เจ้าโต๋นครูหลวงปัญญาโภคะ

 เจ้าโต๋นครูหลวงปัญญาโภคะ
เจ้าโต๋นครูหลวงปัญญาโภคะ มหาสังฆปรินายกแห่งรัฐไต (1893-1971) ชื่อ เจ้าโต๋นครูหลวงปัญญาโภคะ ชื่อเดิม จายปานจิ่ง วันเดือนปีเกิด เกิดวันอังคาร เดือนมีนาคม พ.ศ. 2435 ค.ศ. 1892จ.ศ. 1254 ตรง กับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ภูมิลำเนา บ้านป่าแก่ เมืองขาง เวียงเมืองสู้ รัฐฉานภาคเหนือ พี่น้อง มีพี่น้อง 6 คน บิดา ลุงยอดคำ มารดา นางคำ มรณภาพ เมื่อปี จ.ศ. 1333 พ.ศ. 2514 ค.ศ. 1971 ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 11 ที่โรงพยาบาล เมียะรัตนะ ต้ากุ้ง (ร่างกุ้ง) เวลา 01.10 น. 
  •  ชีวิตเมื่อเยาว์วัย 
 เด็กชาย ปานจิ่ง เริ่มเข้าอยู่วัด เมื่อปี จ.ศ. 1268 ซึ่งมีอายุ 14 ปี บวชเป็นสามเณร เมื่อปี จ.ศ. 1270 ที่วัดบ้านขาง เวียงเมืองสู้ ได้ชื่อ เป็นภาษาบาลีว่า สามเณร ปัญญาโภคะ อุปสมบท เมื่อ จ.ศ. 1274 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับ วันพุธ ที่วัด บ้านโหยก เวียงเกซี อุปัชฌาย์ ได้แก่ เจ้าอาวาส วัดป่าแต๊บ กรรมวาจาจารย์ รูปที่ 1 เจ้าอาวาส วัดกุ๋นนา กรรมวาจาจารย์ รูปที่ 2 คือ พระปุญญสาระ วัดบ้านโหยก
  • สถานที่เคยไปศึกษาพระปริยัติธรรม 
เรียนหนังสือที่ วัดยอด 2 เดือน และย้ายไปอยู่ ที่วัดบ้านข่า จ. จ๊อกแม จากนั้น ได้ไปอยู่ที่ วัดวิสุทธาโหย่ง เวียงเหล่อ (มัณฑเรย์) 3 เดือน จากนั้นย้ายไป อยู่ที่วัด จ้ายกะส่าน ต้ากุ้ง (ร่างกุ้ง) และ วัดปุบผาโหย่ง ป่าเก๋อ และเมื่อ 15 พรรษา ไปศึกษาภาษาอังกฤษที่ โคลัมโบ ประเทศศรีลังกา อยู่ 2 ปี เมื่ออายุ 17 พรรษา จึงได้กลับมายังบ้านเกิด จากนั้นเจ้าฟ้าเมืองสู้ ได้อาราธนามาจำพรรษาอยู่ ที่วัด ยุมป่อง เวียงเมืองสู้ แล้วเปิดสอนพระปริยัติธรรม โดยมีลูกศิษย์มากหมาย (เท่าที่ทราบ ท่านเป็นองค์แรกของพระสงฆ์ไต ที่ได้ไปศึกษาที่ประเทศศรีลังกา)
  • งานด้านศาสนกิจและบ้านเมือง 

หลังจากที่ท่านบวชได้ 2 พรรษาก็ได้ไปเป็น เจ้าอาวาส วัดหมากฮู่ จ. จ๊อกเม และไปเป็นเจ้าอาวาส วัดฮูน้อย 2 พรรษา เมื่อท่านได้ 10 พรรษา ได้เป็นครูสอนที่ วัดบ้านข่า หลังจากนั้น เจ้าฟ้าสี่ป้อ ได้อาราธนาไปจำพรรษาที่ วัดจองคำ สี่ป้อ และเจ้าฟ้านิมนต์ให้ท่านแปล พระปาฏิโมกข์ เป็นภาษาไต เมื่อปี พ.ศ. 2499 นำพาคณะสงฆ์ไตทั้งหมด จัดตั้งกลุ่มคณะสงฆ์ไตขึ้น และเป็นผู้นำในการแปล พระไตรปิฎกเป็นภาษาไต ซึ่งยังคงใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่จนกระทั่งปัจจุบันได้เขียนหนังสือ ปาลีปกรณ์ บาลีไวยากรณ์ แปดฉบับ อภิธรรม ปาฏิโมกข์ ขุททสิกขา มูลสิกขา กัมโพชหิตราสิ เป็นต้น
  • เกียรติบัตรที่ได้รับ
หลังจากที่ท่านบวชได้ 2 พรรษาก็ได้ไปเป็น เจ้าอาวาส วัดหมากฮู่ จ. จ๊อกเม และไปเป็นเจ้าอาวาส วัดฮูน้อย 2 พรรษา เมื่อท่านได้ 10 พรรษา ได้เป็นครูสอนที่ วัดบ้านข่า หลังจากนั้น เจ้าฟ้าสี่ป้อ ได้อาราธนาไปจำพรรษาที่ วัดจองคำ สี่ป้อ และเจ้าฟ้านิมนต์ให้ท่านแปล พระปาฏิโมกข์ เป็นภาษาไต เมื่อปี พ.ศ. 2499 นำพาคณะสงฆ์ไตทั้งหมด จัดตั้งกลุ่มคณะสงฆ์ไตขึ้น และเป็นผู้นำในการแปล พระไตรปิฎกเป็นภาษาไต ซึ่งยังคงใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่จนกระทั่งปัจจุบันได้เขียนหนังสือ ปาลีปกรณ์ บาลีไวยากรณ์ แปดฉบับ อภิธรรม ปาฏิโมกข์ ขุททสิกขา มูลสิกขา กัมโพชหิตราสิ เป็นต้น เกียรติบัตรที่ได้รับ พ.ศ.2463 เจ้าฟ้าสี่ป้อ มอบเกียรติบัตร เป็น ปัญญาโภคคณะวาจก ธรรมราชคุรุ พ.ศ.2475 เจ้าฟ้าเมืองสู้ มอบเกียรติบัตร เป็น ธรรมยุตนิกาย มหานายก ราชคุรุ พ.ศ.2481 ได้รับตำแหน่งนามว่า คณะวาจก ธรรมกถิก ฝ่ายเผยแผ่ศาสนา รัฐไต ตอนใต้ จากคณะธรรมยุติกนิกาย พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีของพม่า มอบ ให้เป็น ฉธสังติโอวาทจริยสังฆนายก พ.ศ. 2499 คณะสงฆ์ไตทั่วประเทศ ได้ยกท่านเป็น ประธานคณะสงฆ์แห่งรัฐไต ในนาม มหาสังฆปรินายกแห่งรัฐไตท่านได้มรณภาพ ที่โรงพยาบาล เมียะรัตนะ ร่างกุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2514 สรีระศพของท่านถูกนำบรรจุลงในโลงแก้ว แล้วนำไป เวียงน้ำจ๋าง โดยเครื่องบิน และนำไปทำฌาปนกิจที่ เวียงป๋างโหลง เมื่อทำฌาปนกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางคณะศิษยานุศิษย์ได้นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ในเจดีย์ "พระไตรปิฏก" (ปิฎก๊าดสามก๋อง) พร้อมกันนี้ก็ได้สร้างรูปปั้นไว้เป็นที่สักการะบูชา ที่วัดปีตะก๊าด เวียงป๋างโหลง



      လိူၼ်တႆး               
27/เมษายน/2016 
ที่มา>taiyai.net
မူႇလိၵ်ႈ

แสดงความคิดเห็น

Translate






[facebook]

Author Name

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.