่ประชุม ปางหลวง (ป๋างโหลง) ซึ่งถ้าหากว่าไทยใหญ่และพม่าเป็นประเทศเดียวกันแล้วอองซาน คงไม่ต้องเสียเวลามาเจรจากับเจ้าฟ้าในการประชุมปางหลวง(ป๋างโหลง) และหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) ก็คงไม่เกิดขึ้น และในรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2490 ก็คงไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระ ดังนั้นประเทศไทยใหญ่และพม่าจึงมาเกี่ยวกพันเริ่มตั้งแต่การลงนามร่วมกันในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) เป็นต้นมาเท่านั้นเอง วันที่ 2 มี.ค. 2505 เนวินไนำทหารเข้ายึดอำนาจจาก อองซาน และได้ฉีกหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) ทิ้งรวมทั้งรัฐธรรมนูญที่ได้ร่วมกันร่างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490 ดังนั้น ความเกี่ยวพันกันระหว่างไทยใหญ่กับพม่าจึงเป็นอันสิ้นสุดกลายเป็นคนละประเทศ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 

พม่าส่งทหารเข้ามายึดครองรัฐฉาน แล้วยัดเยียดเจ้าของประเทศว่า "ชนกลุ่มน้อย" 

ต่อมา พม่าได้นำกำลังทหารเข้ามารุกรานดินแดนของประเทศไทยใหญ่ เข้ามาทำการข่มเหงกดขี่ประชาชนในแผ่นดินไทยใหญ่ เป็นลักษณะของพวกล่าอาณานิคม โหดเหี้ยม อำมหิต ไรมนุษยธรรม ถือเอาว่าดินแดนทั้งหมดของรัฐฉานเป็นของพม่า โดยกล่าวหาเจ้าของประเทศเป็นชนกลุ่มน้อย ทั้งๆ ทีแผ่นดินของรัฐฉานทั้งหมดมีเจ้าของโดยชอบธรรม ผู้เขียนได้ศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามจากผู้ทีมีช่วงชีวิตอยู่ในสมัยนั้นรวมทั้งผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์สมัยนั้นจึงได้รับทราบข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ในส่วนของพม่าได้พยายามปกปิดข้อเท็จจริงโดยการเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่อันเป็นเท็จ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถศึกษาข้อมูลจากประวัติศาสตร์ของพม่าได้แม้แต่น้อยนิด เพื่อให้ผู้สืบสายเลือดไทยใหญ่ได้รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด จึงได้ใช้เวลาอันยาวนานทำการค้นคว้าความจริงออกเผยแพร่ เพื่อให้ได้รับรู้โดยทั่วกันว่าความจริงแล้วไทยใหญ่เป็นประเทศที่ถูกปล้นเอกราชโดยพม่า และได้รับเคราะห์กรรมอย่างแสนสาหัสมาจนกระทั่งปัจจุบัน  

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 www.taiyai.net 
လိူၼ်တႆး 26/พ.ค.2016

แสดงความคิดเห็น

Translate






[facebook]

Author Name

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.