Latest Post



ผู้ก่อตั้งหนุ่มศึกหาญซึ่งมีกำลังพลเพียง 31 คน เมื่อ 21.5.58
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ (เสียชีวิต วันที่ 14 พฤศจิกายน 1996)เป็นบุตรของเจ้าขุนก่ำ เจ้าครองเมืองบ้านหม้อ กับแม่เจ้าทียอด โดยสายเลือด เป็นเจ้านายเผ่าไตเขิน ตัวเขามีเลือดเนื้อเป็นเจ้าในราชวงศ์ไต และเป็นกลุ่มแรก ที่ตั้งกองทัพขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลพม่า ในนามของขบวนการหนุ่มศึกหาญ ซึ่งมีเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะเป็นผู้นำ
เมื่อนายพลเนวิน ปกครองประเทศด้วยอำนาจทหาร ก็ได้มีประกาศตั้งสิน บนทั้งจับเป็นและจับตาย  เป็นเงินถึง 5 แสนจัส นับว่าเป็นสินบนนำจับที่มีราคาแพง
            ในสมัยอูนุเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้ติดต่อกับนายพลจีน แห่งกองพล 93 ซึ่งได้อพยพเข้ามาอยู่ทางชายแดนตอนใต้ ของรัฐฉาน ที่เมืองหาง เมืองต๋น และเมืองปั่น เพื่อหาทางจับกุม เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ตลอดคอยสอดแนมความเคลื่อนไหวของขบวนการกู้ชาติหนุ่มศึกหาญ แต่ก็ไม่สามารถจะทำลาย ผู้นำขบวนการได้สำเร็จ
            ต่อมาเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ถูกขุนศึกคู่ใจ ที่เคยกอดคอร่วมทุกข์ร่วมสุข ต่อสู้กับกองทัพพม่ามาด้วยกัน ได้ทำการทรยศหักหลัง คุมกำลังพลในบังคับบัญชาของตน เข้าโจมตีค่ายของซอหยั่นต๊ะโดยไม่ทันตั้งตัว จนพ่ายแพะเสียที เขาผู้นั้นก็ไม่ไช่ใครอื่น คือ ขุนศึกส่างซอ
            ส่วนเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้หลบหนีมาอยู่ที่บ้านเชียงดาว จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยครอบครัว แต่การมาอยู่ที่บ้านเชียงดาว      เจ้าน้อยก็ต้องประสบกับเหตุการณ์อันไม่คาดหวัง คือมีทหารไตพร้อมทหารจีนฮ่อประมาณ 100 คน ได้บุกมายังบ้านที่เจ้าน้อยอาศัยอยู่ แต่เจ้าน้อยก็เอาตัวรอดไปได้ เนื่องจากทหารที่อารักขาได้ยิงปืนขึ้น 1 นัด ซึ่งบ่งบอกว่ามีเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนาเกิดขี้นเจ้าน้อยจึงกระโดดลงจากหน้าต่าง หลบเข้าพงป่าหญ้าไปทางทิศตะวันตกของบ้าน ซึ่งเป็นบริเวณป่ารก
            ทหารได้ยิงปืนขู่ขวัญคนในบ้านเพื่อไม่ให้หลบหนี พร้อมกับตะโกนว่า ทุกคนจงอยู่กับที่อย่าได้คิดหนีเป็นอันขาด เรามิได้ประสงค์จะทำร้ายใคร แล้วพร้อมกันนั้นก็ ได้ตรวจตราดูห้องทุกซอกทุกมุม แต่มิได้พบเจ้าน้อย แล้วทหารพวกนั้นก็สั่งการให้ทุกคนเก็บข้าวของเพื่อจะกลับไปยังแคว้นไต
            พอสายหน่อยเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ หัวหน้าขบวนการหนุ่มศึกหาญ ออกมาจากบริเวณที่ซ่อน เข้ารายงานตัวกับ พ.ตต.วิชัย กลับเจริญ หลังจากนั้น ก็พาภรรยากลางนางหลู่ ซึ่งหนีรอดจากทหารมาได้  จึงพากันเข้าเชียงใหม่พื่อพ้นจากอันตรายชั่วคราว
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ซึ่งมึความห่วงใย ในเรื่องการกู้ชาติของไตยเป็นที่ตั้ง รองจากความห่วงใยในเรื่องนี่ ก็คือความเจ็บช้ำ ที่ถูกส่างซอ ลูกน้องเก่าทรยศ จึง   คอยสดับตรับฟ้งเหตุการณ์ในรัฐไตตลอดมา
            ในสมัยอังกฤษเข้ามาปกครอง เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะได้เข้าเป็นทหาร ในสังกัดกองทัพบกอังกฤษ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าน้อยได้ประจำการอยู่ที่ประเทศอินเดีย ต่อมาภายหลังพม่าได้เอกราชคืนจากอังกฤษแล้ว ได้ลงมติในรัฐสภา ให้เมืองบ้านหม้อเป็นรัฐกะฉิ่น เพราะมีชาวกะฉิ่นอพยพไปอยู่มากกว่าชาวไตผู้เป็นเจ้าเดิม แม้ผู้ครองเมืองจะเป็นเจ้าฟ้าไตก็ตาม การกระทำของพม่าเช่นนี้ เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ซึ่งเป็นทายาทของขุนก่ำไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ซึ่งเป็นนักการทหาร ไม่ใช่นักการเมือง แต่การเมืองเข้ามาเล่นงานจนได้ เมื่อให้บ้านหม้อเป็นรัฐของกะฉิ่นแล้ว ขุนก่ำก็ต้องถูกปลดจากตำแหน่งเจ้าฟ้า และไม่แต่ขุนก่ำเท่านั้น บรรดาเจ้าฟ้าอีกหลายเมืองก็ถูกปลดเช่นเดียวกัน ต่างเดือดร้อนต้องทิ้งบ้านเรือนหลบหนีกัน
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ พร้อมด้วยเจ้าน้อยอ่องแห่งเมืองคำตี เจ้าขุนคำแหลงผู้เป็นญาติสนิทได้พากันไปพบเจ้าห่มฟ้า เจ้าเมืองแสนหวี เพื่อปรึกษาเรื่องที่พม่ายกเอาเมืองของตนไปเป็นรัฐกะฉิ่น เท่ากับเป็นการทำลายล้าง กำลังของพวกไตโดยทางอ้อม
            แต่ไม่มีทางแก้ไขอย่างไรเพราะทหารพม่าเต็มเมืองไปทุกเมือง ในที่สุดเจ้าห่มฟ้า เลยชวนเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ อดีตในร้อยโทหนุ่ม ให้อยู่ช่วยงานของการรวมชาติไต ในเมืองแสนหวี
            แต่นั้นมาเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ก็ได้มีหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ระหว่างเจ้าฟ้าเมืองแสนหวี กับเจ้าฟ้าเมืองอื่น ๆ ทำให้กว้างขวางในวงการเมืองของรัฐฉาน มากขึ้นตามลำดับ และทำให้วงการรัฐบาลพม่าจับตาดูอย่างไม่คลาดสายตา เพราะรายงานจากสายลับของอูนุว่า นายทหารหนุ่มแห่งอดีตกองทัพอังกฤษ ได้รับความไว้วางใจ จากบรรดามุขบุรุษของชาวไตมาก และกำลังดำเนินการติดต่อที่จะแยกอำนาจการปกครองไปจากรัฐบาลพม่า หลังจากที่ร่วมเป็นสหายกันมาสิบปี
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ปราศรัยและถ่ายถามความคิดเห็นของ บรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ ตลอดจนพ่อค้าและประชาชนทั่วไป ชนชาวไตทั้งหลาย นับตั้งแต่ เมืองกึ๋ง เมืองลายค่า เมืองหนอง เมืองปั่น เมืองโต๋น เมืองสาด เมืองหมอกใหม่ เมืองพยาก เมืองเป็ง เมืองยอง แล้วมีเสียงเห็นพ้องต้องกันว่า ชาวไตทั้งหมดควรจะแยกตัวออกเป็นชาติเอกราช และนั้งประเทศขึ้นเป็นอิสระ โดยไม่ขึ้นกับพม่า
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ทำความรู้จำกับหัวหน้าชาวไตในเมืองเหล่านั้น อย่างกว้างขวางแล้ว ได้นำเรื่องราวต่างๆ มาบรรยายให้เจ้าฟ้าทราบถึงความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนว่าเป็นอย่างไร
            อีกด้านหนึ่งก็ ได้มีพระสงฆ์ผู้รักชาติ เช่น พระปั่นติต๊ะ ออกเทศน์สั่งสอนประชาชน เกี่ยวกับ การกู้ชาติ ให้ประชาชนฟัง บรรจบกันทั้งสองฝ่าย พระปั่นติต๊ะองค์นี้ เคยไปขอให้ อูนุ ปล่อยตัวเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะตอนที่ถูกจับไปขัง โดยไม่มีหลักฐานการทำผิด ต่อมาคนทั้งสอง ก็ได้ร่วมมือกันตั้งขบวนกู้ชาติหนุ่มศึกหาญขึ้นมา
            แม้รัฐบาลพม่า พม่าได้ยอมปล่อยตัวเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะมาแล้ว ก็ได้ติดตามดูพฤติกรรมของเขาตลอด การตั้งขบวนการกู้ชาติหนุ่มศึกหาญขึ้นมานั้น ทางพม่าได้ทุ่มเทเงินหลายล้าน เพื่อทำลายล้างขบวนการนี้ให้ได้ เพราะถือว่าเป็นอันตรายต่อรัฐบาลพม่าอย่างมาก และได้ทำการโฆษณาให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ มิใช่เป็นเชื้อสายชนชาติไต แต่เป็นจีนฮ่อ บางทีโฆษณาหาว่า หัวหน้าขบวนการกู้ชาติ ที่อยู่ทางชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ได้ยักยอกเบียดเบียนเอกเงินทองทรัพย์สินที่ประชาชน พ่อค้าบริจาคให้ซื้ออาวุธ และดำเนินการกู้ชาติ ไปบำรุงบำเรอความสุขของตนเองและพักพวกหมดสิ้น ไม่ได้ช่วยชาติอย่างแท้จริง การโฆษณาเช่นนี้  ได้ทำให้พ่อค้า ประชาชน ที่เสียสละ พากันหมดศรัทธาต่อผู้กู้ชาติ ซึ่งทำงานลำบากอดอยากอยู่ในป่า
        เครื่องมือการทำลายล้าง ขบวนการกู้ชาติที่พม่าใช้อย่างได้ผล ก็คือพวกทหารจีนกองพล 93 ที่รัฐบาลพม่าจ้างไว้ พวกทหารจีนกองพล 93 ได้กระจัดกระจายอยู่ตามชายแดนรัฐฉานและชายแดนไทย นอกจากใช้กำลังคอยจู่โจม กองกำลังกู้ชาติหนุ่มศึกหาญแล้ว ก็ยังมีจีนฮ่อลูกครึ่งในประเทศไทย คอยถ่ายทอดข่าว จากกองพล 93 กล่าวร้ายป้ายสีขบวนการกู้ชาติอยู่เป็นประจำ
            แต่อย่างไรก็ตาม เจ่าน้อยซอหยั่นต๊ะ ก็ยังยืนหยัดกับพี่น้องขบวนการกู้ชาติ อย่างอยู่ยงคงกระพัน เมื่อปลอดภัยจากลูกน้องผู้ทรยศ และถูกฝ่ายพม่าใช้ทหารจีนฮ่อ บุกเข้าจับตัวที่เชียงดาวแล้ว เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ก็ได้รวบรวมพลพรรคที่สนิทกัน เป็นกองกำลังขบวนการกู้ชาติ ย้อนกลับเข้าไปสู่รัฐฉานอีกครั้ง 
เกิดบนแผ่นดินใดแล้วไม่ทำประโยชน์ให้กับแผ่นดินนั้นเป็นสิ่งที่หน้าอาย
ถึงแม้ตัวจะตายสลายไป แต่ชื่อเสียงและประวัติความกล้าหาญของท่านยังอยู่
ที่มาwww.taiyai.net
လိူၼ်တႆး 26/พ.ย.2016




สัญญาปางหลวง 1947 (สัญญาที่ก่อให้เกิด "สหภาพพม่า") 

วันที่ 19 พ.ย. 2428 อังกฤษได้จับกุมตัวกษัตริย์สี่ปอมิน(ธีบอ) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าไว้และในวันที่ 1 ม.ค. 2429 อังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของพม่าไว้หมดแล้ว ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้มีการรวมรัฐฉานของไทยใหญ่เข้าไปด้วย จนกระทั่งในเดือน มกราคม พ.ศ. 2430 อังกฤษถึงได้เดินทางเข้ามาในรัฐฉานและประกาศให้รัฐฉานเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ (Protectorate) ภายได้การปกครอง ของอังกฤษนั้นมีการแบ่งอยกการปกครองและเงินงบประมาณของรัฐฉานและพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน ในสมัยนั้นพม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อด้านอังกฤษมาโดยตลอด ในขณะทีเจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับอังกฤษรวมทั้งให้การช่วยเหลือสนับสนุนอังกฤษในการสู้รบสมัยสงคราโลกครั้งที่ 1 และ 2 ด้วย 

จายคำเล็ก นักปราชญ์แห่งวงการเพลงไทยใหญ่

คอลัมน์รู้จักคนดังฉบับนี้ขอแนะนำให้รู้จักกับจายคำเล็กนักประพันธ์เชื้อสายไทยใหญ่ผู้มีความสามารถในการประพันธ์งานเขียนมากมาย อาทิเช่น กลอน นิยาย บทกวี สุภาษิต  ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในหมู่ชาวพม่าและชาวไทยใหญ่ คือ ผลงานเพลงทั้งไทยใหญ่ พม่า และอังกฤษ ซึ่งแต่งขึ้นด้วยปลายปากกาของเขารวมแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 เพลง บทเพลงของเขามีความหมายลึกซึ้งกินใจและกลายเป็นเพลงฮิตติดอันดับจนบรรดานักเล่นกีตาร์ส่วนใหญ่ต้องมีหนังสือรวมเพลงฮิตของเขาเอาไว้ติดบ้าน  รวมทั้งทำให้สายมาวศิลปินนักร้องยอดนิยมที่สุดของชาวไทยใหญ่สามารถแจ้งเกิดจากเพลงนี้และถูกจับติดคุกนานถึงสองปีเนื่องจากบทเพลงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและฮิตมากในหมู่ชาวไทยใหญ่
จายคำเล็กเกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2492 ที่ย่านหัวแต้น เมืองแสนหวี ภาคเหนือของรัฐฉาน บิดาคือนายก๋าคำ หรือนายส่วยจี่ อดีตครูหมอ(อาจารย์)ที่มีความชำนาญในด้านการเขียน/อ่านภาษาไทยใหญ่โบราณ และอดีตอำมาตย์ประจำวังเจ้าฟ้าแสนหวี ส่วนมารดาชื่อนางจิ่งอุ๊ ซึ่งทั้งสองได้เสียชีวิตแล้ว มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 4 คน โดยเป็นพี่ชาย 1 คนชื่อ จายตุ่มคำ (เสียชีวิตเมื่อปี 2527) น้องชาย 1 คนชื่อจายคำตี่ อดีตนักแต่งเพลงซึ่งได้เสียชีวิตแล้วเช่นกัน และคนสุดท้ายคือ นางอ๋อมคำ ปัจจุบันอยู่ที่เมืองตองจี เมืองหลวงของรัฐฉาน
จายคำเล็กได้รับการตั้งชื่อใหม่เป็น “ลูอิส คำ” (Louis Kham ) เมื่อตอนเข้าเรียนโรงเรียนมิชชันนารีสมัยมัธยม  ส่วนชื่อที่คนไทยใหญ่และคนในประเทศพม่านิยมเรียกคือ “ด็อกเตอร์จายคำเล็ก”  จบการศึกษาปริญญาตรีด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ [M.B.,B.S] จากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2519 และปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์และเกี่ยวกับอวัยวะภายในของมนุษย์ M.Med.,Sc [Anatomy] จากมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ เมื่อปี พ.ศ. 2532 คู่สมรสคือหมอนางน้อย น้อยติ่น เชื้อสายมอญ/พม่า และมีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คือ นางคำน้อยเล็ก(เป็นนักร้อง) นางคำอุ๊เล็ก นางคำหาญเล็ก และจายคำโจเล็ก      
เนื่องจากในช่วงที่หมอจายคำเล็กอยู่ในวัยเด็ก ผู้เป็นบิดาได้ปลูกฝังให้เขาตอบแทนบุญคุณต่อชาติบ้านเมืองของตัวเอง ด้วยเหตุนี้เขาจึงเริ่มแต่งบทกลอนและเพลงด้วยทำนองของตัวเอง[Own Tune] ขึ้น ซึ่งเพลงส่วนใหญ่ที่เขาแต่งนั้นมีเนื้อหาเชิงปลุกใจ อย่างเช่น เพลง “ให้มีใจ๋ฮักเคอ” (ให้มีใจรักชาติ) เพลง “เหลอเสใจ๋ฮักเคอ” (นอกจากใจรักชาติ) เพลง “วันไตยให้ใหม่สูง” (วันไทยใหญ่จงก้าวหน้า) และมีอีกหลายๆ เพลง ต่อมาได้แต่งเพลงที่มีชื่อว่า “ถึงป่าเห้วคนต๋ายลิบ” (แด่..สุสานคนเป็น) ซึ่งมีเนื้อความบ่งบอกถึงความไร้อิสรภาพของมนุษย์ที่เปรียบเสมือนมีลมหายใจอยู่แต่เหมือนกับว่าไม่มีตัวตนนั่นเอง จากนั้นเขาได้นำเพลงนี้ไปร้องให้กับกลุ่มวัยรุ่นในที่ต่างๆ ในรัฐฉานทำให้เขาถูกทหารพม่าจับกุมขังที่เมืองล่าเสี้ยวอยู่นานหลายเดือน ในขณะที่ถูกจองจำอยู่นั้นเขาได้แต่งเพลงที่มีชื่อว่า “ลุกตี้ป่าเห้วคนต๋ายลิบ” (จาก..สุสานของคนตายทั้งเป็น) ที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงเหตุที่ทำให้เขาถูกทหารพม่าจับกุม จากสาเหตุที่เขาเขียนเพลง “แด่..สุสานคนเป็น นั่นเอง
หลังจากพ้นโทษไม่นาน เขาได้แต่งเพลง “ลิ๊กโห้มหมายป๋างโหลง” (สัญญาปางโหลง) ซึ่งเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวการทวงคำสัญญาซึ่งผู้นำพม่าเคยให้ไว้ว่าหลังจากการปกครองร่วมกันครบ 10 ปีนับจากันที่ได้รับเอกราชปี พ.ศ.  2490 แล้ว ทางพม่าจะให้ไทยใหญ่ปกครองรัฐฉานด้วยตนเอง แต่เมื่อครบกำหนดดังกล่าว ทางพม่าก็ไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้แต่อย่างใด แถมส่งทหารเข้าทำการปฏิวัติ ส่งผลให้เจ้าฟ้าของไทยใหญ่หลายท่าน รวมทั้งนายอองซาน บิดาของนางอองซาน ซูจี เสียชีวิต ในครั้งนั้น  บทเพลงดังกล่าว ถูกขับร้องโดยจายสายมาว อีกหนึ่งนักร้องชื่อดังของชาวไทยใหญ่ แต่หลังจากอัลบั้มเพลงนี้ได้เผยแพร่ออกไป จายสายมาวจึงถูกทหารพม่าจับกุมนานถึง 2 ปี
แม้ว่าตัวเขาและนักร้องจะถูกจับเข้าคุก  หมอจายคำเล็กก็ยังไม่ย่อท้อกับอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตรงกันข้าม  เขากลับพยายามหาทางต่อสู้ด้วยบทเพลงของเขาต่อไปในลักษณะที่ไม่ปะทะกับรัฐบาลทหารโดยตรง แต่ซ่อนเนื้อหาและความหมายอันลึกซึ้งกินใจไว้ในบทเพลงรักหวานซึ้งซึ่งหลายบทเพลงสะท้อนให้เห็นถึงความทุกข์ยากของชาวไทยใหญ่หรือชีวิตผู้คน แต่ไม่ได้มีถ้อยคำโจมตีผู้มีอำนาจแต่อย่างใด
เนื่องจากตลาดเพลงภาษาไทยใหญ่แคบกว่าตลาดเพลงภาษาพม่า  จายคำเล็กจึงหันมาแต่งเพลงภาษาพม่าและภาษาอังกฤษเพื่อขยายกลุ่มคนฟัง ซึ่งหลายบทเพลงสะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดและความทุกข์ยากของชีวิตผู้คนในประเทศพม่า ภายใต้ถ้อยคำรักหวานซึ้ง ดังเช่น บทเพลง “พระจันทร์กลางกรุงย่างกุ้ง” สะท้อนให้เห็นถึงความรักของชายหนุ่มยากจนซึ่งหลงรักหญิงสาวมีฐานะ เขาเปรียบเทียบความรักของเขาว่าเป็นเหมือนกับพระจันทร์กลางกรุงย่างกุ้งซึ่งเต็มไปด้วยตึกสูงจนมองไม่เห็นแสงจันทร์  เช่นเดียวกับที่เธอมองไม่เห็นความรักของเขา
จนถึงปัจจุบันนี้บทเพลงของหมอนักแต่งเพลงท่านนี้วางแผงบนท้องตลาดไปแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบทเพลง  โดยแบ่งเป็นเพลงพม่าประมาณ 500 เพลง เพลงไทยใหญ่มากกว่า 500 เพลง อังกฤษ 35 เพลง แต่ทั้งนี้เขาไม่เคยร้องหรือออกอัลบั้มเป็นของตัวเอง โดยเพลงของเขาส่วนใหญ่นั้นได้มอบให้กับจายทีแสง เพื่อนรุ่นน้องของเขา ที่คนส่วนใหญ่กล่าวชมว่าเป็นนักร้องเสียงดีเป็นผู้ขับร้อง และยังมีนักร้องชื่อดังอีกหลายคนที่ได้นำเพลงของไปร้อง เช่น จายสายมาว จายแสงจ๋อมฟ้า นางคำน้อยเล็ก(ลูกสาวคนโตของเขา) รวมทั้งวงดนตรี “เจิงแลว” [Freedom’s Way] ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงของไทยใหญ่
ทั้งนี้มีเพลงซึ่งเป็นภาษาไทยใหญ่หลายอัลบั้มด้วยกันที่ฮิตติดอันดับ ซึ่งได้แก่ ผ่ายปุ้นลับสิ่งหลงไน่(ฟากโน้นของความมืด) ไตยหกเมืองเคอใหญ่(ไทยใหญ่หกยุค “ใหญ่”) ถึงป่าเห้วคนต๋ายลิบ(แด่..สุสานคนเป็น) ก้อแหนตาง(ผู้ชี้นำ “ทาง”) พองหน้าเมิงเหลิง(ช่วงที่บ้านเมืองเศร้า) อยู่กว่าก่อนวันมันไป่ถึง(รอไปก่อนวันยังไม่ถึง) และไตยตึ๊กตองอยู่(ไทยใหญ่ยังจำได้)
ด้านบุคลิกส่วนตัวของเขาเป็นคนสุขุม แฝงไว้ด้วยความเข้มขรึม เรียบง่าย ส่วนนิสัยส่วนตัวนั้น ชอบสวมใส่ชุดไทยใหญ่เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือออกงานในที่ต่างๆ ส่วนงานของเขาที่ได้ทำอยู่ในปัจจุบันคือเป็นแพทย์ใหญ่ประจำโรงพยาบาลเมืองมัณฑะเลย์ในพม่าและมีตำแหน่งเป็นประธานชมรมอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมไทยใหญ่ในมหาวิทยาลัยทั่วย่างกุ้ง
ด้วยความสามารถหลายๆ อย่างของหมอจายคำเล็กที่กล่าวมาแล้ว ทำให้มีผู้คนทั้งในแวดวงผู้ใหญ่ นักร้อง นักเขียน รวมไปถึงวัยรุ่น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เขาเป็นปราชญ์ในด้านความคิดและความพยายาม ซึ่งยากที่จะมีใครเท่าเทียม” เพราะถึงแม้ว่าเขาจะพบกับอุปสรรค จนบางครั้งแทบจะแลกด้วยชีวิตก็ตาม แต่เขาก็ยังไม่ละความพยายาม จนในที่สุดทำให้เขาประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
ดังนั้น จึงไม่เกินเลยที่จะยกย่องให้เขาเป็นนักปราชญ์แห่งวงการเพลงไทยใหญ่   สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอฝากคำคมซึ่งนักปราชญ์ท่านนี้เคยเขียนเอาไว้เตือนใจผู้คนว่า “เราคุยกันในที่มืด เรากระซิบกันที่ไม่มีใครเห็น หวังวันหนึ่ง หลังจากพรุ่งนี้ เราคงพบแสงสว่าง”
  လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 
ขอบคุณข้อมูลจาก http://salweennews.org/

Translate






Author Name

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.