2016



ผู้ก่อตั้งหนุ่มศึกหาญซึ่งมีกำลังพลเพียง 31 คน เมื่อ 21.5.58
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ (เสียชีวิต วันที่ 14 พฤศจิกายน 1996)เป็นบุตรของเจ้าขุนก่ำ เจ้าครองเมืองบ้านหม้อ กับแม่เจ้าทียอด โดยสายเลือด เป็นเจ้านายเผ่าไตเขิน ตัวเขามีเลือดเนื้อเป็นเจ้าในราชวงศ์ไต และเป็นกลุ่มแรก ที่ตั้งกองทัพขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลพม่า ในนามของขบวนการหนุ่มศึกหาญ ซึ่งมีเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะเป็นผู้นำ
เมื่อนายพลเนวิน ปกครองประเทศด้วยอำนาจทหาร ก็ได้มีประกาศตั้งสิน บนทั้งจับเป็นและจับตาย  เป็นเงินถึง 5 แสนจัส นับว่าเป็นสินบนนำจับที่มีราคาแพง
            ในสมัยอูนุเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้ติดต่อกับนายพลจีน แห่งกองพล 93 ซึ่งได้อพยพเข้ามาอยู่ทางชายแดนตอนใต้ ของรัฐฉาน ที่เมืองหาง เมืองต๋น และเมืองปั่น เพื่อหาทางจับกุม เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ตลอดคอยสอดแนมความเคลื่อนไหวของขบวนการกู้ชาติหนุ่มศึกหาญ แต่ก็ไม่สามารถจะทำลาย ผู้นำขบวนการได้สำเร็จ
            ต่อมาเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ถูกขุนศึกคู่ใจ ที่เคยกอดคอร่วมทุกข์ร่วมสุข ต่อสู้กับกองทัพพม่ามาด้วยกัน ได้ทำการทรยศหักหลัง คุมกำลังพลในบังคับบัญชาของตน เข้าโจมตีค่ายของซอหยั่นต๊ะโดยไม่ทันตั้งตัว จนพ่ายแพะเสียที เขาผู้นั้นก็ไม่ไช่ใครอื่น คือ ขุนศึกส่างซอ
            ส่วนเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้หลบหนีมาอยู่ที่บ้านเชียงดาว จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยครอบครัว แต่การมาอยู่ที่บ้านเชียงดาว      เจ้าน้อยก็ต้องประสบกับเหตุการณ์อันไม่คาดหวัง คือมีทหารไตพร้อมทหารจีนฮ่อประมาณ 100 คน ได้บุกมายังบ้านที่เจ้าน้อยอาศัยอยู่ แต่เจ้าน้อยก็เอาตัวรอดไปได้ เนื่องจากทหารที่อารักขาได้ยิงปืนขึ้น 1 นัด ซึ่งบ่งบอกว่ามีเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนาเกิดขี้นเจ้าน้อยจึงกระโดดลงจากหน้าต่าง หลบเข้าพงป่าหญ้าไปทางทิศตะวันตกของบ้าน ซึ่งเป็นบริเวณป่ารก
            ทหารได้ยิงปืนขู่ขวัญคนในบ้านเพื่อไม่ให้หลบหนี พร้อมกับตะโกนว่า ทุกคนจงอยู่กับที่อย่าได้คิดหนีเป็นอันขาด เรามิได้ประสงค์จะทำร้ายใคร แล้วพร้อมกันนั้นก็ ได้ตรวจตราดูห้องทุกซอกทุกมุม แต่มิได้พบเจ้าน้อย แล้วทหารพวกนั้นก็สั่งการให้ทุกคนเก็บข้าวของเพื่อจะกลับไปยังแคว้นไต
            พอสายหน่อยเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ หัวหน้าขบวนการหนุ่มศึกหาญ ออกมาจากบริเวณที่ซ่อน เข้ารายงานตัวกับ พ.ตต.วิชัย กลับเจริญ หลังจากนั้น ก็พาภรรยากลางนางหลู่ ซึ่งหนีรอดจากทหารมาได้  จึงพากันเข้าเชียงใหม่พื่อพ้นจากอันตรายชั่วคราว
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ซึ่งมึความห่วงใย ในเรื่องการกู้ชาติของไตยเป็นที่ตั้ง รองจากความห่วงใยในเรื่องนี่ ก็คือความเจ็บช้ำ ที่ถูกส่างซอ ลูกน้องเก่าทรยศ จึง   คอยสดับตรับฟ้งเหตุการณ์ในรัฐไตตลอดมา
            ในสมัยอังกฤษเข้ามาปกครอง เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะได้เข้าเป็นทหาร ในสังกัดกองทัพบกอังกฤษ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าน้อยได้ประจำการอยู่ที่ประเทศอินเดีย ต่อมาภายหลังพม่าได้เอกราชคืนจากอังกฤษแล้ว ได้ลงมติในรัฐสภา ให้เมืองบ้านหม้อเป็นรัฐกะฉิ่น เพราะมีชาวกะฉิ่นอพยพไปอยู่มากกว่าชาวไตผู้เป็นเจ้าเดิม แม้ผู้ครองเมืองจะเป็นเจ้าฟ้าไตก็ตาม การกระทำของพม่าเช่นนี้ เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ซึ่งเป็นทายาทของขุนก่ำไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ซึ่งเป็นนักการทหาร ไม่ใช่นักการเมือง แต่การเมืองเข้ามาเล่นงานจนได้ เมื่อให้บ้านหม้อเป็นรัฐของกะฉิ่นแล้ว ขุนก่ำก็ต้องถูกปลดจากตำแหน่งเจ้าฟ้า และไม่แต่ขุนก่ำเท่านั้น บรรดาเจ้าฟ้าอีกหลายเมืองก็ถูกปลดเช่นเดียวกัน ต่างเดือดร้อนต้องทิ้งบ้านเรือนหลบหนีกัน
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ พร้อมด้วยเจ้าน้อยอ่องแห่งเมืองคำตี เจ้าขุนคำแหลงผู้เป็นญาติสนิทได้พากันไปพบเจ้าห่มฟ้า เจ้าเมืองแสนหวี เพื่อปรึกษาเรื่องที่พม่ายกเอาเมืองของตนไปเป็นรัฐกะฉิ่น เท่ากับเป็นการทำลายล้าง กำลังของพวกไตโดยทางอ้อม
            แต่ไม่มีทางแก้ไขอย่างไรเพราะทหารพม่าเต็มเมืองไปทุกเมือง ในที่สุดเจ้าห่มฟ้า เลยชวนเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ อดีตในร้อยโทหนุ่ม ให้อยู่ช่วยงานของการรวมชาติไต ในเมืองแสนหวี
            แต่นั้นมาเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ก็ได้มีหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ระหว่างเจ้าฟ้าเมืองแสนหวี กับเจ้าฟ้าเมืองอื่น ๆ ทำให้กว้างขวางในวงการเมืองของรัฐฉาน มากขึ้นตามลำดับ และทำให้วงการรัฐบาลพม่าจับตาดูอย่างไม่คลาดสายตา เพราะรายงานจากสายลับของอูนุว่า นายทหารหนุ่มแห่งอดีตกองทัพอังกฤษ ได้รับความไว้วางใจ จากบรรดามุขบุรุษของชาวไตมาก และกำลังดำเนินการติดต่อที่จะแยกอำนาจการปกครองไปจากรัฐบาลพม่า หลังจากที่ร่วมเป็นสหายกันมาสิบปี
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ปราศรัยและถ่ายถามความคิดเห็นของ บรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ ตลอดจนพ่อค้าและประชาชนทั่วไป ชนชาวไตทั้งหลาย นับตั้งแต่ เมืองกึ๋ง เมืองลายค่า เมืองหนอง เมืองปั่น เมืองโต๋น เมืองสาด เมืองหมอกใหม่ เมืองพยาก เมืองเป็ง เมืองยอง แล้วมีเสียงเห็นพ้องต้องกันว่า ชาวไตทั้งหมดควรจะแยกตัวออกเป็นชาติเอกราช และนั้งประเทศขึ้นเป็นอิสระ โดยไม่ขึ้นกับพม่า
            เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ทำความรู้จำกับหัวหน้าชาวไตในเมืองเหล่านั้น อย่างกว้างขวางแล้ว ได้นำเรื่องราวต่างๆ มาบรรยายให้เจ้าฟ้าทราบถึงความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนว่าเป็นอย่างไร
            อีกด้านหนึ่งก็ ได้มีพระสงฆ์ผู้รักชาติ เช่น พระปั่นติต๊ะ ออกเทศน์สั่งสอนประชาชน เกี่ยวกับ การกู้ชาติ ให้ประชาชนฟัง บรรจบกันทั้งสองฝ่าย พระปั่นติต๊ะองค์นี้ เคยไปขอให้ อูนุ ปล่อยตัวเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะตอนที่ถูกจับไปขัง โดยไม่มีหลักฐานการทำผิด ต่อมาคนทั้งสอง ก็ได้ร่วมมือกันตั้งขบวนกู้ชาติหนุ่มศึกหาญขึ้นมา
            แม้รัฐบาลพม่า พม่าได้ยอมปล่อยตัวเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะมาแล้ว ก็ได้ติดตามดูพฤติกรรมของเขาตลอด การตั้งขบวนการกู้ชาติหนุ่มศึกหาญขึ้นมานั้น ทางพม่าได้ทุ่มเทเงินหลายล้าน เพื่อทำลายล้างขบวนการนี้ให้ได้ เพราะถือว่าเป็นอันตรายต่อรัฐบาลพม่าอย่างมาก และได้ทำการโฆษณาให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ มิใช่เป็นเชื้อสายชนชาติไต แต่เป็นจีนฮ่อ บางทีโฆษณาหาว่า หัวหน้าขบวนการกู้ชาติ ที่อยู่ทางชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ได้ยักยอกเบียดเบียนเอกเงินทองทรัพย์สินที่ประชาชน พ่อค้าบริจาคให้ซื้ออาวุธ และดำเนินการกู้ชาติ ไปบำรุงบำเรอความสุขของตนเองและพักพวกหมดสิ้น ไม่ได้ช่วยชาติอย่างแท้จริง การโฆษณาเช่นนี้  ได้ทำให้พ่อค้า ประชาชน ที่เสียสละ พากันหมดศรัทธาต่อผู้กู้ชาติ ซึ่งทำงานลำบากอดอยากอยู่ในป่า
        เครื่องมือการทำลายล้าง ขบวนการกู้ชาติที่พม่าใช้อย่างได้ผล ก็คือพวกทหารจีนกองพล 93 ที่รัฐบาลพม่าจ้างไว้ พวกทหารจีนกองพล 93 ได้กระจัดกระจายอยู่ตามชายแดนรัฐฉานและชายแดนไทย นอกจากใช้กำลังคอยจู่โจม กองกำลังกู้ชาติหนุ่มศึกหาญแล้ว ก็ยังมีจีนฮ่อลูกครึ่งในประเทศไทย คอยถ่ายทอดข่าว จากกองพล 93 กล่าวร้ายป้ายสีขบวนการกู้ชาติอยู่เป็นประจำ
            แต่อย่างไรก็ตาม เจ่าน้อยซอหยั่นต๊ะ ก็ยังยืนหยัดกับพี่น้องขบวนการกู้ชาติ อย่างอยู่ยงคงกระพัน เมื่อปลอดภัยจากลูกน้องผู้ทรยศ และถูกฝ่ายพม่าใช้ทหารจีนฮ่อ บุกเข้าจับตัวที่เชียงดาวแล้ว เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ก็ได้รวบรวมพลพรรคที่สนิทกัน เป็นกองกำลังขบวนการกู้ชาติ ย้อนกลับเข้าไปสู่รัฐฉานอีกครั้ง 
เกิดบนแผ่นดินใดแล้วไม่ทำประโยชน์ให้กับแผ่นดินนั้นเป็นสิ่งที่หน้าอาย
ถึงแม้ตัวจะตายสลายไป แต่ชื่อเสียงและประวัติความกล้าหาญของท่านยังอยู่
ที่มาwww.taiyai.net
လိူၼ်တႆး 26/พ.ย.2016




สัญญาปางหลวง 1947 (สัญญาที่ก่อให้เกิด "สหภาพพม่า") 

วันที่ 19 พ.ย. 2428 อังกฤษได้จับกุมตัวกษัตริย์สี่ปอมิน(ธีบอ) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าไว้และในวันที่ 1 ม.ค. 2429 อังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของพม่าไว้หมดแล้ว ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้มีการรวมรัฐฉานของไทยใหญ่เข้าไปด้วย จนกระทั่งในเดือน มกราคม พ.ศ. 2430 อังกฤษถึงได้เดินทางเข้ามาในรัฐฉานและประกาศให้รัฐฉานเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ (Protectorate) ภายได้การปกครอง ของอังกฤษนั้นมีการแบ่งอยกการปกครองและเงินงบประมาณของรัฐฉานและพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน ในสมัยนั้นพม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อด้านอังกฤษมาโดยตลอด ในขณะทีเจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับอังกฤษรวมทั้งให้การช่วยเหลือสนับสนุนอังกฤษในการสู้รบสมัยสงคราโลกครั้งที่ 1 และ 2 ด้วย 

จายคำเล็ก นักปราชญ์แห่งวงการเพลงไทยใหญ่

คอลัมน์รู้จักคนดังฉบับนี้ขอแนะนำให้รู้จักกับจายคำเล็กนักประพันธ์เชื้อสายไทยใหญ่ผู้มีความสามารถในการประพันธ์งานเขียนมากมาย อาทิเช่น กลอน นิยาย บทกวี สุภาษิต  ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในหมู่ชาวพม่าและชาวไทยใหญ่ คือ ผลงานเพลงทั้งไทยใหญ่ พม่า และอังกฤษ ซึ่งแต่งขึ้นด้วยปลายปากกาของเขารวมแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 เพลง บทเพลงของเขามีความหมายลึกซึ้งกินใจและกลายเป็นเพลงฮิตติดอันดับจนบรรดานักเล่นกีตาร์ส่วนใหญ่ต้องมีหนังสือรวมเพลงฮิตของเขาเอาไว้ติดบ้าน  รวมทั้งทำให้สายมาวศิลปินนักร้องยอดนิยมที่สุดของชาวไทยใหญ่สามารถแจ้งเกิดจากเพลงนี้และถูกจับติดคุกนานถึงสองปีเนื่องจากบทเพลงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและฮิตมากในหมู่ชาวไทยใหญ่
จายคำเล็กเกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2492 ที่ย่านหัวแต้น เมืองแสนหวี ภาคเหนือของรัฐฉาน บิดาคือนายก๋าคำ หรือนายส่วยจี่ อดีตครูหมอ(อาจารย์)ที่มีความชำนาญในด้านการเขียน/อ่านภาษาไทยใหญ่โบราณ และอดีตอำมาตย์ประจำวังเจ้าฟ้าแสนหวี ส่วนมารดาชื่อนางจิ่งอุ๊ ซึ่งทั้งสองได้เสียชีวิตแล้ว มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 4 คน โดยเป็นพี่ชาย 1 คนชื่อ จายตุ่มคำ (เสียชีวิตเมื่อปี 2527) น้องชาย 1 คนชื่อจายคำตี่ อดีตนักแต่งเพลงซึ่งได้เสียชีวิตแล้วเช่นกัน และคนสุดท้ายคือ นางอ๋อมคำ ปัจจุบันอยู่ที่เมืองตองจี เมืองหลวงของรัฐฉาน
จายคำเล็กได้รับการตั้งชื่อใหม่เป็น “ลูอิส คำ” (Louis Kham ) เมื่อตอนเข้าเรียนโรงเรียนมิชชันนารีสมัยมัธยม  ส่วนชื่อที่คนไทยใหญ่และคนในประเทศพม่านิยมเรียกคือ “ด็อกเตอร์จายคำเล็ก”  จบการศึกษาปริญญาตรีด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ [M.B.,B.S] จากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2519 และปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์และเกี่ยวกับอวัยวะภายในของมนุษย์ M.Med.,Sc [Anatomy] จากมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ เมื่อปี พ.ศ. 2532 คู่สมรสคือหมอนางน้อย น้อยติ่น เชื้อสายมอญ/พม่า และมีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คือ นางคำน้อยเล็ก(เป็นนักร้อง) นางคำอุ๊เล็ก นางคำหาญเล็ก และจายคำโจเล็ก      
เนื่องจากในช่วงที่หมอจายคำเล็กอยู่ในวัยเด็ก ผู้เป็นบิดาได้ปลูกฝังให้เขาตอบแทนบุญคุณต่อชาติบ้านเมืองของตัวเอง ด้วยเหตุนี้เขาจึงเริ่มแต่งบทกลอนและเพลงด้วยทำนองของตัวเอง[Own Tune] ขึ้น ซึ่งเพลงส่วนใหญ่ที่เขาแต่งนั้นมีเนื้อหาเชิงปลุกใจ อย่างเช่น เพลง “ให้มีใจ๋ฮักเคอ” (ให้มีใจรักชาติ) เพลง “เหลอเสใจ๋ฮักเคอ” (นอกจากใจรักชาติ) เพลง “วันไตยให้ใหม่สูง” (วันไทยใหญ่จงก้าวหน้า) และมีอีกหลายๆ เพลง ต่อมาได้แต่งเพลงที่มีชื่อว่า “ถึงป่าเห้วคนต๋ายลิบ” (แด่..สุสานคนเป็น) ซึ่งมีเนื้อความบ่งบอกถึงความไร้อิสรภาพของมนุษย์ที่เปรียบเสมือนมีลมหายใจอยู่แต่เหมือนกับว่าไม่มีตัวตนนั่นเอง จากนั้นเขาได้นำเพลงนี้ไปร้องให้กับกลุ่มวัยรุ่นในที่ต่างๆ ในรัฐฉานทำให้เขาถูกทหารพม่าจับกุมขังที่เมืองล่าเสี้ยวอยู่นานหลายเดือน ในขณะที่ถูกจองจำอยู่นั้นเขาได้แต่งเพลงที่มีชื่อว่า “ลุกตี้ป่าเห้วคนต๋ายลิบ” (จาก..สุสานของคนตายทั้งเป็น) ที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงเหตุที่ทำให้เขาถูกทหารพม่าจับกุม จากสาเหตุที่เขาเขียนเพลง “แด่..สุสานคนเป็น นั่นเอง
หลังจากพ้นโทษไม่นาน เขาได้แต่งเพลง “ลิ๊กโห้มหมายป๋างโหลง” (สัญญาปางโหลง) ซึ่งเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวการทวงคำสัญญาซึ่งผู้นำพม่าเคยให้ไว้ว่าหลังจากการปกครองร่วมกันครบ 10 ปีนับจากันที่ได้รับเอกราชปี พ.ศ.  2490 แล้ว ทางพม่าจะให้ไทยใหญ่ปกครองรัฐฉานด้วยตนเอง แต่เมื่อครบกำหนดดังกล่าว ทางพม่าก็ไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้แต่อย่างใด แถมส่งทหารเข้าทำการปฏิวัติ ส่งผลให้เจ้าฟ้าของไทยใหญ่หลายท่าน รวมทั้งนายอองซาน บิดาของนางอองซาน ซูจี เสียชีวิต ในครั้งนั้น  บทเพลงดังกล่าว ถูกขับร้องโดยจายสายมาว อีกหนึ่งนักร้องชื่อดังของชาวไทยใหญ่ แต่หลังจากอัลบั้มเพลงนี้ได้เผยแพร่ออกไป จายสายมาวจึงถูกทหารพม่าจับกุมนานถึง 2 ปี
แม้ว่าตัวเขาและนักร้องจะถูกจับเข้าคุก  หมอจายคำเล็กก็ยังไม่ย่อท้อกับอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตรงกันข้าม  เขากลับพยายามหาทางต่อสู้ด้วยบทเพลงของเขาต่อไปในลักษณะที่ไม่ปะทะกับรัฐบาลทหารโดยตรง แต่ซ่อนเนื้อหาและความหมายอันลึกซึ้งกินใจไว้ในบทเพลงรักหวานซึ้งซึ่งหลายบทเพลงสะท้อนให้เห็นถึงความทุกข์ยากของชาวไทยใหญ่หรือชีวิตผู้คน แต่ไม่ได้มีถ้อยคำโจมตีผู้มีอำนาจแต่อย่างใด
เนื่องจากตลาดเพลงภาษาไทยใหญ่แคบกว่าตลาดเพลงภาษาพม่า  จายคำเล็กจึงหันมาแต่งเพลงภาษาพม่าและภาษาอังกฤษเพื่อขยายกลุ่มคนฟัง ซึ่งหลายบทเพลงสะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดและความทุกข์ยากของชีวิตผู้คนในประเทศพม่า ภายใต้ถ้อยคำรักหวานซึ้ง ดังเช่น บทเพลง “พระจันทร์กลางกรุงย่างกุ้ง” สะท้อนให้เห็นถึงความรักของชายหนุ่มยากจนซึ่งหลงรักหญิงสาวมีฐานะ เขาเปรียบเทียบความรักของเขาว่าเป็นเหมือนกับพระจันทร์กลางกรุงย่างกุ้งซึ่งเต็มไปด้วยตึกสูงจนมองไม่เห็นแสงจันทร์  เช่นเดียวกับที่เธอมองไม่เห็นความรักของเขา
จนถึงปัจจุบันนี้บทเพลงของหมอนักแต่งเพลงท่านนี้วางแผงบนท้องตลาดไปแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบทเพลง  โดยแบ่งเป็นเพลงพม่าประมาณ 500 เพลง เพลงไทยใหญ่มากกว่า 500 เพลง อังกฤษ 35 เพลง แต่ทั้งนี้เขาไม่เคยร้องหรือออกอัลบั้มเป็นของตัวเอง โดยเพลงของเขาส่วนใหญ่นั้นได้มอบให้กับจายทีแสง เพื่อนรุ่นน้องของเขา ที่คนส่วนใหญ่กล่าวชมว่าเป็นนักร้องเสียงดีเป็นผู้ขับร้อง และยังมีนักร้องชื่อดังอีกหลายคนที่ได้นำเพลงของไปร้อง เช่น จายสายมาว จายแสงจ๋อมฟ้า นางคำน้อยเล็ก(ลูกสาวคนโตของเขา) รวมทั้งวงดนตรี “เจิงแลว” [Freedom’s Way] ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงของไทยใหญ่
ทั้งนี้มีเพลงซึ่งเป็นภาษาไทยใหญ่หลายอัลบั้มด้วยกันที่ฮิตติดอันดับ ซึ่งได้แก่ ผ่ายปุ้นลับสิ่งหลงไน่(ฟากโน้นของความมืด) ไตยหกเมืองเคอใหญ่(ไทยใหญ่หกยุค “ใหญ่”) ถึงป่าเห้วคนต๋ายลิบ(แด่..สุสานคนเป็น) ก้อแหนตาง(ผู้ชี้นำ “ทาง”) พองหน้าเมิงเหลิง(ช่วงที่บ้านเมืองเศร้า) อยู่กว่าก่อนวันมันไป่ถึง(รอไปก่อนวันยังไม่ถึง) และไตยตึ๊กตองอยู่(ไทยใหญ่ยังจำได้)
ด้านบุคลิกส่วนตัวของเขาเป็นคนสุขุม แฝงไว้ด้วยความเข้มขรึม เรียบง่าย ส่วนนิสัยส่วนตัวนั้น ชอบสวมใส่ชุดไทยใหญ่เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือออกงานในที่ต่างๆ ส่วนงานของเขาที่ได้ทำอยู่ในปัจจุบันคือเป็นแพทย์ใหญ่ประจำโรงพยาบาลเมืองมัณฑะเลย์ในพม่าและมีตำแหน่งเป็นประธานชมรมอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมไทยใหญ่ในมหาวิทยาลัยทั่วย่างกุ้ง
ด้วยความสามารถหลายๆ อย่างของหมอจายคำเล็กที่กล่าวมาแล้ว ทำให้มีผู้คนทั้งในแวดวงผู้ใหญ่ นักร้อง นักเขียน รวมไปถึงวัยรุ่น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เขาเป็นปราชญ์ในด้านความคิดและความพยายาม ซึ่งยากที่จะมีใครเท่าเทียม” เพราะถึงแม้ว่าเขาจะพบกับอุปสรรค จนบางครั้งแทบจะแลกด้วยชีวิตก็ตาม แต่เขาก็ยังไม่ละความพยายาม จนในที่สุดทำให้เขาประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
ดังนั้น จึงไม่เกินเลยที่จะยกย่องให้เขาเป็นนักปราชญ์แห่งวงการเพลงไทยใหญ่   สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอฝากคำคมซึ่งนักปราชญ์ท่านนี้เคยเขียนเอาไว้เตือนใจผู้คนว่า “เราคุยกันในที่มืด เรากระซิบกันที่ไม่มีใครเห็น หวังวันหนึ่ง หลังจากพรุ่งนี้ เราคงพบแสงสว่าง”
  လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 
ขอบคุณข้อมูลจาก http://salweennews.org/

ประวัติ จายสายมาว 
ชื่อเมื่อเด็ก      อ้ายใส่
ชื่อ               จายสายมาว
บิดา              ลุงป้ะแข่ง
มารดา           ป้านางเอ๊ขิ่น
เกิด              18 กุมภาพันธ์ 2492 (1949)วันอังคาร
สถานที่เกิด     เวียงหมู่เจ้รัฐฉานตอนเหนือ
มีชื่อเสียงด้าน  นักร้องและนักแต่งเพลงยอดนิยมตลอดกาลของชาวไต
คติพจน์
"ถ้าเป็นดอกซากุระ(หมอกก๋อน)ก็ให้อยู่บนดอยที่อิสระไม่รวมชนิดอื่นๆ ปรารถณาให้เป็นดอยไตบริสุทธิ์ เปิดประตูต้อนรับเสมอสำหรับคนรุ่นใหม่ อยากให้พี่น้องไตเราสามัคคีกันทั้งหมด"
มีพี่น้อง คนคือ
  1. จายหลาวใสเป็นนักแต่งเพลงและนักร้องเหมือนกัน
  2. จายเหลินคำ (เสียชีวิต)
  3. จายอ้ายสาม (เสียชีวิต)
  4. จายสายมาว หรือ อ้ายไส่ (แปลว่าลูกชายคนที่ 4)
  5. จายแลงใส
  6. นางเต็งห่าน (เสียชีวิต)
ชีวิตและการทำงาน
ปี 2497 จายสายมาว เริ่มเรียนหนังสือ ที่เวียงหมู่เจ้ รัฐฉาน (เมิงไต)ตอนเหนือ
ปี 2507 อายุ 15 ปี เริ่มเล่นกีต้าร์และร้องเพลง (ปีที่มหาเทวี เจ้านางเฮินคำ เริ่มก่อตั้งSSA)
ปี 2510 มีโอกาสเข้ามาร้องเพลงใน เชียงราย และเชียงใหม่
ปี 2511 เป็นปีที่แจ้งเกิด จายสายมาว” เพราะ ได้ร้องเพลง ลิ่กโฮ่มหมายป๋างโหลง
(สัญญาป๋างโหลง) แต่งโดย นายแพทย์จายคำเหล็ก ซึ่งเนื้อเพลงกล่าวทวงถามถึงสัญญา
และความเป็นธรรม ที่บรรดาเจ้าฟ้า ร่วมทั้งตัวแทนประชาชนชาวไต ชาวเขา และตัวแทน
รัฐบาลพม่า (นายพลอองซาน) ทำร่วมกันไว้ ก่อนที่จะได้รับเอกราชพร้อมกับพม่า
ในปี 2490ณเมืองป๋างโหลงรัฐฉานใต้
จายสายมาว ได้เดินทางร้องเพลง สัญญาป๋างโหลง” ไปทั่วรัฐฉาน และกลายเป็นเพลง
ยอดนิยมอย่างรวดเร็ว ดังนั้น พม่าจึงได้จับ จายสายมาว” เข้าไปขังคุก ปี กับอีก17 วัน ในฐานความผิดที่ร้องเพลงดังกล่าว เมื่อพ้นโทษออกมา พม่าก็ห้ามมิให้ร้องเพลง สัญญาป๋างโหลง
อีกต่อไป
ปี 2515 -- หลังพ้นโทษออกมาได้ ปี จายสายมาวได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ (SSA)โดยรับหน้าที่เกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมและได้รับการสนับสนุนจากเจ้ามหาซาง ที่เป็นผู้บังคับบัญชา
เขาจึงได้บันทึกเพลงสัญญาป๋างโหลงเผยแพร่จนเป็นเพลงยอดฮิตในรัฐฉาน
ปี2519–จายสายมาวมอบตัวกับพม่าเพราะการไปร่วมกับกองกำลังกู้ชาตินั้นถูกทหารตำรวจพม่าหา
เรื่องประชาชนฐานความผิดที่ครอบครองเทปหรือเผยแพร่เพลงของจายสายมาวไม่ว่าจะเป็นเพลง
ปลุกใจหรือไม่ก็ตามว่ามีความผิดหรือถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนพวกกบฎ
เพลงที่จายสายมาว แต่งหรือร้อง มีทั้ง ภาษาไทใหญ่ และภาษาพม่า จะมีภาษาจีนกลางมา
แทรกบ้างไม่กี่เพลง ร้าน นิวบราเดอร์” ที่หน้าตลาดต้นลำไย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และสาขา
ที่ อ.พาน จ.เชียงราย (ปัจจุบัน ร้านนี้ไม่มีแล้ว) เป็นผู้บันทึกเสียงของจายสายมาว
ลงเทปคาสเซตเป็นแห่งแรกและ เป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงผู้เดียว หลังจากนั้นก็ถูกcopy ขายต่อ ๆ กันไป ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ปัจจุบันจายสายมาวได้ยุติบทบาททางการเมืองและกลับมาทำงานตามความถนัดคือการ ร้องเพลง
และแต่งเพลงจนถึงปัจจุบันร้องเพลงไปกี่เพลงแต่งเพลงไปกี่เพลงเจ้าตัวก็จำไม่ได้แน่นอนผลงานใหม่ๆ
คงไม่มีแล้วเพราะสุ้มเสียงเริ่มเสื่อมไปตามอายุและกาลเวลาเพลงที่จายสายมาวเคยขับร้องก็มีนักร้อง
รุ่นใหม่มาร้องแทนแต่จายสายมาวก็ยังได้รับเชิญไปออกคอนเสิร์ตตามที่ต่างๆอยู่เสมอ
เนื่องในโอกาส งานครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งคณะสงฆ์ไทใหญ่ ในรัฐฉาน และการสอบไล่บาลีประจำปี ที่วัดมังกล่าหม่วยต่อ เวียงป๋างโหลง ระหว่าง 9-19 พ.ค. 2551ที่ผ่านได้มีการมอบรางวัล ผู้เชิดชูศิลปวัฒนธรรมไทใหญ่” เป็นปีแรก ให้แก่นักร้อง นักแต่งเพลง และผู้ก่อตั้งคณะละคร(จ้าด)
ไทใหญ่ ท่าน หนึ่ง ใน แปด ท่าน นี้คือ จายสายมาว ผู้ที่มีอายุครบ 67 ปี ในวันที่18 กุมภาพันธ์ 2559 นี้


      လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 

เจ้าเสือข่านฟ้า (พ.ศ.1854-1907 หรือ ค.ศ.1331-1364)  

เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า
 เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ เพราะพระองค์สามารถรวบรวมรัฐไทยใหญ่ที่มีเจ้าฟ้าปกครอง และไม่ขึ้นตรงต่อกัน ให้มาเป็นอาณาจักรเดียวกัน ภายใต้ชื่อว่าอาณาจักรเมืองมาวหลวง ในสมัยพระองค์นั้นทำให้อาณาจักรเมืองมาวหลวงมีอำนาจเกรียงไกรและมีความเจริญรุ่งเรืองมาก อาณา จักรเมืองมาวหลวงตั้งอยู่ได้นานถึง 105 ปี (พ.ศ.1887 - 1992 หรือ ค.ศ.1344 - 1449)
           แต่ก่อนที่เมืองมาวหลวงจะขึ้นมาเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่นั้น เมืองมาวหลวงเป็นรัฐเจ้าฟ้าเฉกเช่นเดียวกับรัฐเจ้าฟ้าอื่น ๆ เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า เป็นโอรสเจ้าหลวงขุนผางคำ เจ้าฟ้าเมืองมาว กับพระนางอ่อน โดยมีพี่น้องร่วมอุทรกัน 3 องค์ คือ
  1. ขุนอ้ายงำเมือง 
  2. ขุนยี่ข่างคำ (เสือข่านฟ้า) 
  3. ขุนสามหลวงฟ้า
ขึ้นครองราชย์ และย้ายเมืองหลวง (พ.ศ.1854 หรือ ค.ศ.1311) 
 หลังจากที่พระราชบิดาสวรรคตแล้ว เสนาอำมาตย์ได้ยกขุนยี่ข่างคำเป็นเจ้าฟ้าปกครองเมืองมาวต่อมา โดยเริ่มขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.1854 หรือ ค.ศ.1311 เมื่อพระชนมายุได้ 21 ปี เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็ มีพระนามว่าเสือข่านฟ้า และทรงสร้างเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองแจ้ไฮ่ และในอีก 2 ปีต่อมาก็ทรงย้ายไปสร้างเวียงแจ้ล้านอีก เพราะเป็นพื้นที่ ชัยภูมิทางยุทธศาสตร์

ภารกิจการรวบรวมรัฐไทยใหญ่ให้เป็นหนึ่งเดียว 
 หลังจากที่ได้ทรงย้ายเมืองหลวงแล้ว พระองค์จึงดำริที่จะรวบรวมรัฐชนเผ่าไต (ไท) ซึ่งตั้งเมืองอยู่กระ จัดกระจายกันไปในพื้นที่ต่าง ๆ โดยไม่ขึ้นตรงต่อกัน ให้มาเป็นรัฐเดียวกัน ดังนั้น พระองค์จึงทรงเริ่มออกศึก เพื่อรวบรวมรัฐไต (ไท) ให้เป็นเอกภาพ การออกศึกเพื่อรวบรวมรัฐไต (ไท) ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 6 ครั้งใหญ่ ๆ คือ

ครั้งที่หนึ่ง รวบรวมอาณาจักรแสนหวี เวียงแสนแจ้ (ปี พ.ศ.1857 หรือ ค.ศ.1314) 
 พระองค์ได้ส่งสาสน์ไปยังเจ้าท้าวน้อยแข่ ผู้ครองอาณาจักรแสนหวี เวียงแสนแจ้ เพื่อปรึกษาหารือใน เรื่องการรวมรัฐ แต่เจ้าท้ายน้อยแข่มิทรงยอมรับ และไม่มาปรึกษาหารือเพื่อการดังกล่าวด้วย เป็นเหตุให้เจ้าหลวงเสือข่านฟ้าพร้อมด้วยเจ้าสามหลวงฟ้า พระอนุชา ยกทัพไปตีเวียงแสนแจ้ จนเป็นเวียงแสนแจ้ได้รับความเสียชาวเมืองจึงขอร้องให้เจ้าท้าวน้อยแข่ยอมมอบตัวให้แก่เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า อาณาจักรแสนหวีเวียงแสน แจ้ได้รวมเข้าในเมืองมาวหลวงมาตั้งแต่นั้นมา

ครั้งที่สอง รวบรวมเวียงจุนโก เมืองมีด และเชียงดาว (ปี พ.ศ.1858 หรือ ค.ศ.1315)
เจ้าหลวงเสือข่านฟ้าได้ทรงส่งสาสน์ไปยังเวียงจุนโก เมืองมีด และเชียงดาว เพื่อเชื้อเชิญเจ้าฟ้าผู้ปก ครองเมือง มายังเวียงแจ้ล้าน ซึ่งผู้ปกครองเมืองดังกล่าวในสมัยนั้น คือ เจ้าไตขืน เจ้าไตไก่ เจ้าไตเต่า เจ้าไตแตง และขุนสามอ่อน ไม่ยอมปฏิบัติตาม และยังได้จับราชทูต 7 คนประหาร โดยรอดชีวิตมาได้ 3 คน เท่านั้นยังไม่พอ ซ้ำยังได้ส่งทหารไปเผาทำลายบ้านเมืองทางใต้ของเมืองมาวอีก เมื่อเป็นดังนั้น ก็ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ ท้ายสุด ชาวเมืองขอร้องให้เจ้าไตขืนยอมแพ้ ชาวเมือง ก็ยอมสวามิภักดิ์ แม่ทัพนายกองจึงจับเจ้าไตขืนมอบให้เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า และในปีต่อมาก็ได้เข้า ยึดหัวเมือง ใหญ่ทางตอนใต้เมืองมาว อันได้แก่ ยองห้วย จ๋ามกา เมืองปาย และเมื่องอื่น ๆ แทบนั้น

ครั้งที่สาม รวบรวมหัวเมืองไตฝ่ายเหนือ (ยูนนาน) (ปี พ.ศ.1860 หรือ ค.ศ.1317)

เจ้าหลวงเสือข่านฟ้าได้ยกทัพใหญ่ขึ้นเหนือไปยังยูนนาน เจ้าเมืองแสหอตู้แห่งยูนานจึงได้ออกมาเจร จา ความเมือง เพื่อมิให้เกิดการสงคราม และได้มอบหัวเมืองทั้ง 4 ให้คือ เมืองแส เมืองหย่งชาง เมืองหมูอาน เมืองปูขว้าน แล้วพระองค์ก็เดินทางกลับเมืองมาว

ครั้งที่สี่ รวบรวมหัวเมืองไตตะวันออก (ปี พ.ศ.1860 หรือ ค.ศ.1317) 

 หลังจากที่กลับจากยูนนาน เจ้าหลวงเสือข่านฟ้าก็ทรงยกทัพไปทางทิศตะวันออก เพื่อรวบรวมรัฐชน เผ่าไตในทิศตะวันออก และทรงยึดหัวเมือง ไตตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย เมืองเชียงรุ่ง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงตุง ลำพูน และละกอน (ลำปาง)

รั้งที่ห้า ยกทัพไปทิศตะวันตกรวบรวมเมืองเวสาลี (อินเดีย) (ปี พ.ศ.1862 หรือ ค.ศ.1319) 

 เจ้าเสือข่านฟ้าพร้อมด้วยพระอนุชาคือเข้าสามหลวงฟ้า และแม่ทัพ 3 คน คือ ฟ้าหลวงเท้าฟ้าหล่อ ฟ้าหลวงเท้าเสือเย็น ฟ้าหลวงท้าวหาญก่าย ยกทัพไปทางทิศตะวันตกตีเมืองเวสาลี หรือแคว้นอัสสัม และให้พระอนุชาครองเมือง ณ ที่นั้น

ครั้งที่หก ยกทัพไปทางทิศใต้ (พม่า) (ปี พ.ศ.1905 หรือ ค.ศ.1362) 
 เจ้าเสือข่านฟ้าพร้อมด้วยพระโอรส คือ เจ้าชายเปี่ยมฟ้า และแม่ทัพ 3 คน คือ ฟ้าหลวงเท้าฟ้าหล่อ ฟ้าหลวงเท้าเสือเย็น ฟ้าหลวงท้าวหาญก่าย ยกทัพไปทางทิศตะวันตกตีเมืองตะโก้ง เมืองสะแกง และหัวเมือง พม่าอื่น ๆ และสามารถยึดได้ทั้งหมดปี พ.ศ.1905 หรือ ค.ศ.1362 เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า ทรงทำให้รัฐไทยใหญ่ต่าง ๆ เข้ามารวมเป็นอาณาจักรเดียวกันที่มีอาณาเขตกว้างขวาง และเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ได้ทรงย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ทุ่งปางหมากอู๋ เรียกว่าเวียงท่าสบอู๋ และทรงสิ้นพระชนม์ที่นั่นในปี
พ.ศ.1907 หรือ ค.ศ.1364



      လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 
ที่มา>taiyai.net

 เจ้าโต๋นครูหลวงปัญญาโภคะ
เจ้าโต๋นครูหลวงปัญญาโภคะ มหาสังฆปรินายกแห่งรัฐไต (1893-1971) ชื่อ เจ้าโต๋นครูหลวงปัญญาโภคะ ชื่อเดิม จายปานจิ่ง วันเดือนปีเกิด เกิดวันอังคาร เดือนมีนาคม พ.ศ. 2435 ค.ศ. 1892จ.ศ. 1254 ตรง กับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ภูมิลำเนา บ้านป่าแก่ เมืองขาง เวียงเมืองสู้ รัฐฉานภาคเหนือ พี่น้อง มีพี่น้อง 6 คน บิดา ลุงยอดคำ มารดา นางคำ มรณภาพ เมื่อปี จ.ศ. 1333 พ.ศ. 2514 ค.ศ. 1971 ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 11 ที่โรงพยาบาล เมียะรัตนะ ต้ากุ้ง (ร่างกุ้ง) เวลา 01.10 น. 
  •  ชีวิตเมื่อเยาว์วัย 
 เด็กชาย ปานจิ่ง เริ่มเข้าอยู่วัด เมื่อปี จ.ศ. 1268 ซึ่งมีอายุ 14 ปี บวชเป็นสามเณร เมื่อปี จ.ศ. 1270 ที่วัดบ้านขาง เวียงเมืองสู้ ได้ชื่อ เป็นภาษาบาลีว่า สามเณร ปัญญาโภคะ อุปสมบท เมื่อ จ.ศ. 1274 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับ วันพุธ ที่วัด บ้านโหยก เวียงเกซี อุปัชฌาย์ ได้แก่ เจ้าอาวาส วัดป่าแต๊บ กรรมวาจาจารย์ รูปที่ 1 เจ้าอาวาส วัดกุ๋นนา กรรมวาจาจารย์ รูปที่ 2 คือ พระปุญญสาระ วัดบ้านโหยก
  • สถานที่เคยไปศึกษาพระปริยัติธรรม 
เรียนหนังสือที่ วัดยอด 2 เดือน และย้ายไปอยู่ ที่วัดบ้านข่า จ. จ๊อกแม จากนั้น ได้ไปอยู่ที่ วัดวิสุทธาโหย่ง เวียงเหล่อ (มัณฑเรย์) 3 เดือน จากนั้นย้ายไป อยู่ที่วัด จ้ายกะส่าน ต้ากุ้ง (ร่างกุ้ง) และ วัดปุบผาโหย่ง ป่าเก๋อ และเมื่อ 15 พรรษา ไปศึกษาภาษาอังกฤษที่ โคลัมโบ ประเทศศรีลังกา อยู่ 2 ปี เมื่ออายุ 17 พรรษา จึงได้กลับมายังบ้านเกิด จากนั้นเจ้าฟ้าเมืองสู้ ได้อาราธนามาจำพรรษาอยู่ ที่วัด ยุมป่อง เวียงเมืองสู้ แล้วเปิดสอนพระปริยัติธรรม โดยมีลูกศิษย์มากหมาย (เท่าที่ทราบ ท่านเป็นองค์แรกของพระสงฆ์ไต ที่ได้ไปศึกษาที่ประเทศศรีลังกา)
  • งานด้านศาสนกิจและบ้านเมือง 

หลังจากที่ท่านบวชได้ 2 พรรษาก็ได้ไปเป็น เจ้าอาวาส วัดหมากฮู่ จ. จ๊อกเม และไปเป็นเจ้าอาวาส วัดฮูน้อย 2 พรรษา เมื่อท่านได้ 10 พรรษา ได้เป็นครูสอนที่ วัดบ้านข่า หลังจากนั้น เจ้าฟ้าสี่ป้อ ได้อาราธนาไปจำพรรษาที่ วัดจองคำ สี่ป้อ และเจ้าฟ้านิมนต์ให้ท่านแปล พระปาฏิโมกข์ เป็นภาษาไต เมื่อปี พ.ศ. 2499 นำพาคณะสงฆ์ไตทั้งหมด จัดตั้งกลุ่มคณะสงฆ์ไตขึ้น และเป็นผู้นำในการแปล พระไตรปิฎกเป็นภาษาไต ซึ่งยังคงใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่จนกระทั่งปัจจุบันได้เขียนหนังสือ ปาลีปกรณ์ บาลีไวยากรณ์ แปดฉบับ อภิธรรม ปาฏิโมกข์ ขุททสิกขา มูลสิกขา กัมโพชหิตราสิ เป็นต้น
  • เกียรติบัตรที่ได้รับ
หลังจากที่ท่านบวชได้ 2 พรรษาก็ได้ไปเป็น เจ้าอาวาส วัดหมากฮู่ จ. จ๊อกเม และไปเป็นเจ้าอาวาส วัดฮูน้อย 2 พรรษา เมื่อท่านได้ 10 พรรษา ได้เป็นครูสอนที่ วัดบ้านข่า หลังจากนั้น เจ้าฟ้าสี่ป้อ ได้อาราธนาไปจำพรรษาที่ วัดจองคำ สี่ป้อ และเจ้าฟ้านิมนต์ให้ท่านแปล พระปาฏิโมกข์ เป็นภาษาไต เมื่อปี พ.ศ. 2499 นำพาคณะสงฆ์ไตทั้งหมด จัดตั้งกลุ่มคณะสงฆ์ไตขึ้น และเป็นผู้นำในการแปล พระไตรปิฎกเป็นภาษาไต ซึ่งยังคงใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่จนกระทั่งปัจจุบันได้เขียนหนังสือ ปาลีปกรณ์ บาลีไวยากรณ์ แปดฉบับ อภิธรรม ปาฏิโมกข์ ขุททสิกขา มูลสิกขา กัมโพชหิตราสิ เป็นต้น เกียรติบัตรที่ได้รับ พ.ศ.2463 เจ้าฟ้าสี่ป้อ มอบเกียรติบัตร เป็น ปัญญาโภคคณะวาจก ธรรมราชคุรุ พ.ศ.2475 เจ้าฟ้าเมืองสู้ มอบเกียรติบัตร เป็น ธรรมยุตนิกาย มหานายก ราชคุรุ พ.ศ.2481 ได้รับตำแหน่งนามว่า คณะวาจก ธรรมกถิก ฝ่ายเผยแผ่ศาสนา รัฐไต ตอนใต้ จากคณะธรรมยุติกนิกาย พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีของพม่า มอบ ให้เป็น ฉธสังติโอวาทจริยสังฆนายก พ.ศ. 2499 คณะสงฆ์ไตทั่วประเทศ ได้ยกท่านเป็น ประธานคณะสงฆ์แห่งรัฐไต ในนาม มหาสังฆปรินายกแห่งรัฐไตท่านได้มรณภาพ ที่โรงพยาบาล เมียะรัตนะ ร่างกุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2514 สรีระศพของท่านถูกนำบรรจุลงในโลงแก้ว แล้วนำไป เวียงน้ำจ๋าง โดยเครื่องบิน และนำไปทำฌาปนกิจที่ เวียงป๋างโหลง เมื่อทำฌาปนกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางคณะศิษยานุศิษย์ได้นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ในเจดีย์ "พระไตรปิฏก" (ปิฎก๊าดสามก๋อง) พร้อมกันนี้ก็ได้สร้างรูปปั้นไว้เป็นที่สักการะบูชา ที่วัดปีตะก๊าด เวียงป๋างโหลง



      လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 
ที่มา>taiyai.net

เจ้าวอระแค่ ยองห้วย  

  • ชื่อ –ด.ช. ละทิ่น
  • ชื่อบิดา –ลุงผิด
  • มารดา – นางเหย่น
  • วันเดือนปีเกิด – วันพุธ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2433 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12
  • บ้านเกิด –เขตหนั่นต่าวุ่น เมืองยองห้วย รัฐฉานใต้
ชีวิตเมื่อเยาว์วัย และผลงาน เมื่ออายุ 7 ขวบ ไปอยู่เป็นเด็ก ที่วัดส่วยกู่ เมืองยองห้วย ครั้นอายุ 8 ขวบ จึงบรรพชาเป็นสามเณร ได้ชื่อว่า หว่าหลิ่งต๊ะ ศึกษาพระปริยัติธรรมจนแตกฉาน ต่อมาจึงได้ลาสิกขาออกมา ทำหน้าที่เป็นเลขาเจ้าฟ้าหลวงเมืองยองห้วย ได้นามว่า จเรจายคำเหลือง ภายหลังได้ย้ายไปเป็นเสมียนใหญ่เมืองล๊อกจอก และต่อมาเพราะท่านมีความชำนาญด้านทางภาษาหลายภาษาด้วยกัน จึงได้ไปประจำที่กองกำกับการตำรวจ เมืองตองกี เจ้าวอระแค่เป็นนักศึกษาค้นคว้าขนานแท้ ได้อ่านและเขียนหนังสือไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแม้ว่ารับราชการ สมัยเจ้าฟ้าปกครองก็ตาม เมื่อท่านได้ไปเป็น นายอำเภอเมืองยาง กระเหรี่ยง ที่เมืองยางแดง (รัฐคะยาห์) และเมืองวอระแค่ ทั้งสองเมืองพร้อมกัน เพราะทำงานทางราชการและเป็นนักประพันธ์ จึงได้ชื่อว่า เจ้าจเรนายอำเภอ หรือเจ้าวอระแค่ ผลงานของท่าน ที่ได้ประพันธ์ไว้มีมากมายหลายเรื่องเช่น 1.ชาติทุกขสังเวชะ 2.มังคลสูตร 3.ลิกเจ้าหม่านธาตุ ฯลฯ

เจ้าวอระแค่ ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ.2491 ที่เมือง ต้นติ๊ รวมสิริอายุได้ 58 ปี

ผลงานที่เขียนไว้ส่วนมากเป็นจดหมายรัก เพลงเกี่ยวกับลูกแก้วหนังสือหยาดน้ำ ที่เป็นฉบับใหญ่ ๆ เท่าที่ค้นพบมี 4 เล่ม
1. จ่าติตุกข์ สั่งโว่ยก่ะคาน
2. มั่งก่าล่าสุตหลวง
3. ลิกเจ้าม่านทาด
4. จามเน๋ตางนิบบ่าน นอกจากนั้นที่ยังไม่ค้นพบก็มีอี่กมากหมาย



เหลินไต               
27/เมษายน/2016 

เจ้าหน่อคำ เมืองกึ๋ง

  • ชื่อ –เจ้าหน่อคำ
  • ชื่อบิดา –ลุงส่างปิ่งหญ่า (เหงปิ่งหญ่า)
  • มารดา – นางคำขา
  • วันเดือนปีเกิด – เกิดเมื่อวันเสาขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2400
  • บ้านเกิด –บ้านป๊อก เหมืองหนิม เวียง แกสี (บ้านจ๋าม)
ตอนเด็กชื่อ จายทุนละ ไปอยู่ที่วัดเวียงเมืองหนิม เมื่ออายุ 10 ขวบ บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 11 ปี ได้ฉายาทางพระว่า เจ้าหนั่นติ๊ญะ และสึกออกมาขณะอายุได้ 22 ปี และได้ไปอยู่กับบิดา มารดาจากนั้นเจ้าฟ้าขุนนหมุ่ง เมืองกึ๋ง เรียกเข้าไปอยู่ในวังเมืองกึ๋ง ภายหลังได้ไปอยู่ภายในวัง เวียงท่าเลื่อ (มันฑะเล) เป็นเวลา 3 ปี จึงได้กลับเมืองกึง ใน พ.ศ. 2433 แต่งงานอยู่กินกับพระพี่นาง ของเจ้าฟ้าเมืองกึ๋ง จึงได้ชื่อเป็นเจ้าหน่อคำ มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อนางมะจิ่ง บุตรชายคนหนึ่งเชื่อเจ้า ขุนหลู่
เจ้าหน่อคำถึงแก่กรรม เมื่อวันเสาร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปี พ.ศ. 2439 อายุได้ 39 ปี
ผลงานที่เขียนไว้ส่วนมากเป็นจดหมายรัก เพลงเกี่ยวกับลูกแก้วหนังสือหยาดน้ำ ที่เป็นฉบับใหญ่ ๆ เท่าที่ค้นพบมี 13 เล่ม
  1. ลอก้ะณีติ
  2. สี่ละวิเนิยส้า
  3. ร่าจ่าฮี่ต้ะดีบนี่
  4. ร่าจอว่าต้ะ
  5. จินัตทะปะป๋าสหนี (ผักก่าแนดอกไม้ถวายไว้)
  6. จินัตทะปะป๋าสหนี ส่วยปี่หว่าง(เจ้าฟ้าว้านจ๋ามเกชี ไม้ถวายไว้ )
  7. เว่สั่นตร่า น้ำกวามปอด
  8. เว่สั่นตร่า น้ำกวามยาว
  9. มหาจะนั้กก้า
  10. ขั่นทะตี่เป่ต้ะ สรู่ปะกยาม
  11. ขั่นทะตี่ปะหนี่ แม้ต่อคอดคาน
  12. ร่าฮู้แหม่ต่อ ยส่อคอดคาน
  13. ดต จะ สุ้ เน ม้ะ ห้าผืนติดกัน
  လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 

เจ้าอำมาตย์หลวง เมืองหนอง  


เจ้าเมืองหนองเป็นบุตรของลุงหลอยหม่านจี่ และนายพลอยหม่านจี่ (นางหลอยหม่านจี) เกิด เมื่อตอนเช้าของวันศุกร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2398 ณ บ้านป๋างโจ๋งยาว เมืองหนอง ตอนเด็กชื่อ จายส่าอ่อง ไปอยู่วัดเมื่ออายุ 7 ขวบ ณ วัดส่วยพุดรอ บ้านจิง เมืองหนอง บวชเป็น สามเณรเมื่ออายุ 8 ขวบ ชื่อ ซอปิ่นนะ อายุ 11 ขวบ ไปศึกษาต่อ ณ วัดโซอุ๋ง ตำบลห้าบ้าน เมืองเกซี บ้านจ๋าม เป็นเวลา 1 ปี แล้วย้ายไปอยู่เมืองหนิมเป็นเวลา 6 ปี แล้วสึกออกมา เจ้าขุนทุนเจ้าฟ้าเมืองหนอง ได้ขอให้ไปอยู่บ้านป๋างส่า ให้เป็นผู้แต่งหนังสือตำรา จึงได้นามว่า เจ้าเมืองหนอง จากนั้นได้ออกเดินทางศึกษาค้นคว้าไปทางเมืองลายค่า บ้านใหม่สะทอ บ้านบอระแคะถึงล้าน นาไทย และไทยทางใต้ เจ้าเมืองหนองได้เดินทางกลับ เชียงตุง เมืองเลิน กลับถึงเมืองหนองเมื่อ ปี พ.ศ. 2431 ในปี พ.ศ. 2444 เจ้าฟ้าขุนหมุ่ง เมืองกึงได้แต่งตั้งเป็นอำมาตย์หลวง จากนั้น เจ้าฟ้าหลวงขุน ส่างต้นฮุง เมืองแสนหวี ได้เชิญไปทำงานด้วย มอบหมายให้ทำงานด้านการพิมพ์หนังสือไตย จึงได้ชื่อ นามปากกาว่า เจ้าอำมาตย์หลวง ในปี พ.ศ. 2449 วันเสาร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 12 เจ้าเมืองหนองได้ถึงแก่กรรม รวมอายุได้ 51 ปี ที่บ้านกองมูปุ๊ด เวียงจ๊อกแมปุ๊ งานด้านวรรณคดี ที่ได้ประพันธ์ไว้ มีมากกว่า 200 เล่ม




လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 
ที่มา>taiyai.net

นางคำกู่

  • ชื่อ – นางคำกู่
  • ชื่อบิดา – เจ้ากางเสือ
  • มารดา – นางแสงส่วย
  • วันเดือนปีเกิด – เช้าของวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2397
  • บ้านเกิด – บ้านแกง เวียงเลา เมืองนาย
ตอนอายุได้ 6 ขวบ ได้รับการศึกษาจากเจ้ากาลเสือผู้เป็นบิดาจนได้เป็นครูหมอ ตอนนางอายุได้ 22 นางได้หัดเขียนกลอน เขียนนิทาน เขียนเรื่องราวต่างๆขึ้นมา จนถึงอายุได้ 27 ปี นางแต่งงานอยู่กินกับจายซอจิ่งนะ  และถึงแก่กรรมเมื่ออายุนางได้ 64 ปี ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ปี พ.ศ. 2461
ผลงานของท่านเท่าที่ค้นพบ
  1. อ่าลองเขียวสองมอน (นกเขียวอ่อนสองมอน)
  2. อ่าลองแคคำ
  3. อ่าลองมองสามนม
  4. อ่าลองว้วเขาเดียว
  5. อ่าลองกวายตาแสง
  6. วิเส่ษนะก๋าคำ (ต๋องด๋วยต๋องมอง)
  7.  ลอก้าวิน่ายะ
  8. ขุนสามลอ+นางอู้เบียม
  9. นางถามจา
  10. นางอ่อนกำสิน นอกนั้นที่ยังมีอี่กมากหมาย ที่ยังไม่ได้ค้นพบ



လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 

Translate






Author Name

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.