กุมภาพันธ์ 2014

ปัญหาใหญ่ของผู้บริหารระดับกลางในปัจจุบัน คือ ไม่สามารถ ทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ที่วางไว้ได้เพราะทีมงานขาดประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่สงสัยว่าจะทำอย่างไร จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  จากประสบการณ์ การบริหารงานพบว่า ผู้บริหารระดับกลางส่วนใหญ่ ขาดการคิดเชิงกลยุทธ์ และขาดทักษะเรื่องบริหารคน ถึงแม้ว่าจะมีความรู้ ความสามารถ ในงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ก็ตาม เพราะโดย ตำแหน่งแล้วผู้บริหารไม่สามารถทำงานได้ ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว อีกต่อไป ต้องบริหารงานผ่านทีมงานเป็นหลัก ดังนั้นหัวข้อสำคัญจึงอยู่ที่ 2 เรื่องหลัก คือ
  1. การคิดเชิงกลยุทธ์ 
  2. ภาวะความเป็นผู้นำ
การพัฒนาผู้บริหารระดับกลางจึงต้องให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ด้าน คือ
  1. ความรู้ความสามารถในงาน 
  2. การคิดเชิงกลยุทธ์
  3. การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อให้ผู้บริหารระดับกลางพัฒนาตัวเอง เป็นผู้บริหารระดับกลางที่มีประสิทธิภาพ
      ผู้บริหารระดับกลางที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้รูู้จักตัวเอง, รู้จักพนักงาน, รู้จักองค์กรและมีทัศนคติเชิงบวก ทำให้การบริหารงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้  อย่างสัมฤทธิผลสำคัญโดยง่าย เมื่อผู้บริหารระดับกลาง พัฒนาทีมงานโดย จัดการทำเอง จัดการพนักงาน จัดองค์การให้เหมาะสมและบริหารอย่างสร้างสรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นผู้บริหารระดับกลางที่ทรงคุณค่า พร้อมที่จะก้าวต่อไปเป็นผู้บริหารระดับสูงได้

ผู้บริหารระดับกลางที่ทรงคุณค่าจะประกอบไปด้วย ความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ดังนี้ี้
  1. มีความสามารถด้านการบริหารจัดการอย่างดี
  2. มีความเป็น ผู้นำ 360 องศา
  3. สามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. มุ่งมั่นให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
  လိူၼ်တႆး       
04/February/2014


การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
การออกจากตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน



มาตรา ๑๒ ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันรับเลือก
(๓) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกและเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน
(๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๕) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๖) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(๗) ไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือของรัฐวิสาหกิจ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือลูกจ้างของเอกชนซึ่งมีหน้าที่ทำงานประจำ
(๘) ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรม
(๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันพ้นโทษ
(๑๑) ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ในฐานความผิดเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง และกฎหมายว่าด้วยการพนัน ในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
(๑๒) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๔ (๖) หรือ (๗) และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก
(๑๓) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออกหรือไล่ออก
(๑๔) มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ เว้นแต่ในท้องที่ใดไม่อาจเลือกผู้มีพื้นความรู้ดังกล่าวได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาจประกาศในราชกิจจานุเบกษายกเว้นหรือผ่อนผันได้



04/February/2014



วันนี้ขอพูดคุยในส่วนของผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารได้ตระหนักถึงการเป็นผู้บริหารที่ดีควรเป็นอย่างไร และทำให้ผู้บริหารทุกท่านประเมินการทำงานของลูกน้องด้วยความยุติธรรมอย่างแท้จริง เรามาดูกันนะครับว่าคุณสมบัติของการเป็นผู้บริหารที่ดีมีอะไรบ้าง
1.มีภาวะผู้นำ 


ผู้บริหารต้องมีศิลปะในการครองใจคน สามารถจูงใจคนให้เต็มใจร่วมมือหรือให้การสนับสนุน เป็นนักประสานความเข้าใจของทุกฝ่าย สามารถบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคลและประสานประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้


2.มีเมตตาธรรม 

ไม่มีอคติ คือลำเอียงด้วยความชังหรือรัก ไม่เอาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การตำหนิหรือลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาต้องลงโทษด้วยเมตตา ไม่ใช่ด้วยอารมณ์โกรธแค้นส่วนตัว 

นักบริหารที่เป็นผู้นำขององค์กรยังต้องรู้จักสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ต้องรู้จักแสดงน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานและลูกน้องในโอกาสอันสมควร และสิ่งสมควรที่จะต้องมีอย่างยิ่งคือ 

ความรู้จักอดกลั้นและอดทนทั้งทางอารมณ์และจิตใจ สุดท้ายคือการรู้จักให้อภัย ไม่อาฆาตแค้น เรื่องที่แล้วก็ให้แล้วกันไป ถ้าผู้บริหารมีเมตตาธรรมรู้จักให้อภัย จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน 


3.ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง 

ในการทำงานถ้ามีหลักการที่ชัดเจน การทำงานก็จะง่าย สะดวก เร็วขึ้น มีความเป็นธรรม และตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำ 


4.เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ 

นักบริหารที่ดีต้องคิดสร้างสรรค์ให้บังเกิดสิ่งที่เป็นไปได้ และต้องมีความสามารถในการจัดระบบความคิดให้เชื่อมโยง มองถึงองค์กรรวมของปัญญาทั้งหมด นอกจากการคิดอย่างมีระบบแล้ว ยังต้องรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ชัดเจน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


5.มีการสร้างวิสัยทัศน์ 

นักบริหารที่มีความสามารถต้องมองเห็นเหตุการณ์ในอนาคตออกและคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ ด้วยสายตาที่กว้างไกล จากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี ด้วยการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มองเห็นภาพรวมทั้งระบบ ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ 


6.มีทักษะหลายด้าน 

นอกจากจะเป็นนักคิด นักวิเคราะห์แล้ว ยังต้องมีทักษะในเรื่องต่อไปนี้ ทักษะในการตัดสินใจ ต้องมีการจัดการที่ดี มีทีมงานที่แข็งแกร่ง มีข้อมูลที่ถูกต้องมากพอและทันสมัย ทักษะในการแก้ไขปัญหา ทักษะในการสร้างทีมงาน 


7.รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย 

เพราะการมีข้อมูลที่ดีช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง แม่นยำขึ้น จึงต้องรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล กระตือรือร้นอยู่เสมอ เป็นนักอ่าน ขยันใฝ่หาความรู้ ช่างสังเกต รู้จักฟัง 


8.รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ทันสมัย 

รู้ว่าขณะนี้ตนเป็นใคร มีบทบาทและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร เพื่อที่จะสวมบทบาทและแสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่เข้าไปก้าวก่ายงานในหน้าที่รับผิดชอบของคนอื่น 


9.กล้าตัดสินใจ 

ในหลักวิชาการบริหารกล่าวกันว่า สิ่งที่ยากที่สุดของนักบริหารคือ การตัดสินใจ แม้จะมีข้อมูลครบถ้วนในมือแต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะขาดความมั่นใจ กลัวที่จะต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น องค์กรใดที่มีผู้บริหารแบบนี้องค์กรนั้นคงเจริญเติบโตได้ยาก มองไม่เห็นอนาคตด้านความเจริญก้าวหน้า 


10.มียุทธวิธีและเทคนิค 

กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงาน ส่วนเทคนิคจะช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ มิให้สิ้นเปลือง เทคนิคที่ดีไม่ควรมีความสลับซับซ้อนมากเกินไป สามารถเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้

04/FEBRUARY/2014


ปัจจุบันเราจะประสบปัญหา เรื่อง วิกฤติผู้นำกันอยู่ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศ, องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ เพราะดูเหมือนเราจะหาผู้นำที่เป็น “ของแท้” หรือ ผู้นำที่ “น่าเชื่อถือ” จริงๆ นั้นยากมาก การสร้างให้คนในองค์กรมีภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้องค์กรพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง (Change) ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากในขณะนี้

นิยาม “ผู้นำ” ในด้านต่างๆ มีมากมาย หลากหลายทฤษฎี ขึ้นอยู่กับว่าใครจะชอบแบบไหน และแต่ละคนนั้นก็มี Style ของความเป็นผู้นำที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจะบอกว่า ผู้นำแบบดีกว่ากันนั้น คงไม่สามารถบอกได้ และไม่สมควรที่จะนำมาพูดกันด้วย เพราะผู้นำแต่ละแบบก็มีข้อดี- ข้อเสียแตกต่างกัน รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ภาวะความเป็นผู้นำก็อาจแตกต่างันไปด้วย

สิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ ภาวะความเป็นผู้นำของตัวเราเอง มากกว่าว่า เราสามารถที่จะเป็นผู้นำได้ดีแค่ไหน มีความน่าเชื่อถือจากบุคคลอื่นๆ มากน้อยอย่างไร สามารถบอกได้หรือไม่ว่าเราเป็นผู้นำ “ของแท้” เพราะความเป็นผู้นำนั้นอยู่ภายในตัวเรา แล้วเราแสดงออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ ไม่ใช่ตำแหน่ง หรือสิ่งที่เราบอก ดังนั้นการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำในตัวเองให้แข็งแกร่ง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อเรามากที่สุด

ผมขอแนะนำแนวความคิดของคุณสมบัติความเป็นผู้นำที่เด่นๆ บางส่วนมาแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นมุมมองสำหรับการพัฒนาตัวเอง ของแต่ละคน ที่ชอบคุณสมบัติไหนเป็นพิเศษ ก็หยิบไปพัฒนาตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาบอกคุณสมบัติเหล่านี้ ผมใช้ประสบการณ์ของตัวเอง ในการอ่านหนังสือ, การบริหารงาน, การเป็นที่ปรึกษา, การเป็นโค้ช และสังเกตจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จทั่วๆไป มาเขียนเป็นแนวความคิดของผม ดังนี้ครับ

• การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
ผู้นำต้องมีความฝัน (วิสัยทัศน์) ที่ชัดเจน และยึดมั่นต่อความฝันของตัวเองอย่างแน่วแน่ เพื่อไม่ให้ผู้ตามไขว้เขว และวิสัยทัศน์ของเรานั้นหากยิ่งใหญ่ และชัดเจนเท่าใด ก็จะทำให้มีผู้ตามมากขึ้นเท่านั้น หากเราไม่มีความฝัน ก็ยากที่จะมีผู้ตาม เพราะผู้อื่นจะไม่รู้ว่าเราจะไปที่ไหนก็เลยไม่รู้ว่าจะไปทำไม

• ความเชื่อมั่นในตัวเองหากไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้ เราไม่มีวันที่จะทำได้แน่นอน ถ้าทำได้ก็แสดงว่า ฟลุ๊ก ดังนั้นความเชื่อมั่นในตัวเอง ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ก่อนการลงมือทำ ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในตัวเองใครจะมาเชื่อมั่นในตัวเรา ทัศนคติเชิงบวกจะช่วยให้เราเชื่อมั่นในศักยภาพของเรามากขึ้น โดยเราต้องบอกตัวเอง อยู่เสมอๆ ว่า “เราทำได้!” แล้วเราก็จะทำสำเร็จได้จริงๆ

• ความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในแผนงานอย่างต่อเนื่องผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ตามหรือทีมงาน ถ้าเราไม่มุ่งมั่น ทุ่มเท กับแผนงานที่เราคิดและเขียนขึ้นมาอย่างต่อเนื่องแล้ว เราคงไม่สามารถบอกให้ผู้อื่นทุ่มเทได้ เพราะผู้นำเป็นอย่างไร ผู้ตามก็จะเป็นอย่างนั้น ลองสังเกตดูได้เวลาที่เรารู้สึกขี้เกียจสักพักจะเห็นน้องๆ เริ่มเฉื่อยๆ เลยครับ

• การสื่อสารความเข้าใจกับผู้อื่นวิสัยทัศน์ และแผนงานของเรา ต้องได้รับการยอมรับจากทีมงาน มิเช่นนั้น เราก็ต้องทำงานคนเดียว ซึ่งก็คงไม่สำเร็จแน่นอน ดังนั้นต้องให้แน่ใจว่าการสื่อสารของเราไปถึงทีมงานนั้น ได้รับการตอบรับอย่างดี ทุกคนเข้าใจในเรื่องที่เราสื่อสารอย่างชัดเจน ดังนั้นการสื่อสารจึงต้องมุ่งเน้นที่ผู้ฟังเป็นสำคัญ ต้องใช้ ข้อความและภาษาที่เหมาะกับเขา เป็นหลัก มิใช่พูดแบบเดิมกับทุกกลุ่ม ซึ่งจะไม่ได้ผลแน่นอน

• รับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจการรับฟังเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้นำ เพราะการรับฟังทำให้ผู้นเข้าใจผู้อื่น เพราะหากเราต้องการนำใครแล้ว เราควรเข้าใจในความต้องการของเรา มิเช่นนั้นเราก็จะไม่ได้ความไว้วางใจจากเขาเลย เมื่อผู้นำรับฟังผู้อื่น มากขึ้น ผู้อื่นก็จะรับฟังผู้นำอย่างเต็มใจ แต่ปัจจุบัน ผู้นำหลายคนไม่ค่อยฟังผู้อื่น ส่วนใหญ่แล้วจะยึดถือความคิดของตัวเองเป็นหลักมากกว่า

• การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมเราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ดังนั้นเราจึงควรเป็นผู้นำ360องศา คือเป็นผู้นำรอบทิศทาง ดังนั้นคุณสมบัติความมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลรอบด้านที่ดีเยี่ยม ก็จะทำให้เราสามารถทำงานร่วมกับบุคคลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และจะได้รับความร่วมมือที่ดี สุดท้ายงานก็จะบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้

• ความมีใจรักในงานที่ทำไม่มีใคราทำอะไรได้ดี ในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ และคนส่วนใหญ่ก็จะทำในสิ่งที่ตัวเองรักอย่างจริงจัง และมีความสุขจึงลืมความเหน็ดเหนื่อยไปเลย ผู้นำที่มีความรักในงานที่ทำอย่างลุ่มหลง ก็จะทำงานนั้นอย่างเต็มที่ ไม่ย่อท้อ แม้ว่าจะเจออุปสรรคต่างๆ มากมาย ก็จะทำให้ผู้ตามมองเห็น และอยากร่วมงานนั้นมากขึ้น เพราะพลังที่ผู้นำใช้ในการทำงานก็จะแพร่ไปถึงผู้ตามด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้ทีมงานกระตือรือร้นในเป้าหมายนั้นร่วมกัน

• การรู้จักแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บทพิสูจน์ผู้นำที่แท้จริง คือ การเผชิญกับปัญหาแล้วสามารถแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ถอยหนีแม้ว่าจะยุ่งยากแค่ไหนก็ตาม ผู้นำมักจะอยู่ด้านหลังเวลางานนั้นสามารถได้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ผู้นำจะออกมายืนแถวหน้าทันที เมื่องานนั้นพบกับปัญหาที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น และผู้นำประเภทนี้แหละที่ทีมงานต้องการและไว้วางใจที่สุด

 ความเป็นผู้รับผิดชอบอย่างแท้จริงผู้นำ จะรับทั้งผิดและชอบ ในผลงาน ไม่ว่าผลลัพธ์ จะเป็นเช่นไร ก็ตาม ความรับผิดชอบเป็นคุณสมบัติที่ผู้นำหลายคนประกาศก้องกันก่อนทำงานว่า ยินดีรับผิดชอบทุกอย่าง และเมื่อนั้น ทีมงานก็จะมีหัวใจพองโต ที่พร้อมจะลุยไปข้าหน้าร่วมกับผู้นำเอง แต่หากผู้นำขาดความรับผิดชอบ แล้วไซด์ เชื่อได้เลยว่า คุณคงต้องเดินโดยลำพังแน่นอนเลย

คุณสมบัติความเป็นผู้นำ เด่นๆ เหล่านี้ ผมใช้ในการฝึกฝนตัวเอง อยู่เรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ทุกๆ วัน เพราะผมมีความเชื่อว่า การสร้างภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นเรื่องที่ “ทำได้” และต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่สามารถหยุดได้ เพราะเรื่องภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่เรียนรู้ไม่จบสิ้น จึงอยากเชิญชวน ให้พวกเราลองนำไปพัฒนาตัวเองดู แล้วคอยสังเกตดูว่าตัวเราเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ โดยการสังเกตกับคนรอบข้างเราก็ได้

จากประสบการณ์ของผม ที่เกิดกับตัวเอง และเกิดกับ Coachee หลายๆ คนที่พัฒนาตัวเองเพื่อให้มีภาวะความเป็นผู้นำสูงขึ้นนั้น จะเกิดจากความรู้สึกว่าคนรอบข้างเราเปลี่ยนไป เมื่อปฏิบัติกับเรา เช่นตั้งใจฟังเรามากขึ้น, กลัวเราน้อยลง, อยากพูดคุยกับเรามากขึ้น, ทำในสิ่งที่เรามอบหมายให้ดีขึ้น เป็นต้น แรกๆ ผมก็งงว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมหลายๆคน เปลี่ยนแปลงไป (แต่ผมก็ชอบนะครับ) สุดท้ายมานั่งวิเคราะห์อีกที พบว่าเป็นเพราะเราเปลี่ยนแปลงไปนี่เอง เลยทำให้ ผู้อื่นรู้สึกในภาวะความเป็นผู้นำของเรามากขึ้น เสมือนหนึ่งว่าเรามีอิทธิพล(Influence) ต่อเขามากขึ้น สิ่งใดที่เรามอบหมายก็จะได้รับการตอบสนองในด้านที่ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตาไปเลย

ความหมายของภาวะความเป็นผู้นำ มีมากมาย ผมขอนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นแง่คิด สำหรับการพัฒนาตัวเอง ดังนี้ครับ

ภาวะความเป็นผู้นำ… คือ• การแบกรับความรับผิดชอบในขณะที่ผู้อื่นสรรหาคำแก้ตัว
• จุดแรงบันดาลใจ วาดภาพให้ผู้อื่นมองเห็นศักยภาพในการทำประโยชน์ ที่ซ่อนอยู่ในตัวเขา
• การมองเห็นโอกาสในขณะที่ผู้อื่นมองเห็นวิกฤต
• การทำฝันให้เป็นจริง
• ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยไม่กลัวความล้มเหลว
การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัว หรือไปทำกันเมื่อขึ้นเป็นผู้จัดการ หรือผู้บริหารแล้วเท่านั้น แต่ควรเรียนรู้ และพัฒนาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อทำให้การขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้น มีความพร้อมอย่างเต็มเปรี่ยมทั้งด้านทักษะการทำงาน (Hard Skill) และภาวะความเป็นผู้นำ (Soft Skill) หากองค์กรใดให้ความสำคัญเรื่องภาวะความเป็นผู้นำกับบุคคลทุกระดับแล้ว ก็จะทำให้องค์กรนั้นพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันในทุกระดับได้ โดยไม่ต้องกังวลใจเลย


23/FEBRUARY/2014

ประเทศอาเซียน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก bruneiresources.com , en.nhandan.org.vn , shariafreeusa.com ,pasalao.activeboard.com , en.wikipedia.org

         เมื่อเอ่ยถึง "ประชาคมอาเซียน" ทุกคนทราบดีว่า เป็นการรวมกลุ่มกันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 10 ประเทศ อันได้แก่ ประเทศบรูไน พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งผู้นำทั้ง 10 ชาตินี้ อยู่ในฐานะ "ผู้นำประเทศอาเซียน" ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันจนนำไปสู่ "ประชาคมอาเซียน"

         ว่าแต่...นอกจากประเทศไทยแล้ว เพื่อน ๆ พอจะทราบกันไหมว่า ประเทศเพื่อนบ้านของเรามีการปกครองในรูปแบบไหน ใครเป็นประมุข หรือผู้ปกครองประเทศอาเซียนบ้าง ถ้ายังจำได้ไม่หมดทุกคน ก็ตามกระปุกดอทคอมมารู้จักกับ "ผู้นำประเทศอาเซียน" ทั้ง 10 ประเทศกันให้มากขึ้นเลย (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557)


1. เนการาบรูไนดารุสซาลาม หรือ ประเทศบรูไน

          พระมหากษัตริย์ และนายกรัฐมนตรี: สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ 
         ประเทศบรูไน ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยรัชกาลปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงเป็นพระราชาธิบดีพระองค์ที่ 28 แห่งบรูไน มีพระชนมายุ 66 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระประมุขแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้นำทางศาสนาอิสลามแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม


2. ราชอาณาจักรกัมพูชา


          พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี

         ประเทศกัมพูชา ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มีพระชนมายุ 59 พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยมติเป็นเอกฉันท์ของคณะที่ปรึกษาราชบัลลังก์ ภายหลังการประกาศสละราชบัลลังก์ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระราชบิดา อันเนื่องจากปัญหาทางพระพลานามัย

ฮุนเซน

          นายกรัฐมนตรี : สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
         ฮุน เซน หรือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ปัจจุบันอายุ 61 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้งแต่อายุ 33 ปี ในยุคสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดของกัมพูชา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็น สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เมื่อ พ.ศ. 2536 

ภาพโดย ROMEO GACAD / AFP

3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

          ประธานาธิบดี : โจโก วิโดโด

        โจโก วิโดโด เป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 ของอินโดนีเซีย ได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) โดยประวัติส่วนตัวเขานั้น เรียกได้ว่าเขาเป็นขวัญใจคนจนโดยแท้ เพราะเคยเป็นคนยากจนมาก่อน ก่อนที่จะมาเป็นมหาเศรษฐีค้าขายเฟอร์นิเจอร์ จากนั้นก็เข้าสู่วงการการเมืองเป็นนายกเทศมนตรีเมืองโซโล, ผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา และประธานาธิบดีอินโดนีเซีย

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี


4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

          ประธานาธิบดี : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน

         สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ผู้นำสูงสุดของประเทศเรียกว่า "ประธานประเทศ" เทียบเท่ากับตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน อายุ 76 ปี เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของประเทศ และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกหนึ่งตำแหน่ง

           นายกรัฐมนตรี : นายทองสิง ทำมะวง

         นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ นายทองสิง ทำมะวง ปัจจุบันอายุ 68 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และยังดำรงตำแหน่งกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค พรรคประชาชนปฏิวัติลาว อีกหนึ่งตำแหน่ง ก่อนหน้านั้นในช่วง พ.ศ. 2549-2553 เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติ


5. ประเทศมาเลเซีย


          พระมหากษัตริย์ : สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ 

         ประเทศมาเลเซียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รูปแบบคล้ายกับประเทศอังกฤษ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี องค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ พระชนมายุ 85 พรรษา ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และ 14 และทรงเป็นสุลต่านแห่งรัฐเกดะห์ พระองค์ปัจจุบัน

          นายกรัฐมนตรี : นายนาจิบ ราซะก์

         ดาโต๊ะซรี ฮัจญี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตน ฮัจญี อับดุล ราซะก์ หรือ นายนาจิบ ราซะก์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซีย หรือเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของประเทศ ปัจจุบันอายุ 59 ปี เกิดมาในครอบครัวนักการเมือง เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และสังกัดพรรคอัมโน 

กต. แจ้ง เต็งเส่ง เยือนไทย 22-24 ก.ค.

6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์


          ประธานาธิบดี : พลเอกเต็ง เส่ง
         สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือ พม่า ปกครองประเทศด้วยระบบประธานาธิบดี ปัจจุบันคือ พลเอกเต็ง เส่ง หรือ เทียน เส่ง อายุ 67 ปี รับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจาก พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 หลังจากชนะการเลือกตั้งทั่วไป อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พลเอกเต็ง เส่ง เคย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า ในช่วงปี พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2554

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี

7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์


         ประธานาธิบดี : นายเบนิกโน อากีโนที่ 3

         ประเทศฟิลิปปินส์เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงรับเอาการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้บริหารประเทศ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ ซึ่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเบนิกโน อากีโนที่ 3 หรือ เบนิกโน ซีเมออน โกฮวงโก อากีโนที่ 3 ปัจจุบันอายุ 54 ปี ดำรงตำแหน่งตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 15 ของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี

8. สาธารณรัฐสิงคโปร์


          ประธานาธิบดี : นายโทนี ตัน เค็ง ยัม

         ประเทศสิงคโปร์ ปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายโทนี ตัน เค็ง ยัม ปัจจุบันอายุ 72 ปี เพิ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 หลังจากทำคะแนนเฉือนชนะคู่แข่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ ไปเพียง 0.34% จึงได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์ คนที่ 7 นับแต่นั้นมา

          นายกรัฐมนตรี : นายลี เซียน ลุง 

         นายลี เซียน ลุง ปัจจุบันอายุ 60 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ ต่อจากนายโก๊ะ จ๊ก ตง ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศ ทั้งนี้ นายลี เซียน ลุง เป็นบุตรชายคนโตของ นายลี กวนยู อดีตนายกรัฐมนตรี

9. ราชอาณาจักรไทย 
ในหลวง

          พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

        ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเรียกรวมกันว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งพระประมุขของประเทศมาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงขณะนี้ทรงครองราชย์มาแล้ว 66 ปี ถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนม์ชีพอยู่ที่เสวยราชย์นานที่สุดในโลก และยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย



          นายกรัฐมนตรี : ยังไม่มี คาดว่า จะมีนายกรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้

         



10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
          ประธานาธิบดี : นายเจือง เติ๊น ซาง

         ประเทศเวียดนามมีการปกครองในรูปแบบคอมมิวนิสต์ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเจือง เติ๊น ซาง อายุ 62 ปี เป็นสมาชิกระดับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 9 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับคะแนนสูงสุดจากการลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี 

          นายกรัฐมนตรี : นายเหงียน เติ๊น สุง

         นายเหงียน เติ๊น สุง ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 6 ของประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีอายุ 63 ปี สังกัดพรรคคอมมิวนิสต์ ในอดีตเคยเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งรัฐเวียดนาม (State Bank of Vietnam) 

         และนี่ก็คือรายชื่อผู้นำทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน จะเห็นว่า ผู้นำของแต่ละประเทศจะมีสถานะ และบทบาทแตกต่างกันไปตามระบอบการปกครองที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งเราคนไทยก็ควรจะรู้จักข้อมูลของประเทศเพื่อนบ้านร่วมอาเซียนไว้บ้าง ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 1 ปีข้างหน้า



23/FEBRUARY/2014





องค์กรต่างๆ คาดหวังให้ผู้จัดการ เป็นผู้ที่ทำให้เกิดผลงาน ดังนั้น เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผู้จัดการ หลายๆองค์กร จึงต้องการหลักสูตรการพัฒนาผู้นำ ผู้จัดการจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีจูงใจและวิธีการบริหารงานที่เหมาะสม และต้องรู้ด้วยว่าควรที่จะทุ่มเทพลังงานของตนในเรื่องใด จากผลการวิจัย แสดงให้เห็น ผู้จัดการที่ให้ความสำคัญในเรื่องผลผลิตหรือผลลัพธ์ มีประสิทธิภาพน้อยกว่า ผู้จัดการที่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนพนักงานที่เป็นผู้ลงมือทำงานนั้นๆ กล่าวคือ การเปลี่ยนไปให้ความสำคัญ ต่อการสนับสนุนพนักงาน และสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการขององค์กรกับความต้องการของพนักงาน จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่โดดเด่นของหน่วยงาน ผู้จัดการ และหัวหน้างาน ที่ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มงาน หรือมีประสบการณ์มาแล้วก็ตาม สามารถเรียนรู้ที่จะเพิ่มประสืทธิภาพในการทำงาน ควบคู่ไปกับ การยกระดับความพอใจของพนักงานได้เช่นเดียวกัน
หลักสูตร ทักษะการเป็นผู้นำ และผู้บริหาร (The Leader Manager – TLM) เป็นหลักสูตรที่ให้แนวคิด และทักษะ ที่ผู้นำสามารถช่วยให้ หน่วยงานของตน ได้ทั้งผลงาน และความพึงพอใจ ที่เป็นส่วนผสม ระหว่าง ผลงานที่โดดเด่น และความพึงพอใจที่มากขึ้น จากการทำงานที่มีคุณค่าให้ประสบความสำเร็จ ผู้นำ จะได้เรียนรู้ ถึงการให้การสนับสนุน พนักงานในหน่วยของของตน โดยใช้ ปัจจัย 5 ประการ ในการตอบสนองความต้องการของพนักงาน
หลักสูตร ทักษะการเป็นผู้นำ และผู้บริหาร เป็นหลักสูตร เร่งรัด ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับสิ่งที่สำคัญที่ผู้นำควรปฎิบัติ เพื่อให้เกิดผลงานที่ดีที่สุดจากพนักงาน
พนักงานผู้ที่สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่น จะมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และมีความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ผู้นำ ที่สามารถกระตุ้นให้เกิด ผลงาน และความพึงพอใจ ย่อมเป็นผู้นำ ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์แก่องค์กร ตลอดไป
04/FEBRUARY/2014

             
 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฏบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน ที่จะวางกรอบทางกฏหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อน การร่วมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฏบัตรฯ คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฏกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้กฏบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (IntergovernmentalOrganization) 
กฏบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่างๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่

           1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
           2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่อง และรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
           3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
           4) การให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฏบัตรฯ อย่างร้ายแรง
           5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ
           6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกับระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม ซึ่งทำให้การตีความหลักการ ห้ามแทรกแซงกิจการภายในมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
           7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
           8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น
           9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ะละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตาเพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

ที่มา : (การศึกษา : การสร้างประชาคมอาเซียน 2558, ม.ป.ป. : 5 )



04/FEBRUARY/2014



AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะ ท าให้มีผลประโยชน์, อ านาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการน าเข้า ส่งออกของชาติใน อาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีน าเข้า (เรียกว่า สินค้าอ่อนไหว)
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะท าให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ

1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้ พม่า : สาขาเกษตรและประมง มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้ ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN) การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆใน AEC โดยอธิบายให้เห็นภาพเข้าใจง่ายๆ เช่น
- การลงทุนจะเสรีมากๆ คือ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆ ก็จะมาเปิด โรงเรียนในบ้านเรา อาจท าให้โรงเรียนแพงๆแต่คุณภาพไม่ดีล าบาก
- ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลาง Asean และไทยอาจจะเด่นในเรื่อง การจัดการประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ, ศูนย์กระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องการคมนาคมอีกด้วยเนื่องจากอยู่ตรงกลางอาเซียน และการบริการด้าน การแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมากเช่นกันเพราะ จะผสมผสานส่งเสริมกันกับ อุตสาหกรรรมการท่องเที่ยว (ค่าบริการทางการแพทย์ต่างชาติจะมีราคาสูงมาก)
- การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์, การ ท่องเที่ยว, การคมนาคม, แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ภาค การเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไป ประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยผู้ลงทุนอาจย้ายฐานการผลิตจาก ประเทศไทยไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า เนื่องด้วยบางธุรกิจไม่จ าเป็นต้องใช้ทักษะมากนัก ค่าแรงจึงถูก
- เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่ส าคัญอย่างมาก เนื่องจากจะมีคนอาเซียน เข้ามาอยู่ในไทย มากมายไปหมด และมักจะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ (AEC มีมาตรฐาน แจ้งว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางใน AEC) บางทีเรานึกว่าคนไทยไปทักพูดคุยด้วย แต่ เค้าพูดภาษาอังกฤษกลับมา เราอาจเสียความมั่นใจได้ ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้น ป้ายต่างๆ หนังสือพิมพ์, สื่อต่างๆ จะมีภาษาอังกฤษมากขึ้น (ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นตัวอย่าง) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร
- การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมาย เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมี บทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย
- เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้ฝีมืออีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อย้ายเสรี จะมี ชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาท างานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วย เช่นกัน และยังมีปัญหาสังคม, อาชญากรรม จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรระวัง
- คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปท างานเมืองนอก โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ (ที่จะให้สิงคโปร์เป็นหัวหอกหลัก) เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ ค่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมาก แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาท างานในไทย มากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาว พม่า, กัมพูชา เก่งๆ มาท างานกับเราก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็น สื่อกลาง บริษัท software ในไทยอาจต้องปรับค่าจ้างให้สู้กับ บริษัทต่างชาติให้ได้ ไม่เช่นนั้น จะเกิดภาวะสมองไหล
- อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า บริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากจะมีการสัญจรมากขึ้น และเมืองตามชายแดนจะพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นจุด ขนส่ง
- สาธารณูปโภคในประเทศไทย หากเตรียมพร้อมไม่ดีอาจขาดแคลนได้เช่น ชาวพม่า มาคลอด ลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลในไทยเป็นต้น
- กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีต าแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมือง หลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีส านักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น (ปัจจุบันมีโครงการที่จะขยายสนามบินแล้ว)
- ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะ ประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง ประกอบท าเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก แม้ จะให้พม่าเน้นการเกษตร แต่ทางประเทศไทยเองคงไปลงทุนในพม่าเรื่องการเกษตรแล้วส่งออก ซึ่งก็ถือเป็นธุรกิจของคนไทยที่ช านาญ อยู่แล้ว - ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจ านวนมากมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยท างานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้, จะ มีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาจญากรรมจะ รุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา, คนจะท าผิดกฎหมาย มากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย การขนส่งที่เปลี่ยนแปลง East-West Economic Corridor (EWEC)
East West Economic Corridor จะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทาง ติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.เส้นทางเริ่มที่ เมืองท่าดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว ผ่านเข้า แขวงสะหวันนะเขตในประเทศ ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ าโขงสู่ไทยที่ จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุดที่อ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆ ถึงอ่าวเมาะ ตะมะ ที่เมืองเมาะล าไย หรือมะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย มันจะมีผลที่ดีคือ การขนส่ง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก และจากาการที่ไทยอยู่ตรงกลาง ท าให้เราขายของได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้ ที่ดิน ในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้น
และที่พม่ายังมี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาด ใหญ่,ท่าเรือขนาดใหญ่ ที่ปัจจุบัน Italian-Thai Development PLC ได้รับสัมปทานในการ ก่อสร้างแล้ว) ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East West Economic Corridor โดยทวายจะกลายเป็น ทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่ส าคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดีย จ าเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้า จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียหรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม พลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ ามัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกน าเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปร เจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีนเช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุด ปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่น และจีน
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เราควรจะเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ที่ส าคัญตอนนี้คือ ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยๆเราก็จะ ได้สื่อสารทางธุรกิจได้ เพราะหากสื่อสารไม่ได้ เรื่องอื่นก็คงไม่ต้องท าอะไรต่อ และถ้าจะหาลูกค้าแค่ในไทยก็อาจไม่เพียงพอแล้วเพราะ ธุรกิจต่างชาติก็จะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของเรา แน่นอน เรื่อง AEC จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ธุรกิจและคนไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมให้ดี  หมวดหมู่
o บทความ AEC ส าคัญที่ควรอ่าน
o ความได้เปรียบเสียเปรียบไทยในAEC
o การปรับตัวกลยุทธ์เมื่อเป็นAEC
o บทความและบทวิเคราะห์AEC
o ผลกระทบอื่นที่จะเกิดกับไทย
o ข้อมูลของแต่ละประเทศในAEC
o AEC English Article
จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
1.ประเทศสิงคโปร์
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ
• แรงงานมีทักษะสูง
• ช านาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
• มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
จุดอ่อน
• พึ่งพาการน าเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
• ค่าใช้จ่ายในการด าเนินธุรกิจสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า


2.ประเทศอินโดนีเซีย
จุดแข็ง
• ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้)
• มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจ านวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ ามัน ก๊าซธรรมชาติ
โลหะต่างๆ • ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง
จุดอ่อน
• ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว
• สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยง
ระหว่างประเทศ
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก


 3.ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
• มีปริมาณส ารองน้ ามันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร
• แรงงานมีทักษะ
จุดอ่อน
• จ านวนประชากรค่อนข้างน้อย ท าให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563
• ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าส าคัญที่คล้ายคลึงกับไทย
• มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง


4.ประเทศบรูไน
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก
• การเมืองค่อนข้างมั่นคง
• เป็นผู้ส่งออกน้ ามัน และมีปริมาณส ารองน้ ามันอันดับ 4 ของอาเซียน
จุดอ่อน
• ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน
• ขาดแคลนแรงงาน
ประเด็นที่น่าสนใจ
• มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
• การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก
• ให้ความส าคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก


5.ประเทศฟิลิปปินส์ จุดแข็ง
• ประชากรจ านวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน)
• แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้
จุดอ่อน
• ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน
• ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ประเด็นที่น่าสนใจ
• สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ
• การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก


 6.ประเทศเวียดนาม
จุดแข็ง
• ประชากรจ านวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน)
• มีปริมาณส ารองน้ ามันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ าสุดในอาเซียน รองจากกัมพูชา
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าส านักงานค่อนข้างสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว


 7.ประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ า ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ
• ค่าจ้างแรงงานต่ าสุดในอาเซียน (1.6 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ า ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง
• ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกัน
ในอนาคตได้


 8.ประเทศลาว จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ าและแร่ชนิดต่างๆ
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ า (2.06 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ า และเหมืองแร่


 9.ประเทศพม่า
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ ามันและก๊าซธรรมชาติจ านวนมาก
• มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ า (2.5 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ


 10.ประเทศไทย
จุดแข็ง
• เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก
• ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
• สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง
• ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง
• แรงงานจ านวนมาก
จุดอ่อน
• แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ
• เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการ
ท่องเที่ยว
• ด าเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53%
สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง



ความได้เปรียบเสียเปรียบไทยในAEC
ประกันไทยไม่พร้อม เตือนภัยเปิดเสรี AEC กระแสเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี (Asean Economic Community : AEC) ก าลังมาแรง วงการธุรกิจอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจประกันภัย-ประกันชีวิต เริ่มตื่นตัวกัน แล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจประกันภัยที่เป็นบริษัทท้องถิ่น เตรียมตั้ง รับเพราะไม่มีเครือข่ายพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นต่างประเทศ และที่ผ่านมายังมีปัญหาเคลมสินไหม น้ าท่วมหลายแสนล้านบาท ซึ่งยังเป็นปัญหาเคลียร์ไม่จบ
ขณะที่ธุรกิจประกันชีวิตแม้ดูเหมือนจะมีปัญหาน้อยกว่า เพราะผู้ประกอบการกว่าครึ่งเป็นนัก ลงทุนต่างชาติที่เข้ามาปักธงอยู่แล้ว เหลือผู้ประกอบการท้องถิ่นไม่ถึง 10 ราย แต่ปรากฎว่าเมื่อ ต้องเปิดเสรีอาเซียนขึ้นมาจริงๆในในปี 2558 หลายฝ่ายก็ไม่มั่นใจว่าแต่ละแห่งจะเตรียมความ พร้อมรองรับกระแสการแข่งขันของกลุ่มทุนต่างชาติอื่นๆ ที่จะเข้ามาเจาะตลาดได้แค่ไหน ส าหรับความเคลื่อนไหวเพื่อรับมือการเปิดเสรีเออีซีนั้น มีอาทิ บริษัท กรุงเทพประกันภัย (BKI) และกรุงเทพประกันชีวิต(BLA) ร่วมกับพันธมิตรที่เป็นบริษัทประกันภัยต่างชาติในการจัดตั้ง บริษัทแคมโบเดียนไลฟ์ ในประเทศกัมพูชา โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกัมพูชาถือหุ้น ใหญ่ 51% ส่วนอีก 49% เป็นการร่วมลงขันโดยบริษัทประกันที่เป็นพันธมิตรกันใน 4ประเทศ คือ BKI, BLA, บริษัทประกันภัยจากฮ่องกง และอินโดนีเซีย เพื่อเป็นอีกหนึ่งกลไกช่วยสร้าง หลักประกันให้แก่ผู้บริโภคในตลาดกัมพูชา หลังรัฐบาลกัมพูชาเพิ่งเปิดตลาดหุ้นไปแล้วเมื่อ เดือน เม.ย.ที่ผ่านมาส่วนทางคณะกรรมการก ากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้แก้ไขหลักเกณฑ์สัดส่วนการถือหุ้น
ของต่างชาติในบริษัทประกันภัยให้สามารถถือหุ้นเกินกว่า 25% โดยก าหนดว่าถ้าถือหุ้นไม่เกิน 49% จะต้องขออนุมัติบอร์ดคปภ. และถ้าถือหุ้นเกิน 49% ขึ้นไป ต้องขออนุมัติจาก รมว.คลัง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันของ บริษัทประกันภัยให้สามารถรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้เต็มที่ ภายในปี 2020 นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. กล่าวยอมรับว่าขณะนี้ธุรกิจประกันไทยในภาพรวม ยังไม่มีความพร้อมในการรองรับเออีซี เพราะภาคประกันของไทยต้องสร้างตัวเองให้มีความ เข้มแข็งก่อนที่จะไปแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งคงต้องมีการเตรียมพร้อมในเรื่องนี้กันอีกมาก และต้องเร่งปรับตัวให้ทันก่อนปี 2020 โดยนายประเวชแนะว่า บริษัทประกันต้องปรับเปลี่ยน แนวคิดใหม่ด้วย เพราะการประกันเป็นธุรกิจการเงินที่มีความซับซ้อน จึงถูกก าหนดให้มี ระยะเวลาปรับตัวนานกว่าธุรกิจอื่นไปหนึ่งสเต็ป นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยประกันชีวิต ให้ความเห็นว่าสิ่งส าคัญ คือ การปรับเปลี่ยนระบบของแต่ละบริษัทให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในธุรกิจ เพราะการเปิด เสรีประกันภัยนั้นพูดกันมานาน 20 ปีแล้ว กระทั่งขยับเข้ามาเป็นเออีซี ซึ่งแคบลงกว่าเดิม โดยใน ส่วนของไทยประกันชีวิตมีการปรับรูปแบบโครงสร้างการบริหารธุรกิจภายในให้รับกับกระแสการ แข่งขันภายนอกที่แข่งขันรุนแรงมานานนับ 10 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาปรับเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานาย ประกิตติ บุณยเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารตัวแทนประกันชีวิต บริษัทเอไอเอ ประเทศ ไทย กล่าวว่าบริษัทแม่ที่ฮ่องกงยังไม่ได้ให้นโยบายเร่งด่วนส าหรับการวางแผนรองรับการเปิด เสรีเออีซี เพราะเอไอเอ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้ง15 ประเทศ ต่างมีขนาดธุรกิจค่อนข้างใหญ่ และประสบผลส าเร็จทางด้านยอดขายค่อนข้างดี ครอบคลุมฐานลูกค้ามากกว่าตลาดอาเซียนใน ปัจจุบัน โดยเฉพาะเอไอเอ ประเทศไทยมีฐานกรมธรรม์ลูกค้าทั้งประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลรวมกันแล้ว 7 ล้านฉบับ
นายธีระ ภู่ตระกูล นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่าในปี 2558 เมื่ออาเซียน กลายเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี มีการเปิดเสรีด้านการเงินการธนาคาร จะท าให้ การแข่งขันด้านธุรกรรมและบริการวางแผนทางการเงินมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะสถาบัน การเงินและบริษัทประกันชีวิตของประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนจะมีโอกาสเข้ามามีบทบาทและ ร่วมแข่งขันในประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีสถาบันที่ให้บริการวางแผนการเงินส่วน บุคคลเป็นบริการเสริมเพื่อดึงดูดลูกค้าของสถาบันการเงินและธุรกิจประกันชีวิต โดยยังไม่ได้ รวมถึงบริการของนักวางแผนการเงินอิสระอีกต่างหาก ดังนั้น ธุรกิจของไทยต้องวางแผนรับมือ การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไว้ล่วงหน้า นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการผู้อ านวยการ บริษัทแอกซ่าประกันภัย ให้ความเห็นว่าถ้าเปิด เออีซีเต็มรูปแบบจริงบริษัทประกันภัยท้องถิ่นในประเทศจะเสียเปรียบบริษัทประกันภัยที่มี เครือข่ายข้ามชาติ ยกตัวอย่าง การประกันภัยรถข้ามแดนที่ปัจจุบันยังท าเฉพาะการประกันภัย ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. แต่ในอนาคตจะต้องเปิดประกันภาคสมัครใจด้วย ที่มา : ดอกเบี้ยธุรกิจ

การปรับตัวกลยุทธ์เมื่อเป็นAEC
การขนส่งทางรถบรรทุกต้องเร่งปรับตัวรับ AEC นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันกรอบความ ร่วมมืออาเซียนได้เปิดให้มีการเดินรถไป-กลับระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน 500 คัน ที่ ผู้ประกอบการไทยวิ่งให้บริการในเส้นทางอีสท์ เวธส์ คอริดอร์ หรือโครงการเส้นทางแนว ตะวันออก-ตะวันตก R9 จากจังหวัดตาก-พิษณุโลก, มุกดาหาร-สหวันเขต, ลาว บาว-ท่าเรือ ดานัง แต่เส้นทางดังกล่าวไม่ได้รับความนิยม จึงมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถใหม่มา เป็นเส้นทาง ฮานอย-แหลมฉบัง แทน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะมีผู้ประกอบการขนส่งจาก ต่างชาติเข้ามาให้บริการเป็นจ านวนมาก จึงต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเดินรถ ไม่ว่าจะ เป็น ร่าง พ.ร.บ.การอ านวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน พ.ศ. ….. /พ.ร.บ.การรับขนของ ทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. …..ซึ่ง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจาก คณะกรรมาธิการ คาดว่าในอีก 6 เดือนจะประกาศใช้ และร่าง พ.ร.บ.การรับขนคนโดยสารและ สัมภาระระหว่างประเทศ พ.ศ. ……อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจากกฤษฎีกา คาดว่าในอีก 1 ปี ข้างหน้าจะประกาศใช้ พร้อมเพิ่มความรับผิดชอบต่อความเสียหาย และมีการติดตั้ง GPS เพื่อให้ เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งยอมรับว่าหากเปิดเสรีภาคการขนส่งผู้ประกอบการขนส่งข้าม แดนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ถือเป็นเรื่องดีต่อธุรกิจขนส่งสินค้าเพราะจะไม่เป็นการผูก ตลาดแต่เพียงรายเดียว “ผู้ประกอบการไทยจ าเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรีขนส่งใน 2556 นอกจากนี้ จะต้องมีการแก้กฎหมายตามข้อก าหนดของ AEC ที่ระบุการเปิดเสรีเพื่อให้ต่างชาติเข้ามา ด าเนินการในส่วน 70% จากเดิม 49% ทั้ง นี้ หากผู้ประกอบการไทยไม่มีความพร้อม อาจจะถูก เจาะตลาดได้ ซึ่งในอนาคตการขนส่งข้ามแดนนั้นจะมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งไทยต้องเตรียมพร้อม อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางบกจะขยายผลการส่งเสริมและจัดตั้งระบบการรับรองมาตรฐาน ในส่วนภูมิภาคอีก 15 จังหวัด ซึ่งก่อนหน้านี้มีการน าร่องการจัดตั้งระบบการรับรองมาตรฐานใน 15 จังหวัดไปแล้ว
ที่มา : นสพ.บ้านเมือง
บทความและบทวิเคราะห์AEC มองอสังหาริมทรัพย์ประเทศเพื่อนบ้าน การประชุมสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินในภูมิภาคอาเซียน เมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา มีการ พูดถึงสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยผู้รู้ในแต่ละประเทศโดยตรง ทั้งจาก กัมพูชา บรูไน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย สรุปได้ความว่า ที่ กัมพูชา พื้นที่ส านักงานมีค่าเช่าประมาณเดือนละ 600 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งน้อยกว่าไทย ไม่มากนัก ส าหรับตลาดที่อยู่อาศัย ในขณะนี้เน้นสร้างตึกแถว แต่ก็เริ่มมีทาวน์เฮาส์ ส่วนอาคาร ชุดราคาแพงกลับชะลอตัว อสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่งที่น่าสนใจในกัมพูชาก็คือ การให้ต่างชาติเช่าพื้นที่ท านา หรือร่วม ทุนกับชาติตะวันออกกลางท านา ปรากฏว่ามีการเข้ามาร่วมลงทุนมาก ท าให้กัมพูชามีสัดส่วนใน การส่งออกข้าวได้มากกว่าเดิม บรูไน รายได้ประชาชาติต่อหัวสูงกว่าไทยถึงประมาณ 5 เท่าตัว แต่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลับยังไม่มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษ ยกเว้นการสร้างศูนย์การค้า โรงแรม ส่วนหนึ่ง ส่วนในภาคที่ อยู่อาศัยส่วนมากเป็นบ้านสร้างเองมากว่า มาเลเซีย การจับจ่ายใช้สอยของประชากรภายในประเทศยังสูงอยู่ ส าหรับมูลค่าการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาทในปี 2554 นั้นแยกเป็นที่อยู่อาศัย 620,000 ล้าน บาท อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ 280,000 ล้านบาท อุตสาหกรรม 115,000 ล้านบาท และ เกษตรกรรม 190,000 ล้านบาท นอกนั้นเป็นอื่น ๆ อสังหาริมทรัพย์ในมาเลเซียยังเติบโด โดยพิจารณาได้จากการที่มีที่อยู่อาศัยสร้างแล้วเสร็จ 4.51 ล้านหน่วย และในอนาคต จะมีแผนการสร้างเพิ่มอีก 584,546 หน่วย เวียดนาม ในด้านอสังหาริมทรัพย์พบว่า อาคารส านักงานชั้นดีในกรุงฮานอย ณ ไตรมาส 1/2555 มี 290,000 ตารางเมตร ค่าเช่าประมาณ 1,000 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แต่มีอัตรา ว่างถึง 35% ในขณะที่ในนครโฮชิมินห์มี 137,000 ตารางเมตร แต่ค่าเช่าดีกว่าคือเดือนละ 1,500 บาท และมีอัตราว่างน้อยกว่าคือเพียง 16% ถ้าเทียบกับไทยสถานการณ์ถือว่าแย่กว่า แต่ ก็อยู่ในภาวะฟื้นตัวขึ้นกว่าแต่ก่อน สิงคโปร์ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาสิงคโปร์เติบโตอย่างรวดเร็ว ห้องชุดในสิงคโปร์มีราคาปานกลาง สูงถึง 300,000 บาท โดยในใจกลางเมืองมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.8% ส่วนในเขตชานเมือง มีอัตราผลตอบแทน 4.8% โดยที่สิงคโปร์เป็นแหล่งจับจ่ายสินค้าของภูมิภาคอาเซียน จึงท าให้ พื้นที่ขายศูนย์การค้าค่อนข้างแพง โดยในเขตใจกลางเมือง มีอัตราสูงถึง 700,000 – 1,000,000 บาทต่อตารางเมตร
ขณะนี้คาดว่าสิงคโปร์จะเข้าสู่ภาวะถดถอยลงในระดับหนึ่งเพราะพิษเศรษฐกิจยุโรปและ สหรัฐอเมริกา จึงคาดว่าภาคอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบไปด้วย อินโดนีเซีย อาคารส านักงานมีอัตราค่าเช่าเฉลี่ยประมาณ 544 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน 3.51% และมีอัตราว่างเพียง 11% ส่วนโรงแรมชั้นหนึ่งมีค่าเช่าค่อนข้างสูง เพราะมีจ านวนจ ากัดคือคืนละประมาณ 2,837 บาท ส าหรับห้องชุดใจกลางกรุงจาการ์ตามีราคา 56,000 บาทต่อตารางเมตร และพื้นที่ค้าปลีกมีค่า เช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,755 บาทต่อตารางเมตร อินโดนีเซียมีความมั่นคงทางการเมืองสูง ประเทศมี ขนาดใหญ่และมีทรัพยากรมาก โอกาสการเติบโตในอนาคตยังมีอย่างต่อเนื่อง “จะเห็นได้ว่าแม้ภาวะเศรษฐกิจโลกจะตกต่ า แต่ก็ส่งผลกระทบไม่มาก หากประเทศใดมีพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง มีทรัพยากรและประชากรเป็นจ านวนมาก ในอนาคตเมื่อมีเกิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ ASEAN Economic Community (AEC) แล้ว เศรษฐกิจและ อสังหาริมทรัพย์ในแต่ละประเทศอาจมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นอีก ประเทศไทยต้องสามัคคีกัน พัฒนาประเทศและเศรษฐกิจให้เข้มแข็งเพื่อการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคต อันใกล้นี้” ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่า อสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวสรุป
ที่มา : เดลินิวส์

ผลกระทบอื่นที่จะเกิดกับไทย
คลังเมินลดภาษี การลงทุนต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า ได้มีการพิจารณาข้อเสนอ ของเอกชนที่เสนอขอให้ยกเว้นภาษีเงินได้จากการลงทุนต่างประเทศ ซึ่งพบว่ามีจุดรั่วไหล ท า ให้มีการเลี่ยงภาษี ด้วยการไปตั้งบริษัทลูกในต่างประเทศที่จัดเก็บภาษีนิติบุคคลต่ ากว่าไทย และยังน ารายได้เข้ามาโดยไม่ต้องภาษีให้กับประเทศ อีกกรณีที่บริษัทที่เคยท าธุรกิจในไทยและส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศ เมื่อมีรายได้ก็เสียภาษี ให้กับประเทศปกติแต่หากบริษัทดังกล่าวออกไปตั้งบริษัทลูกในต่างประเทศเพื่อจาหน่ายสินค้า แทนบริษัทในประเทศ และสามารถน ารายได้กลับเข้าประเทศโดยไม่ต้องเสียภาษี เพราะถือเป็น การลงทุนในต่างประเทศ เรื่องนี้ทาให้เป็นช่องทางที่ท าให้ประเทศต้องเสียรายได้ไป ซึ่งเคยตั้ง ข้อสังเกตดังกล่าวกับภาคเอกชนแล้ว และต่างเห็นด้วยว่าอาจมีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริง นอกจากนี้ กฎหมายของไทยก าหนดว่า กรณีบริษัทจากัดตั้งบริษัทลูกในไทย เงินปันผลจาก บริษัทลูกในประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคลล 50% ขณะที่บริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เงินปันผลจากบริษัทลูกในประเทศได้รับการยกเว้นภาษีทั้ง 100% ขณะเดียวกัน ปัจจุบันภาษีนิติบุคคลของไทยได้ปรับลดลงต่อเนื่องจาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้ และจะลดลงเหลือ 20% ในปีหน้า ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งในการลดภาระให้กับผู้ประกอบการ ไทยอยู่แล้ว ดังนั้น ข้อเสนอไม่เก็บภาษีรายได้จากการไปลงทุนต่างประเทศยังไม่ใช่เรื่องที่จ าเป็นเร่งด่วนยัง มีเวลาในการศึกษาข้อเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าว ก่อนหน้านี้ได้นา เสนอแพ็กเกจลดภาษีไปยังนายกิตติรัตน์แล้ว ซึ่ง รมว.คลังขอให้กลับมาดูว่าหากเมื่อต้องลด ภาษีให้กับนักลงทุนไทยที่จะออกไปลงทุนยังต่างประเทศแล้ว จะใช้แนวทางใดในการหารายได้ชดเชยภาษีที่หายไป พร้อมทั้งพิจารณาว่ามีช่องโหว่ตรงไหนที่จะเกิดการเลี่ยงภาษีหรือไม่ โดย สศค.คาดว่า จะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนในการพิจารณาและนาเสนอไปยังนายกิตติรัตน์อีกครั้ง ปัจจุบันนักลงทุนไทยน าเงินออก ไปลงทุนยังต่างประเทศปีละ1.5 หมื่นล้านบาทถือว่าน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เอกชนที่ มีศักยภาพออกไปลงทุนในอาเซียน หลังจากที่การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออี ซี) เริ่มมีผลบังคับใช้อีก3 ปีข้างหน้า มาตรการทางด้านภาษีก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริม เอกชน
ที่มา : โพสต์ทูเดย์

ข้อมูลของแต่ละประเทศในAEC
รูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนามและความ ยั่งยืน เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า การปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ของเวียดนามเกิดขึ้นเมื่อปี 2529 โดยใช้ชื่อเรียกว่า ดอย เหม่ย (Doi Moi) การปฏิรูปนี้ท าให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่าง งดงามในช่วง 26 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเศรษฐกิจเวียดนามได้เดินมาสู่หนทางแห่ง ความท้าทายใหม่ของการปฏิรูป ซึ่งจะเป็นตัวก าหนดชะตากรรมของการพัฒนาเศรษฐกิจ เวียดนามในอนาคต
การปฏิรูปเศรษฐกิจ ดอย เหม่ย ถือเป็น “หลักไมล์” ส าคัญในการเปลี่ยนเวียดนามจากระบบ เศรษฐกิจที่วางแผนโดยส่วนกลาง ไปสู่การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดมากขึ้น ลด บทบาทภาครัฐ เพิ่มบทบาทภาคเอกชน และมุ่งสู่แนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalization)
แม้ตลอดระยะเวลาแห่งการปฏิรูปนี้ได้ท าให้ภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามดีขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏ มาก่อน อาทิเช่น เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 7% ต่อปี เปลี่ยนจากเป็น ประเทศยากจนมาก กลายเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง และมีการเปิดกว้างทางการค้าการ และการลงทุนกับต่างประเทศมากขึ้น ทั้งยังเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี 2538 และสมาชิก องค์กรการค้าโลก (WTO) ในปี 2550 ตามล าดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง การปฏิรูปชักจะไม่สดใส ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจด้านมห ภาค (Macroeconomic Indicators) หลายตัวเริ่มสะท้อนความป่วยไข้ของเศรษฐกิจเวียดนาม อาทิเช่น เวียดนามขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องเกือบตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา และเมื่อ 4 ปีที่ผ่าน (2551-2554) มาเวียดนามประสบสภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในเอเชีย คือสูงถึง 16 เปอร์เซ็นต์
ขณะเดียวกัน ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเวียดนามต้องปรับลดค่าเงินหลายครั้งเพื่อหนุนการส่งออก เงินทุนเริ่มขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจเวียดนามและโยกเงินออกไปลงทุนที่อื่น เป็นสาเหตุ ส าคัญที่ท าให้ทุนส ารองระหว่างประเทศลดลงจากประมาณ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2550 เหลือเพียงประมาณ 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ เป็น สถานการณ์ที่ตรงข้ามกับแนวโน้มของประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเชีย ซ้ าร้ายไปกว่านั้น การจัดอันดับความสะดวกในการเข้าไปด าเนินธุรกิจของแต่ละประเทศโดย ธนาคารโลก ซึ่งวัดจากตัวชี้วัดด้านการประกอบธุรกิจ 10 ตัว เช่น การหาสินเชื่อในการลงทุน ระบบการช าระภาษี การคุ้มครองนักลงทุน พบว่า เวียดนามอยู่อันดับที่ต่ ามาก คืออันดับที่ 98 จากจ านวน 183 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 17 และสิงคโปร์ เป็นอันดับที่ 1 มากไปกว่านั้น เวียดนามก าลังประสบกับปัญหาพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งยังมี ต้นทุนค่าขนส่งที่สูง อันเนื่องมาจากการขาดระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ อย่างเช่น ฮานอย และ โฮจิมินห์ ปรับตัวขึ้นมาก เกินกว่า อ านาจซื้อของคนส่วนใหญ่จะไล่ตามทัน เกิดการขยายตัวของความไม่เท่าเทียมระหว่างเมืองกับ ชนบท รวมถึงปัญหาสังคมต่างๆ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้แต่รายงานของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของเวียดนามเอง เช่น รายงานความสามารถทางการ แข่งขันปี 2553 รายงานการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามปี 2553 และ ปี 2554 ก็ยอมรับว่า การ เติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม เป็นการเติบโตแบบไม่มีคุณภาพและไม่ยั่งยืน มีการก่อ มลภาวะสูงจากกระบวนการผลิต ขณะเดียวกัน ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value Addition) ให้กับสินค้าที่ส่งออก อีกทั้งผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้ม ที่ลดลงต่อเนื่อง สรุปคือ เวียดนามก าลังตกอยู่ใน “กับดัก” ของการพัฒนา คือ ยิ่งพยายามพัฒนา ยิ่งสร้างปัญหา ในการพัฒนา ดังนั้น ความจ าเป็นเร่งด่วนของเวียดนามตอนนี้คือ ต้องท าการปฏิรูปโครงสร้าง เศรษฐกิจขนานใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลและคนเวียดนามก็ทราบดี สังเกตได้จากการประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม 2554-2564 โดยตั้งเป้าหมายส าคัญไว้คือ ต้องสร้างเสถียรภาพทาง เศรษฐกิจ ก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานระดับโลก (World Class Infrastructure) ผลิต แรงงานที่มีฝีมือ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันและองค์กรต่างๆของ “ตลาด” (Strengthen Market-based Institutions) เป้าหมายเหล่านี้ถือว่าเป็นการ “ปลดล็อค” ให้เวียดนามสามารถพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้อย่างมี คุณภาพ อย่างไรก็ตาม จะท าได้มากน้อยแค่ไหน ท าโดยวิธีใด และใช้เวลานานเท่าไหร่ กว่าเวียดนามจะ หลุดออกจากปัญหาโครงสร้างนี้ ยังเป็นความท้าทายของเวียดนาม ผมเชื่อว่า ถ้าเวียดนามสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปได้อย่างดี จะสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้า ไปมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงหนุนให้เวียดนามสามารถปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม และยกระดับสู่ เศรษฐกิจสมัยใหม่ (Modern Economy) ซึ่งแน่นอนว่า ศักยภาพของเวียดนามจะเพิ่มมหาศาล โอกาสที่เศรษฐกิจเวียดนามซึ่งปัจจุบันมีขนาดประมาณ 125,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เล็กกว่า ขนาดเศรษฐกิจไทยประมาณ 3 เท่า จะสามารถไล่ทันเศรษฐกิจไทยในเวลาไม่ถึง 10 ปี ในทางกลับกัน ถ้าเวียดนามไม่สามารถออกจากวังวนของปัญหานี้ได้ โอกาสที่เวียดนามจะเดิน ไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง และวิกฤตสังคม ก็มีความเป็นไปได้สูง แต่ไม่ว่าเวียดนามจะปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ส าเร็จงดงาม หรือล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ย่อมมี นัยต่ออาเซียนและประเทศไทยโดยไม่ต้องสงสัย การติดตามพัฒนาการเศรษฐกิจเวียดนาม หลังจากนี้อย่างใกล้ชิด จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้ ที่มา : วันวลิต ธารไทรทอง สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) การปรับตัวกลยุทธ์เมื่อเป็นAEC ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนเอกชนในการสู้ศึก AEC นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกล่าวในหัวข้อ “ASEAN as and Engine of Economic Growth” ว่า ความท้าทายของธุรกิจไทย คือ การร่วมมือกันในหลายเรื่องเพื่อรักษา ความน่าสนใจและการดึงดูดให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างประเทศเหมือนที่เคยเป็นมา เช่น การเปิดตลาดทางการค้าระหว่างกัน การลงทุนข้ามประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินลงทุน ทั้งนี้ ปัจจุบันการลงทุนทางตรง (FDI) กลุ่มอาเซียนมีทั้งหมด 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐแต่เงิน ลงทุนส่วนใหญ่ได้เข้าไปลงทุนในประเทศสิงคโปร์เป็นอันดับแรกและมาเลเซียเป็นอันดับสอง ส่วนของไทยเป็นอันดับสาม และ 70% ของเงินลงทุนทางตรงเริ่มเปลี่ยนไปสู่ในธุรกิจกลุ่ม บริการ ซึ่งต่างจากเดิมที่เน้นการลงทุนทางด้านภาคการผลิต เช่น รถยนต์ ซึ่งนั่นหมายความว่า คนอาเซียนต้องการการบริการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะมีก าลังซื้อที่มากขึ้น รวมถึงต้องการ ระบบขนส่ง การศึกษาหรือสุขภาพที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี มีความเป็นห่วงจากการรวมกลุ่มอาเซียนคือ ความพร้อมของภาคเอกชนไทยที่ก าลัง ก้าวสู่การแข่งขันบนเวทีโลกเพื่อรับโอกาสและศักยภาพที่กลุ่มอาเซียนมีอยู่ เพราะประเทศไทย มีความคุ้นเคยและพอใจกับค าว่าแค่นี้ แต่ในเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่สามารถให้ธุรกิจ ไปโตในต่างประเทศได้ อย่างที่สิงคโปร์และญี่ปุ่นเป็น และมาเลเซียก าลังเริ่มเข้าสู่การ เปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เห็นได้จากการลงทุนของกลุ่มซีไอเอ็มบี จากมาเลเซียที่เข้ามาลงทุนใน ภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น สิ่งที่สามารถจะทาให้ได้ก้าวไปอยู่ในทิศทางการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือ พวกเราต้องฝ่าการ เติบโตแบบโมเดลจากคนรุ่นก่อนที่สร้างไว้ เพื่อขออนุญาตให้ขยายไปธุรกิจในต่างประเทศได้ โดยสิ่งหนึ่งคือการที่รัฐควรเข้ามาสนับสนุนภาคเอกชนอย่างจริงจัง เช่น เอกชนควรได้รับการ ยกเว้นภาษีในเงินที่น าไปสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพราะปัจจุบันไทยมีเงินสาหรับงาน ด้านวิจัยและพัฒนาเพียง 0.24% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ขณะที่ เกาหลีมีมากถึง 2.8-2.9% จีนมีเกือบ 2% และญี่ปุ่นอยู่ที่ 4% ซึ่งหมายถึงการมีงานดีไซน์ที่ ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีเทคโนโลยี เพราะการที่ไทยไม่พัฒนาจะทาให้ ไทยสู้ประเทศอื่นไม่ได้ เพราะมีวิธีการผลิตที่เหมือนกันแต่ประเทศอื่นมีต้นทุนที่ถูกกว่าเช่น แรงงานต้องไปที่จีนหรือพม่า ดังนั้น การที่จะให้บริษัทลงทุนในเรื่องของงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ รัฐต้องเข้ามาช่วย กระทรวงการคลังต้องช่วย บีโอไอต้องช่วยเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องปรับ เป็นโครงสร้างของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และต้องคุมสถานการณ์ให้ได้ อาเซียนก าลังมา เหมือนสึนามิ เรามีความรู้สึกยังไง ต้องรอด คนไทยเก่งพอ ผมเชื่อแบบนั้น หลายประเทศอยู่ หลังเรา เราไปก่อนเขาหลายเรื่อง การรวมตัวกันของอาเซียนจะไม่เกิดปัญหาเหมือนยูโรโซน เพราะเราไม่มีแนวคิดที่จะใช้เงินสกุล เดียวกัน อาจจะมีผลกระทบบ้าง หากเศรษฐกิจในบางประเทศมีปัญหา เหมือนที่เคยเกิดขึ้น ในช่วงปี 2540 ที่ค่าเงินไทยมีปัญหาและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคต่อ แต่วิกฤตยูโรโซนครั้งนี้ไม่รุนแรงและเชื่อว่าแต่ละประเทศสามารถประคับประคองได้ ส่วนไทยจะ ได้รับผลกระทบโดยตรงคือเรื่องที่จะมีนักเที่ยวมาไทยน้อยลง ส่งออกได้น้อยลงและกลุ่มยุโรป จะเข้ามาลงทุนในไทยน้อยลง ประทีป ตั้งมติธรรม ในฐานะอุปนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวในงานสัมมนา การ ส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศของภาคเอกชนไทย ว่า ปัจจุบันจะเห็นบริษัทต่างชาติเข้ามา ลงทุนในประเทศไทยจ านวนมากแต่พบว่าจ านวนบริษัทไทยไปลงทุนต่างประเทศยังไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ อุปสรรคส าคัญน่าจะมาจากข้อจ ากัดหลายๆด้าน คือ 1. ข้อจ ากัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 2.กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นอุปสรรค และ 3.ความเข้าใจกฎหมาย ประเพณีท้องถิ่นระหว่างกันยังมีไม่มาก ปัจจุบันสานักงานคณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการแก้ข้อจ ากัดรวมถึงกฎหมายที่เป็นอุปสรรค เพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการไปลงทุนยังต่างประเทศทั้งทางตรง และลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ของไทย ทั้งนี้ เชื่อว่าภาคเอกชนของไทยมีความเข้มแข็งทางการเงินในระดับสูง ทาให้มีความพร้อมใน การลงทุน โดยในแง่ของต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ส่วนใหญ่ในขณะนี้ จะอยู่ที่ระดับประมาณ MLR-2% ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตต้มยากุ้งอยู่ที่ระดับ เฉลี่ย 13% ถือว่ามีความพร้อมในด้านการลงทุนได้อีกมาก นอกจากนี้กรณีภาครัฐจะลดภาษีนิติ บุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้ และปีหน้าเหลือ 20% จะทาให้ภาคเอกชนของไทยมี เงินทุนเหลือในการพิจารณาไปลงทุนยังต่างประเทศ
ที่มา : พนิตศรณ์ หวังจงชัยชนะ โพสต์ทูเดย์

บทความและบทวิเคราะห์AEC
การลงทุนของจีน, ญี่ปุ่นและไทยใน CLMV ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (1/2) การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community-AEC) ในปี 2558 นอกจากชาติในอาเซียนจะได้ประโยชน์จากการลงทุนและค้าขายระหว่างกันแล้ว ประเทศ “คู่ เจรจา” โดยเฉพาะ “จีน” และ “ญี่ปุ่น” มองการณ์ไกลถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับก่อนกระแส AEC และก่อนที่เมียนมาร์จะเปิดประเทศ ด้วยซ้ า โดยทั้งสองยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียได้เข้ามาปักธงอย่างจริงๆ จังๆ ใน 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่ม CLMV มาเกือบ 10 ปีแล้ว ต่างกับประเทศไทยแม้จะมี พรมแดนใกล้ชิดติดกันแต่ในปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment- FDI) กลับมีอันดับที่ไม่น่าพอใจนัก ท าท่าจะถูกเบียดแซงตกขอบ แม้ญี่ปุ่นจะประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่แพ้ชาติตะวันตก แต่กลับมีการลงทุนนอกประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียนเป็นจ านวนมาก (ปัจจุบันเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับ 1 ในไทย) โดย ญี่ปุ่นจะใช้แผนเดิมๆ แต่ได้ผลในการรุกเข้ามาในอาเซียนด้วยการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานให้กับประเทศนั้นๆ เช่น การสร้างถนนหนทางในอาเซียน โดยหน่วยงานที่มีบทบาท ส าคัญ คือ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB ขณะที่จีน นโยบายของรัฐบาลกลางมีเป้าหมายชัดที่จะกระจายความเจริญไปยังภาคตะวันตก ของประเทศมากขึ้น โดยต้องการจะยกระดับเมือง “คุนหมิง” ให้เป็นศูนย์ทางการค้าส าคัญแห่งที่ 4 นอกเหนือจากปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว เพื่อให้คุนหมิงเป็นเหมือน “เมืองหน้าด่าน” ใน การค้าขายกับอาเซียนโดยเฉพาะ ตามมาด้วยการก่อสร้างสนามบินขนาดใหญ่อันดับ 4 ของ ประเทศ โดยวางคุนหมิงให้เป็นศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ที่จะน าเงินสกุล “หยวน” ออกสู่ อาเซียน ถือเป็นการแสดงเจตจ านงของจีนว่า “เอาจริง” กับการรุกอาเซียนเต็มตัว มาถึง “ภาคธุรกิจไทย” แม้จะมีนักลงทุนบางส่วนเข้าไปลงทุนใน 3 ประเทศนี้มานาน ขณะที่ สินค้าไทยยังได้รับการตอบรับที่ดีโดยเฉพาะในแง่คุณภาพ แต่หากทุนจากจีนและญี่ปุ่นยังคง “เปิดเกมรุก” อย่างหนักหน่วงเช่นนี้ต่อไป เป็นไปได้ว่าไทยอาจจะไม่ได้มีอิทธิพลสูงสุดใน ภูมิภาคนี้อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ส านักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งต่างให้ความเห็นตรงกันว่า กลุ่มประเทศเพื่อน บ้านจะเป็นแรงขับเคลื่อนส าคัญทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคตหลังเปิดAECเนื่องจาก มาตรการภาษีจะถูกยกเลิกไป หากทุนไทยยังไม่ “กล้า” รุกมากกว่านี้ อาจพลาดโอกาสส าคัญ ไปทั้งๆ ที่มีพรมแดนติดกัน ดร.ปิติ ศรีแสงงาม อาจารย์ประจ าสาขาเศรษฐศาสตร์และการเงินระหว่างประเทศ คณะ เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ญี่ปุ่นยังคงมีอิทธิพลในภูมิภาคนี้แม้จะเผชิญ กับปัญหาเศรษฐกิจ โดยให้ความช่วยเหลือด้านระบบขนส่งกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน “ญี่ปุ่นต้องการเข้ามามีบทบาทส าคัญในโครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ าลึกทวาย และ จะเป็นนักลงทุนหลักที่เข้ามาลงทุนในโครงการนี้ ญี่ปุ่นจึงเป็นสนับสนุนหลักในการสร้างถนนจาก ทวายมายังชายแดนบ้านพุน้ าร้อนจังหวัดกาญจนบุรีของไทย และสร้างถนนซูเปอร์ไฮเวย์ต่อไป ยังท่าเรือแหลมฉบัง จะช่วยย่นระยะเวลาการขนส่งสินค้าจากมหาสมุทรอินเดียไปมหาสมุทร แปซิฟิกไปได้ถึง 3 วัน ขณะเดียวกัน ถนนในเมียนมาร์ก็ได้จีนเป็นผู้สนับสนุนหลัก” สองประเทศนี้มีเจตนาในการเข้ามาลงทุนในเมียนมาร์ชัดเจนมาก “ดร.ปิติ” ฟันธง ด้าน ทรงฤทธิ์ โพนเงิน ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มประเทศอินโดจีน ให้ข้อมูลว่า กัมพูชามีแผนที่จะเปิด เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) ให้ได้ 21 แห่งภายในปี 2558 โดยเขต เศรษฐกิจพิเศษที่เปิดไปแล้ว อาทิเช่น ที่พนมเปญ ปอยเปต บาเวท เกาะกง สีหนุวิลล์ กัมปง โสม ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากจีนและมาเลเซีย โดยเฉพาะที่กัมปงโสมถือเป็นเมืองท่าเรือ ส าคัญ ส่วนที่สีหนุวิลล์มีการก่อสร้างกาสิโน “ปีที่แล้วจีดีพีของกัมพูชาเติบโต 7% ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนของจีนซึ่งเข้ามาขยายอิทธิพล ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน” เขาระบุว่า สิ่งที่ต้องจับตา คือ หากคดีเขาพระวิหารที่ศาลโลกก าลังจะตัดสินในเร็วๆ นี้ หากค า พิพากษาออกมาแล้วท าให้บรรยากาศการเมืองระหว่างไทยกับกัมพูชาดีขึ้น รัฐบาลฮุนเซนน่าจะ เริ่มโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจค) “โรงกลั่นน้ ามัน” แห่งแรกของประเทศ โดยจะขุดน้ ามัน จากบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย (บริเวณเกาะกง) กับกัมพูชา โดยพื้นที่ดังกล่าวมี บริษัทเชฟรอน คอร์เปอเรชั่น จากสหรัฐ ได้รับสัมปทานส ารวจและผลิตปิโตรเลียม โดยคาดว่า บริษัทญี่ปุ่นจะได้สัมปทานก่อสร้างโรงกลั่น ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลกัมพูชาปีละกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วนประเทศลาว ก็ก าลังมีแผนที่จะพัฒนา 41 เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเสร็จไปแล้ว 3 แห่ง อาทิเช่น แห่งแรกเกิดขึ้นที่ สะหวันเขต (เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน) ชายแดนจังหวัดมุกดาหาร แห่งที่สอง คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็น แขวงหล่องน้ าทา ติดชายแดนจีน ซึ่งจีน เป็นผู้ลงทุน 100% เรียกว่า “บ่อเต็นแดนค า” มีการลงทุนสร้างสถานที่ท่องเที่ยวอย่างกาสิโน รวมถึง เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองค า เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว (ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย) ก็สร้างกาสิโนที่มีชื่อเสียงอย่าง “คิง โรมัน” และจะมีสนามบินนานาชาติภายใน 5 ปี ข้างหน้า “ทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในลาวอย่างเช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ยึดพื้นที่ภาคกลางของ ประเทศและกลุ่มน้ าตาลมิตรผล ส่วนจีนจะยึดการลงทุนภาคเหนือของลาว ส่วนภาคใต้จะเป็น การยึดหัวหาดของทุนเวียดนาม จีนก าลังมีอิทธิพลในลาวมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2540 ตอนนั้น ไทยมีปัญหาเศรษฐกิจ (วิกฤติต้มย ากุ้ง) เลยถอยไปเยอะ แม้คนเก่าจะไม่ออก แต่คนใหม่ก็ไม่ เข้าไปอีก” ที่ส าคัญ การลงทุนของจีนกับลาวเป็นโครงการที่ตกลงกันระหว่าง “รัฐต่อรัฐ” (G to G) โดย สร้างถนนหนทางให้เป็นพิเศษ รวมถึงสร้างโรงแรมซึ่งชนกับทุนไทยโดยตรง ที่ต้องจับตาคือจีน มีบทบาทมากในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ าโดยเฉพาะตอนบนของแม่น้ าโขง แม้ปัจจุบันเวียดนามยังครองสัดส่วนการลงทุนตรงในลาว ด้วยมูลค่าประมาณ 5,600 ล้าน ดอลลาร์ โดยเฉพาะตามแนวเขตชายแดน ส่วนไทยกับจีนมีมูลค่าลงทุนใกล้เคียงกันอยู่ระดับ 4,000 ล้านดอลลาร์กับ 3,200 ล้านดอลลาร์ แต่เชื่อว่าปีหน้าจีนจะแซงหน้าเวียดนามแน่นอน หากพิจารณาจากโครงการที่รอเซ็นเอ็มโอยู “น่าเสียดายที่ในช่วงหลายปีก่อนไทยมัวแต่แข่งกีฬาสี ท าให้พลาดโอกาสลงทุนประเทศเพื่อน บ้าน ตอนนี้บอกได้ว่าทุนไทยไม่แข็งแกร่งไปกว่าจีนและเวียดนาม เพราะรัฐบาลเรานิ่ง ส่วนสอง ประเทศนี้รัฐบาลเขาส่งเสริมมาก” ด้านมุมมองของนักธุรกิจ สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จ ากัด (DDC) ให้ความเห็นว่า อาเซียนยังคงต้องพึ่งพาการลงทุนจากญี่ปุ่นอยู่มากโดยเฉพาะ ประเทศที่เพิ่งเปิดอย่างเมียนมาร์ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา เมียนมาร์ถูกคว่ าบาตรจากชาติตะวันตก ท าให้สหรัฐไม่สามารถเข้ามาลงทุนได้ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังสนับสนุนโครงการลงทุนในกลุ่ม GMS (The Greater Mekong Subregion) คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และยูนนาน (จีน ตอนใต้) มานานแล้ว ประกอบกับ ภาคเอกชนญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งทางการเงินสูง เขายังเชื่อว่า จีนไม่น่าจะเข้ามาสร้างอิทธิพลในเมียนมาร์ได้มากกว่าญี่ปุ่นเพราะสหรัฐคงพยายามเต็มที่ในการ สกัดกั้นทุนจีนผ่านญี่ปุ่น เขา บอกว่า การที่รัฐบาลไทยได้เข้าไปพูดคุยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเรื่องการพัฒนาท่าเรือทวาย น่าจะ ท าให้เกิดความร่วมมือระหว่าง 3 ชาติคือไทย ญี่ปุ่นและเมียนมาร์ ในการจัดตั้งองค์กรกลาง บริหารโครงการทวาย แหล่งเงินกู้ โดยเขามองว่าญี่ปุ่นยังคงมีบทบาทมากที่สุดในเมียนมาร์ “ญี่ปุ่นมองการเชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ท าให้สนใจที่จะ เข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างมากโดยเฉพาะโครงการทวาย เป็นไปได้ว่าโครงการนี้น่าจะมีนัก ธุรกิจจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนมากที่สุด ที่แน่ๆ คือ โรงถลุงเหล็กต้นน้ า” สมเจตน์เชื่อเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม เขามองว่าไทยยังคงมีบทบาทในภูมิภาคนี้อยู่ไม่น้อย เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน มองภาพลักษณ์สินค้าจากไทยในแง่บวก ขณะที่ในด้านอื่น เช่น การบริหารจัดการจะดูต้นแบบ จากสิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นหลัก บุญเกียรติ ชีวตระกูลกิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ ากัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟได้เข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมาร์และลาวมาเป็นเวลากว่า 10 ปีในธุรกิจการเกษตร ในช่วงแรกของการเข้าไปลงทุนยอมรับว่าต้องสร้างผลประโยชน์ ให้กับประเทศเขาพอสมควรในการช่วยพัฒนาระบบเกษตร ท าให้ตอนนี้ไก่ 80% ที่บริโภคใน เมียนมาร์มาจากซีพี ส าหรับการรุกเข้ามาของทุนจีนและญี่ปุ่นในภูมิภาคอาเซียนนั้น เขายอมรับว่า คงล าบากที่จะ แข่งขันในเรื่องของต้นทุนเนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่กว่า แต่กลยุทธ์ที่ซีพีเอฟเลือกใช้คือการโฟกัส ในธุรกิจอาหารที่มีมาร์จินสูง ไม่ลงไปแข่งในตลาดที่สินค้าราคาต่ า เพราะจีนได้เปรียบเพราะมี ฐานการผลิตที่ใหญ่กว่า “ผมยังยืนยันว่าภาพลักษณ์สินค้าไทยยังดูดีในภูมิภาคนี้ขอให้ใช้จุดนี้ให้เป็นประโยชน์รับมือการ เข้ามาของกลุ่มธุรกิจจากจีนหรือญี่ปุ่น”
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

บทความและบทวิเคราะห์AEC การลงทุนของจีน, ญี่ปุ่นและไทยใน CLMV ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (2/2) จับตา “เอเชีย เวิลด์” ทุนสิงคโปร์สยายปีกในเมียนมาร์ นอกจากกลุ่มทุนจากจีนและญี่ปุ่นแล้ว กลุ่มทุนจากประเทศอาเซียนด้วยกันอย่างสิงคโปร์ มาเลเซียรวมถึงเวียดนาม ต่างพยายามเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ“กลุ่มทุนสิงคโปร์” ที่รุกเข้ามาขยายอิทธิพลในเมียนมาร์ชนิดที่ทุน ไทยต้องหันมามอง โดยสิงคโปร์เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการอัตราแลกเปลี่ยนให้กับเมียนมาร์ เริ่มจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ Thilawa Special Economic Zone ใกล้เมืองหลวงเก่า ย่างกุ้ง จ านวนพื้นที่รวม 3,170 เอเคอร์ แต่มีเขตการลงทุนพิเศษส าหรับสิงคโปร์โดยเฉพาะที่ เรียกว่า Singapore Myanmar Development (SINMARDEV) พื้นที่ 247 เอเคอร์ ที่เหลือเป็น เขตการลงทุนส าหรับประเทศอื่นและธุรกิจท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์มีอิทธิพลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจเมียนมาร์พอสมควร โดยกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ที่ก าลังมาแรงในเมียนมาร์ คือ บริษัท เอเชีย เวิลด์ จ ากัด มีผู้บริหาร สูงสุด คือ Steven Law ซึ่งมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลเมียนมาร์ รวมถึงเป็นตัวเชื่อมไปถึง รัฐบาลจีนอีกด้วยโดยเป็นคนพาประธานาธิบดีเมียนมาร์ พล.อ.เต็ง เส่ง ไปพบกับผู้น าสูงสุดของ จีน เอเชีย เวิลด์ ยังมีธุรกิจหลากหลาย ได้แก่ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม พลังงาน โลจิ สติกส์ สิ่งทอ น้ ามันปาล์ม ผู้ผลิตเบียร์ไทเกอร์ รวมถึงมีเครือข่ายธุรกิจในมาเลเซียและไทยด้วย ผลงานของเอเชีย เวิลด์ ในเมียนมาร์ คือ การเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างครึ่งหนึ่งในกรุงเนย์ปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของเมียนมาร์ สร้างสนามบินนานาชาติ ทางด่วนเชื่อมระหว่างรัฐฉานในเมียนมาร์ กับคุนหมิงของจีน สร้างเขื่อนตลอดแนวแม่น้ าอิรวดี นอกจากนี้ ยังร่วมทุนกับกลุ่มโรงแรมแชงกรี-ลาจากมาเลเซีย Robert Kuok ลงทุนธุรกิจโรงแรม นอกจากนี้ ยังได้สัมปทานน าเข้าและ จ าหน่ายน้ ามันในประเทศ รวมถึงส ารวจแหล่งพลังงานในเมียนมาร์ “กลุ่มทุนสิงคโปร์ได้รับเงินทุนหลักจากกองทุนเทมาเส็กและจีไอซี ขณะเดียวกัน 3 ธนาคาร ใหญ่ที่สุดของอาเซียนยังเป็นของสิงคโปร์ทั้งหมด จึงไม่อาจกาชื่อสิงคโปร์ออกจากกลุ่มผู้มี อิทธิพลทางเศรษฐกิจในอาเซียนได้โดยจะเป็นผู้เล่นที่อยู่เคียงคู่กับจีนและญี่ปุ่น” นักวิชาการ ท่านหนึ่งให้ความเห็น
————————————–
จากเพื่อนบ้าน ขอนับญาติ “แม่สาว CLMV” เกมรุกที่กลุ่มทุนไทยท ามาอย่างยาวนานในการเจาะตลาดในกลุ่ม CLMV ส่วนใหญ่จะออกมาใน รูปของการส่งสินค้าไปจ าหน่าย จนแบรนด์สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับเรื่องคุณภาพในสายตา ประเทศเหล่านั้น ทว่าในส่วนของการลงทุน ที่ผ่านมา เรียกว่ายังไม่ตูมตามเป็น “ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์” จนเมื่อนักลงทุนชาติต่างๆ อยากท าความรู้จักกับแม่สาว CLMV มากเข้าๆ เพราะรู้มาว่าเจ้าคุณ ทวดทิ้งมรดก (ทรัพยากร) ไว้ให้มากมาย ขณะที่สาวเจ้าก็อยากเปิดตัวเองสู่โลกกว้าง ทุนไทย จึงออกอาการ “รับไม่ได้” จากแค่เพื่อนบ้านจึงขอตีสนิทแบบนับญาติกับสาวเจ้า ทั้งๆ ที่ผ่านมา หลังคาเกยกันแท้ๆ ยังไม่คิดจีบเป็นแฟน ในระยะนี้ จึงเห็นความเคลื่อนไหวคึกคัก แย่งกับจีบสาวของ 2 กลุ่มทุนไทยยักษ์ใหญ่ อย่าง กลุ่มสหพัฒน์ เจ้าพ่อคอนซูเมอร์โปรดักท์เมืองไทย และกลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของ เบียร์ช้าง (บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ) เพื่อเปิดเกมรุกในประเทศที่เต็มไปด้วยดีมานด์ในอนาคต เหล่านี้ โดยผู้บริหาร สหพัฒน์ ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า อยู่ระหว่างลงทุนสร้างสวนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใน ย่างกรุง เมียนมาร์ ด้วยเงินลงทุนไม่ต่ ากว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการตั้งฐานการผลิตแห่ง ใหม่ของกลุ่ม เพื่อไปหาแหล่งผลิตที่มีต้นทุนที่ต่ ากว่า สวนอุตสาหกรรมที่ว่านี้จะประกอบด้วย โรงงานผลิตสินค้าคอนซูเมอร์ โปรดักท์ อาหาร เสื้อผ้า เครื่องส าอาง กว่า 100 โรงงาน มีขนาด การลงทุนใกล้เคียงกับฐานที่มั่นในไทย (สวนอุตสาหกรรมศรีราชา) นอกจากการผลิตจะรองรับดี มานด์ในประเทศแล้ว ผู้บริหารสหพัฒน์ยังมองไกลไปถึงการใช้เมียนมาร์เป็นฐานการผลิตป้อน ตลาดยุโรปในอนาคต ที่ผ่านมา ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ บริษัทในกลุ่มสหพัฒน์ได้เข้ามาปักธงตั้งโรงงานผลิตบะหมี่กึ่ง ส าเร็จรูป “มาม่า” ในเมียนมาร์ และมีแผนที่จะขยายก าลังการผลิตเพิ่มเติมจากนี้ ขณะที่ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ที่ผ่านมาได้เข้าไปท ารุกธุรกิจเกษตรท าคอนแทรคฟาร์มมิ่งใน ประเทศเพื่อนบ้าน ไม่นานนี้ เขาประกาศชัดที่จะปักธงลงทุน 10 ประเทศอาเซียน รับการเกิดขึ้น รับ AEC โดยเฉพาะการรุกตลาดเบียร์และนอนแอลกอฮอล์ใน CLMV อย่างเป็นล่ าเป็นสัน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เสี่ยเจริญลงทุนนั่งเครื่องบินไปเปิดโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใหญ่ที่สุดใน เวียดนาม มูลค่าลงทุนกว่า 1,500 ล้านบาท โดยฉลาดจับพันธมิตรร่วมทุนหนึ่งในนั้น คือ ไซ ง่อนเบียร์แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ แสดงถึงเจตจ านงชัดว่าต้องการจะบุกตลาดเบียร์ในเวียดนาม การใช้ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ หรือ BJC เข้าร่วมทุนครั้งนี้ยังมีความหมายถึงการบุกธุรกิจโลจิ สติกส์ หัวใจธุรกิจจัดจ าหน่ายในเวียดนาม ขณะที่ สิงห์ คอร์ปอเรชั่น ก็ประกาศผ่านสื่อจะขอบุกตลาดอินโดจีนในแบรนด์สิงห์และลีโอ ใน อินโดจีน 6 ประเทศ ได้แก่ ลาว พม่า เวียดนาม มาเลเซีย กัมพูชา และจีนตอนใต้ หลังจากเห็น ว่าตลาดเบียร์ 2 แบรนด์นี้มีอัตราเติบโตสูง โดยเฉพาะในพม่าและกัมพูชา โดยกว่า 50% ของ ยอดขายเป็นการส่งออก ที่ปริมาณ 35-40 ล้านลิตรต่อปี โดยในพม่าและกัมพูชา สิงห์มีแผนที่จะ ตั้งส านักงานของตัวเองแทนการจ าหน่ายผ่านตัวแทนจ าหน่าย นอกจากนี้ จะศึกษารูปแบบการ ลงทุนที่เหมาะสม ต่อไป ไม่เพียงในเวียดนาม ล่าสุดเจริญน่าจะก าลังหวนคืนตลาดเบียร์ในลาวอย่างจริงจังในเร็ววัน หลัง เคยร่วมทุนในบริษัทเบียร์ลาวเมื่อปี 2002 กับคาร์ลสเบอร์ก จากเดนมาร์ก แต่ถือหุ้นได้เพียง 3 ปี กลุ่มเจริญก็ถอนตัวออกมา การรุกครั้งใหม่เปิดตัวด้วยสปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง โดยใช้การเป็น สปอนเซอร์สโมสรระดับโลก บาร์เซโลนา และเรอัล มาดริด ของสเปน เป็นแม่เหล็กในการสร้าง กิจกรรมการตลาดเชื่อมโยงกับสองทีมฟุตบอลดัง ปูพรมสร้างการรับรู้แบรนด์ ก่อนที่จะรุกก้าว ใหญ่ๆ ต่อไปในดินแดนจ าปาลาว นอกจากนี้ “กลุ่มน้ าตาลมิตรผล” ธุรกิจกงสีของตระกูล ว่องกุศลกิจ ยังเป็นกลุ่มที่ประกาศรุก ธุรกิจในอาเซียน โดยที่ผ่านมา ได้ลงทุนโรงงานน้ าตาลในลาว (โรงงานน้ าตาลมิตรลาว) โดยจะ ใช้โมเดลนี้ต่อยอดไปสู่การลงทุนในเมียนมาร์ และกัมพูชา โดยอยู่ระหว่างศึกษาลู่ทางการลงทุน ในเมียนมาร์ ขณะที่ในกัมพูชา อยู่ระหว่างขอสัมปทานที่ดินเพาะปลูกอย่างถาวร ขณะที่ กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) ก่อนหน้านี้ ได้เข้าตั้งโรงปูนซิเมนต์ในกัมพูชา (กัมปอต ซีเมนต์) ส่วนในเมียนมาร์เอสซีจี ได้เข้าไปศึกษาตลาดมานานกว่า 3 ปี แต่ยังไม่ให้น้ าหนักการ ลงทุนมากนัก เนื่องจากเห็นว่ายังมีความเสี่ยงเพราะเพิ่งเปิดประเทศ โดยการลงทุนในอาเซียน ส่วนใหญ่ของเอสซีจี จะโฟกัสไปที่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ก่อนหน้านี้ กลุ่มอิตาเลียนไทย ยังเข้าไปรับงานสร้างสนามบินมัณฑะเลย์ สนามบินใหญ่ที่สุด ในเมียนมาร์ และเป็นผู้ได้รับสัมปทานโครงการท่าเรือน้ าลึกและนิคมฯทวาย เป็นอาทิ


23/FEBRUARY/2014

Translate






Author Name

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.