2014


JPEG (Joint Photographic Experts Group )คือรูปแบบการบีบอัดแฟ้มภาพแบบสูญเสีย โดยยังให้เสียความละเอียดน้อยที่สุด รูปแบบแฟ้มสำหรับวิธีการนี้ได้แก่ .jpeg, .jpg, .jpe, .jfif, .jfi (จะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้) รูปแบบแฟ้ม JPEG นี้ เป็นรูปแบบแฟ้มที่ใช้กันในการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนรูปภาพบนเว็บไซต์มากที่สุด โดยเฉพาะภาพถ่าย เนื่องจากสามารถเก็บความละเอียดสูงได้โดยใช้ขนาดไฟล์ที่เล็ก สามารถเก็บภาพสีได้หลากหลายระดับความแม่นยำของสี(Bit Depth) ความสามารถในการย่อขนาดไฟล์ของแฟ้ม JPEG นั้นเกิดจากการใช้เทคนิคการย่อขนาดภาพแบบการบีบอัดคงข้อมูลหลัก (Lossy Compression) หรือการบีบอัดแบบมีความสูญเสียทำให้ไม่นิยมใช้กับภาพที่เป็นลายเส้นหรือไอคอนต่าง ๆ เนื่องจากจะไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าการเก็บในรูปแบบอื่น อย่าง PNG หรือ GIF การบีบอัดของ JPEG นั้นจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า DCT (Discrete Cosine Transform) ซึ่งเป็นการแปลงค่าความสว่างของภาพให้อยู่ในรูปแบบเชิงความถี่ (Frequency Domain) ทำให้สามารถเลือกแทนค่าของสัมประสิทธิ์หรือในที่นี้คือแอมพลิจูดของค่าความ ถี่ต่างๆ ได้โดยอาศัยตัวแปรที่มีนัยสำคัญที่ต่างกันได้ การที่สามารถลดนัยสำคัญของค่าตัวเลขลงไปได้ทำให้สามารถลดขนาดของหน่วยความจำ หรือขนาดไฟล์ที่ใช้เก็บตามไปได้ MIME Type: image/jpeg พัฒนาโดย: Joint Photographic Experts Group JPEG ถูกพัฒนาและ เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ปี 1992


04/MARCH/2014

  


 VCD (เรียกว่า video CD, video compact disc หรือ disc) เป็นรูปแบบคอมแพ็คดิสก์มีพื้นฐานบน CD-ROM XA ที่ได้รับการออกแบบเจาะจงให้เก็บข้อมูลวิดีโอ MPEG-1 และรวมความสามารถปฏิสัมพันธ์ VCD มีความละเอียดเหมือนกับ


           1.คำสั่งในดอสและโอเอส/ทู ที่ใช้เปลี่ยนไดเรกทอรีขณะนั้น ไปยังที่ไดเรกทอรีอื่นเนื่องจากเป็นตัวย่อของคำสั่ง และใช้เปลี่ยนไดเรกทอรีได้ง่ายกว่าใช้ CHDIR, การป้อนคำสั่ง CD\ จะย้ายไปยังไดเรกทอรีราก, ป้อน CD… เปลี่ยนไปยังไดเรกทอรีที่อยู่เหนือขึ้นไป, ป้อน CD จะแสดงชื่อไดเรกทอรีที่คุณอยู่ขณะนั้น
           โครงสร้างของไดเรกทอรีทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นต้นไม้ เริ่มจากไดเรกทอรีเดียวคือไดเรกทอรีราก คุณจะจัดที่อยู่ของแฟ้มบนฮาร์ดดิสก์ได้ โดยสร้างไดเรกทอรีใหม่สำหรับโปรแกรมที่สำคัญๆ และแฟ้มที่เกี่ยวข้องจากนั้นคุณก็ย้ายจากไดเรกทอรีหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ด้วยการใช้คำสั่งนี้ เพื่อใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่คุณสร้างไว้
           2.ย่อมาจาก Compact Disc, คอมแพคดิสก์ เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลดิจิตอลหรือเพลง

04/MARCH/2014



 DVD เป็นเทคโนโลยี optical disc ด้วยความจุ 4.7 กิกะไบต์บนด้านเดียว ดิสก์ 1 ชั้น ซึ่งเพียงพอสำหรับภาพยนต์ 133 นาที DVD สามารถเป็น 1 ด้านหรือ 2 ด้าน และสามารถมี 2 ชั้นบนแต่ละด้าน หรือ 2 ด้าน DVD 2 ชั้น จะสามารถบรรจุ 17 กิกะไบต์ของวิดีโอหรือออดิโอ หรือสารสนเทศอื่น เปรียบเทียบกับ 650 เมกกะไบต์ (.65 กิกะไบต์) ของการจัดเก็บสำหรับดิสก์ CD-ROM (เปรียบเทียบกับดิสก์ CD-ROM ที่มีขนาดเดียวกันสามารถเก็บข้อมูลได้ 600 megabyte ดังนั้น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 28 เท่า)

          DVD ใช้ไฟล์ MPEG-2 และมาตรฐานบีบอัด ภาพ MPEG-2 มีความละเอียด 4 เท่าของ MPEG-1 และสามารถส่ง 60 ฟิลด์ไขว้ต่อวินาที โดย 2 ฟิลด์สร้างภาพ 1 เฟรม (MPEG-1 สามารถส่ง 30 ฟิลด์ไขว้ต่อวินาที) คุณภาพออดิโอบน DVD เปรียบเทียบได้กับคอมแพ็คดิสก์ออดิโอปัจจุบัน

ฟอร์แม็ต
           • DVD-Video เป็นฟอร์แม็ตที่ออกแบบสำหรับภาพยนต์เรื่องยาวเต็มที่ทำงานกับโทรทัศน์ 
           • DVD-ROM เป็นประเภทของไดรฟและดิสก์สำหรับใช้บนคอมพิวเตอร์ ตามปกติ ไดร์ฟ DVD จะเล่นได้ทั้งดิสก์ CD-ROM และดิสก์ DVD-Video 
           • DVD-RAM เป็นเวอร์ชันเขียนได้ 
           • DVD-Audio เป็นฟอร์แม็ตแทนที่ซีดี 
           • มีฟอร์แม็ต DVD บันทึกได้จำนวนหนึ่ง รวมถึง DVD-R สำหรับทั่วไป, DVD-R สำหรับผู้เขียน, DVD-RAM, DVD-RW, DVD+RW และ DVD+R.

         DVD เริ่มแรกย่อมาจาก digital video disc และต่อมาสำหรับ digital versatile disc การย่อทางการของ DVD Forum เป็นฟอร์แม็ตที่จะอ้างอิงเป็น DVD
04/MARCH/2014

ปัญหาใหญ่ของผู้บริหารระดับกลางในปัจจุบัน คือ ไม่สามารถ ทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ที่วางไว้ได้เพราะทีมงานขาดประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่สงสัยว่าจะทำอย่างไร จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  จากประสบการณ์ การบริหารงานพบว่า ผู้บริหารระดับกลางส่วนใหญ่ ขาดการคิดเชิงกลยุทธ์ และขาดทักษะเรื่องบริหารคน ถึงแม้ว่าจะมีความรู้ ความสามารถ ในงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ก็ตาม เพราะโดย ตำแหน่งแล้วผู้บริหารไม่สามารถทำงานได้ ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว อีกต่อไป ต้องบริหารงานผ่านทีมงานเป็นหลัก ดังนั้นหัวข้อสำคัญจึงอยู่ที่ 2 เรื่องหลัก คือ
  1. การคิดเชิงกลยุทธ์ 
  2. ภาวะความเป็นผู้นำ
การพัฒนาผู้บริหารระดับกลางจึงต้องให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ด้าน คือ
  1. ความรู้ความสามารถในงาน 
  2. การคิดเชิงกลยุทธ์
  3. การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อให้ผู้บริหารระดับกลางพัฒนาตัวเอง เป็นผู้บริหารระดับกลางที่มีประสิทธิภาพ
      ผู้บริหารระดับกลางที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้รูู้จักตัวเอง, รู้จักพนักงาน, รู้จักองค์กรและมีทัศนคติเชิงบวก ทำให้การบริหารงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้  อย่างสัมฤทธิผลสำคัญโดยง่าย เมื่อผู้บริหารระดับกลาง พัฒนาทีมงานโดย จัดการทำเอง จัดการพนักงาน จัดองค์การให้เหมาะสมและบริหารอย่างสร้างสรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นผู้บริหารระดับกลางที่ทรงคุณค่า พร้อมที่จะก้าวต่อไปเป็นผู้บริหารระดับสูงได้

ผู้บริหารระดับกลางที่ทรงคุณค่าจะประกอบไปด้วย ความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ดังนี้ี้
  1. มีความสามารถด้านการบริหารจัดการอย่างดี
  2. มีความเป็น ผู้นำ 360 องศา
  3. สามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. มุ่งมั่นให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
  လိူၼ်တႆး       
04/February/2014


การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
การออกจากตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน



มาตรา ๑๒ ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันรับเลือก
(๓) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกและเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน
(๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๕) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๖) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(๗) ไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือของรัฐวิสาหกิจ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือลูกจ้างของเอกชนซึ่งมีหน้าที่ทำงานประจำ
(๘) ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทางศีลธรรม
(๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันพ้นโทษ
(๑๑) ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ในฐานความผิดเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง และกฎหมายว่าด้วยการพนัน ในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
(๑๒) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๔ (๖) หรือ (๗) และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก
(๑๓) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออกหรือไล่ออก
(๑๔) มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ เว้นแต่ในท้องที่ใดไม่อาจเลือกผู้มีพื้นความรู้ดังกล่าวได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาจประกาศในราชกิจจานุเบกษายกเว้นหรือผ่อนผันได้



04/February/2014



วันนี้ขอพูดคุยในส่วนของผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารได้ตระหนักถึงการเป็นผู้บริหารที่ดีควรเป็นอย่างไร และทำให้ผู้บริหารทุกท่านประเมินการทำงานของลูกน้องด้วยความยุติธรรมอย่างแท้จริง เรามาดูกันนะครับว่าคุณสมบัติของการเป็นผู้บริหารที่ดีมีอะไรบ้าง
1.มีภาวะผู้นำ 


ผู้บริหารต้องมีศิลปะในการครองใจคน สามารถจูงใจคนให้เต็มใจร่วมมือหรือให้การสนับสนุน เป็นนักประสานความเข้าใจของทุกฝ่าย สามารถบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคลและประสานประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้


2.มีเมตตาธรรม 

ไม่มีอคติ คือลำเอียงด้วยความชังหรือรัก ไม่เอาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การตำหนิหรือลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาต้องลงโทษด้วยเมตตา ไม่ใช่ด้วยอารมณ์โกรธแค้นส่วนตัว 

นักบริหารที่เป็นผู้นำขององค์กรยังต้องรู้จักสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ต้องรู้จักแสดงน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานและลูกน้องในโอกาสอันสมควร และสิ่งสมควรที่จะต้องมีอย่างยิ่งคือ 

ความรู้จักอดกลั้นและอดทนทั้งทางอารมณ์และจิตใจ สุดท้ายคือการรู้จักให้อภัย ไม่อาฆาตแค้น เรื่องที่แล้วก็ให้แล้วกันไป ถ้าผู้บริหารมีเมตตาธรรมรู้จักให้อภัย จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน 


3.ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง 

ในการทำงานถ้ามีหลักการที่ชัดเจน การทำงานก็จะง่าย สะดวก เร็วขึ้น มีความเป็นธรรม และตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำ 


4.เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ 

นักบริหารที่ดีต้องคิดสร้างสรรค์ให้บังเกิดสิ่งที่เป็นไปได้ และต้องมีความสามารถในการจัดระบบความคิดให้เชื่อมโยง มองถึงองค์กรรวมของปัญญาทั้งหมด นอกจากการคิดอย่างมีระบบแล้ว ยังต้องรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ชัดเจน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


5.มีการสร้างวิสัยทัศน์ 

นักบริหารที่มีความสามารถต้องมองเห็นเหตุการณ์ในอนาคตออกและคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ ด้วยสายตาที่กว้างไกล จากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี ด้วยการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มองเห็นภาพรวมทั้งระบบ ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ 


6.มีทักษะหลายด้าน 

นอกจากจะเป็นนักคิด นักวิเคราะห์แล้ว ยังต้องมีทักษะในเรื่องต่อไปนี้ ทักษะในการตัดสินใจ ต้องมีการจัดการที่ดี มีทีมงานที่แข็งแกร่ง มีข้อมูลที่ถูกต้องมากพอและทันสมัย ทักษะในการแก้ไขปัญหา ทักษะในการสร้างทีมงาน 


7.รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย 

เพราะการมีข้อมูลที่ดีช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง แม่นยำขึ้น จึงต้องรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล กระตือรือร้นอยู่เสมอ เป็นนักอ่าน ขยันใฝ่หาความรู้ ช่างสังเกต รู้จักฟัง 


8.รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ทันสมัย 

รู้ว่าขณะนี้ตนเป็นใคร มีบทบาทและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร เพื่อที่จะสวมบทบาทและแสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่เข้าไปก้าวก่ายงานในหน้าที่รับผิดชอบของคนอื่น 


9.กล้าตัดสินใจ 

ในหลักวิชาการบริหารกล่าวกันว่า สิ่งที่ยากที่สุดของนักบริหารคือ การตัดสินใจ แม้จะมีข้อมูลครบถ้วนในมือแต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะขาดความมั่นใจ กลัวที่จะต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น องค์กรใดที่มีผู้บริหารแบบนี้องค์กรนั้นคงเจริญเติบโตได้ยาก มองไม่เห็นอนาคตด้านความเจริญก้าวหน้า 


10.มียุทธวิธีและเทคนิค 

กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงาน ส่วนเทคนิคจะช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ มิให้สิ้นเปลือง เทคนิคที่ดีไม่ควรมีความสลับซับซ้อนมากเกินไป สามารถเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้

04/FEBRUARY/2014


ปัจจุบันเราจะประสบปัญหา เรื่อง วิกฤติผู้นำกันอยู่ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศ, องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ เพราะดูเหมือนเราจะหาผู้นำที่เป็น “ของแท้” หรือ ผู้นำที่ “น่าเชื่อถือ” จริงๆ นั้นยากมาก การสร้างให้คนในองค์กรมีภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้องค์กรพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง (Change) ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากในขณะนี้

นิยาม “ผู้นำ” ในด้านต่างๆ มีมากมาย หลากหลายทฤษฎี ขึ้นอยู่กับว่าใครจะชอบแบบไหน และแต่ละคนนั้นก็มี Style ของความเป็นผู้นำที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจะบอกว่า ผู้นำแบบดีกว่ากันนั้น คงไม่สามารถบอกได้ และไม่สมควรที่จะนำมาพูดกันด้วย เพราะผู้นำแต่ละแบบก็มีข้อดี- ข้อเสียแตกต่างกัน รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ภาวะความเป็นผู้นำก็อาจแตกต่างันไปด้วย

สิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ ภาวะความเป็นผู้นำของตัวเราเอง มากกว่าว่า เราสามารถที่จะเป็นผู้นำได้ดีแค่ไหน มีความน่าเชื่อถือจากบุคคลอื่นๆ มากน้อยอย่างไร สามารถบอกได้หรือไม่ว่าเราเป็นผู้นำ “ของแท้” เพราะความเป็นผู้นำนั้นอยู่ภายในตัวเรา แล้วเราแสดงออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ ไม่ใช่ตำแหน่ง หรือสิ่งที่เราบอก ดังนั้นการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำในตัวเองให้แข็งแกร่ง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อเรามากที่สุด

ผมขอแนะนำแนวความคิดของคุณสมบัติความเป็นผู้นำที่เด่นๆ บางส่วนมาแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นมุมมองสำหรับการพัฒนาตัวเอง ของแต่ละคน ที่ชอบคุณสมบัติไหนเป็นพิเศษ ก็หยิบไปพัฒนาตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาบอกคุณสมบัติเหล่านี้ ผมใช้ประสบการณ์ของตัวเอง ในการอ่านหนังสือ, การบริหารงาน, การเป็นที่ปรึกษา, การเป็นโค้ช และสังเกตจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จทั่วๆไป มาเขียนเป็นแนวความคิดของผม ดังนี้ครับ

• การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
ผู้นำต้องมีความฝัน (วิสัยทัศน์) ที่ชัดเจน และยึดมั่นต่อความฝันของตัวเองอย่างแน่วแน่ เพื่อไม่ให้ผู้ตามไขว้เขว และวิสัยทัศน์ของเรานั้นหากยิ่งใหญ่ และชัดเจนเท่าใด ก็จะทำให้มีผู้ตามมากขึ้นเท่านั้น หากเราไม่มีความฝัน ก็ยากที่จะมีผู้ตาม เพราะผู้อื่นจะไม่รู้ว่าเราจะไปที่ไหนก็เลยไม่รู้ว่าจะไปทำไม

• ความเชื่อมั่นในตัวเองหากไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้ เราไม่มีวันที่จะทำได้แน่นอน ถ้าทำได้ก็แสดงว่า ฟลุ๊ก ดังนั้นความเชื่อมั่นในตัวเอง ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ก่อนการลงมือทำ ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในตัวเองใครจะมาเชื่อมั่นในตัวเรา ทัศนคติเชิงบวกจะช่วยให้เราเชื่อมั่นในศักยภาพของเรามากขึ้น โดยเราต้องบอกตัวเอง อยู่เสมอๆ ว่า “เราทำได้!” แล้วเราก็จะทำสำเร็จได้จริงๆ

• ความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในแผนงานอย่างต่อเนื่องผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ตามหรือทีมงาน ถ้าเราไม่มุ่งมั่น ทุ่มเท กับแผนงานที่เราคิดและเขียนขึ้นมาอย่างต่อเนื่องแล้ว เราคงไม่สามารถบอกให้ผู้อื่นทุ่มเทได้ เพราะผู้นำเป็นอย่างไร ผู้ตามก็จะเป็นอย่างนั้น ลองสังเกตดูได้เวลาที่เรารู้สึกขี้เกียจสักพักจะเห็นน้องๆ เริ่มเฉื่อยๆ เลยครับ

• การสื่อสารความเข้าใจกับผู้อื่นวิสัยทัศน์ และแผนงานของเรา ต้องได้รับการยอมรับจากทีมงาน มิเช่นนั้น เราก็ต้องทำงานคนเดียว ซึ่งก็คงไม่สำเร็จแน่นอน ดังนั้นต้องให้แน่ใจว่าการสื่อสารของเราไปถึงทีมงานนั้น ได้รับการตอบรับอย่างดี ทุกคนเข้าใจในเรื่องที่เราสื่อสารอย่างชัดเจน ดังนั้นการสื่อสารจึงต้องมุ่งเน้นที่ผู้ฟังเป็นสำคัญ ต้องใช้ ข้อความและภาษาที่เหมาะกับเขา เป็นหลัก มิใช่พูดแบบเดิมกับทุกกลุ่ม ซึ่งจะไม่ได้ผลแน่นอน

• รับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจการรับฟังเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้นำ เพราะการรับฟังทำให้ผู้นเข้าใจผู้อื่น เพราะหากเราต้องการนำใครแล้ว เราควรเข้าใจในความต้องการของเรา มิเช่นนั้นเราก็จะไม่ได้ความไว้วางใจจากเขาเลย เมื่อผู้นำรับฟังผู้อื่น มากขึ้น ผู้อื่นก็จะรับฟังผู้นำอย่างเต็มใจ แต่ปัจจุบัน ผู้นำหลายคนไม่ค่อยฟังผู้อื่น ส่วนใหญ่แล้วจะยึดถือความคิดของตัวเองเป็นหลักมากกว่า

• การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมเราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ดังนั้นเราจึงควรเป็นผู้นำ360องศา คือเป็นผู้นำรอบทิศทาง ดังนั้นคุณสมบัติความมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลรอบด้านที่ดีเยี่ยม ก็จะทำให้เราสามารถทำงานร่วมกับบุคคลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และจะได้รับความร่วมมือที่ดี สุดท้ายงานก็จะบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้

• ความมีใจรักในงานที่ทำไม่มีใคราทำอะไรได้ดี ในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ และคนส่วนใหญ่ก็จะทำในสิ่งที่ตัวเองรักอย่างจริงจัง และมีความสุขจึงลืมความเหน็ดเหนื่อยไปเลย ผู้นำที่มีความรักในงานที่ทำอย่างลุ่มหลง ก็จะทำงานนั้นอย่างเต็มที่ ไม่ย่อท้อ แม้ว่าจะเจออุปสรรคต่างๆ มากมาย ก็จะทำให้ผู้ตามมองเห็น และอยากร่วมงานนั้นมากขึ้น เพราะพลังที่ผู้นำใช้ในการทำงานก็จะแพร่ไปถึงผู้ตามด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้ทีมงานกระตือรือร้นในเป้าหมายนั้นร่วมกัน

• การรู้จักแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บทพิสูจน์ผู้นำที่แท้จริง คือ การเผชิญกับปัญหาแล้วสามารถแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ถอยหนีแม้ว่าจะยุ่งยากแค่ไหนก็ตาม ผู้นำมักจะอยู่ด้านหลังเวลางานนั้นสามารถได้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ผู้นำจะออกมายืนแถวหน้าทันที เมื่องานนั้นพบกับปัญหาที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น และผู้นำประเภทนี้แหละที่ทีมงานต้องการและไว้วางใจที่สุด

 ความเป็นผู้รับผิดชอบอย่างแท้จริงผู้นำ จะรับทั้งผิดและชอบ ในผลงาน ไม่ว่าผลลัพธ์ จะเป็นเช่นไร ก็ตาม ความรับผิดชอบเป็นคุณสมบัติที่ผู้นำหลายคนประกาศก้องกันก่อนทำงานว่า ยินดีรับผิดชอบทุกอย่าง และเมื่อนั้น ทีมงานก็จะมีหัวใจพองโต ที่พร้อมจะลุยไปข้าหน้าร่วมกับผู้นำเอง แต่หากผู้นำขาดความรับผิดชอบ แล้วไซด์ เชื่อได้เลยว่า คุณคงต้องเดินโดยลำพังแน่นอนเลย

คุณสมบัติความเป็นผู้นำ เด่นๆ เหล่านี้ ผมใช้ในการฝึกฝนตัวเอง อยู่เรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ทุกๆ วัน เพราะผมมีความเชื่อว่า การสร้างภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นเรื่องที่ “ทำได้” และต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่สามารถหยุดได้ เพราะเรื่องภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่เรียนรู้ไม่จบสิ้น จึงอยากเชิญชวน ให้พวกเราลองนำไปพัฒนาตัวเองดู แล้วคอยสังเกตดูว่าตัวเราเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ โดยการสังเกตกับคนรอบข้างเราก็ได้

จากประสบการณ์ของผม ที่เกิดกับตัวเอง และเกิดกับ Coachee หลายๆ คนที่พัฒนาตัวเองเพื่อให้มีภาวะความเป็นผู้นำสูงขึ้นนั้น จะเกิดจากความรู้สึกว่าคนรอบข้างเราเปลี่ยนไป เมื่อปฏิบัติกับเรา เช่นตั้งใจฟังเรามากขึ้น, กลัวเราน้อยลง, อยากพูดคุยกับเรามากขึ้น, ทำในสิ่งที่เรามอบหมายให้ดีขึ้น เป็นต้น แรกๆ ผมก็งงว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมหลายๆคน เปลี่ยนแปลงไป (แต่ผมก็ชอบนะครับ) สุดท้ายมานั่งวิเคราะห์อีกที พบว่าเป็นเพราะเราเปลี่ยนแปลงไปนี่เอง เลยทำให้ ผู้อื่นรู้สึกในภาวะความเป็นผู้นำของเรามากขึ้น เสมือนหนึ่งว่าเรามีอิทธิพล(Influence) ต่อเขามากขึ้น สิ่งใดที่เรามอบหมายก็จะได้รับการตอบสนองในด้านที่ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตาไปเลย

ความหมายของภาวะความเป็นผู้นำ มีมากมาย ผมขอนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นแง่คิด สำหรับการพัฒนาตัวเอง ดังนี้ครับ

ภาวะความเป็นผู้นำ… คือ• การแบกรับความรับผิดชอบในขณะที่ผู้อื่นสรรหาคำแก้ตัว
• จุดแรงบันดาลใจ วาดภาพให้ผู้อื่นมองเห็นศักยภาพในการทำประโยชน์ ที่ซ่อนอยู่ในตัวเขา
• การมองเห็นโอกาสในขณะที่ผู้อื่นมองเห็นวิกฤต
• การทำฝันให้เป็นจริง
• ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยไม่กลัวความล้มเหลว
การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัว หรือไปทำกันเมื่อขึ้นเป็นผู้จัดการ หรือผู้บริหารแล้วเท่านั้น แต่ควรเรียนรู้ และพัฒนาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อทำให้การขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้น มีความพร้อมอย่างเต็มเปรี่ยมทั้งด้านทักษะการทำงาน (Hard Skill) และภาวะความเป็นผู้นำ (Soft Skill) หากองค์กรใดให้ความสำคัญเรื่องภาวะความเป็นผู้นำกับบุคคลทุกระดับแล้ว ก็จะทำให้องค์กรนั้นพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันในทุกระดับได้ โดยไม่ต้องกังวลใจเลย


23/FEBRUARY/2014

ประเทศอาเซียน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก bruneiresources.com , en.nhandan.org.vn , shariafreeusa.com ,pasalao.activeboard.com , en.wikipedia.org

         เมื่อเอ่ยถึง "ประชาคมอาเซียน" ทุกคนทราบดีว่า เป็นการรวมกลุ่มกันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 10 ประเทศ อันได้แก่ ประเทศบรูไน พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งผู้นำทั้ง 10 ชาตินี้ อยู่ในฐานะ "ผู้นำประเทศอาเซียน" ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันจนนำไปสู่ "ประชาคมอาเซียน"

         ว่าแต่...นอกจากประเทศไทยแล้ว เพื่อน ๆ พอจะทราบกันไหมว่า ประเทศเพื่อนบ้านของเรามีการปกครองในรูปแบบไหน ใครเป็นประมุข หรือผู้ปกครองประเทศอาเซียนบ้าง ถ้ายังจำได้ไม่หมดทุกคน ก็ตามกระปุกดอทคอมมารู้จักกับ "ผู้นำประเทศอาเซียน" ทั้ง 10 ประเทศกันให้มากขึ้นเลย (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557)


1. เนการาบรูไนดารุสซาลาม หรือ ประเทศบรูไน

          พระมหากษัตริย์ และนายกรัฐมนตรี: สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ 
         ประเทศบรูไน ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยรัชกาลปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงเป็นพระราชาธิบดีพระองค์ที่ 28 แห่งบรูไน มีพระชนมายุ 66 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระประมุขแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้นำทางศาสนาอิสลามแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม


2. ราชอาณาจักรกัมพูชา


          พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี

         ประเทศกัมพูชา ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มีพระชนมายุ 59 พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยมติเป็นเอกฉันท์ของคณะที่ปรึกษาราชบัลลังก์ ภายหลังการประกาศสละราชบัลลังก์ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระราชบิดา อันเนื่องจากปัญหาทางพระพลานามัย

ฮุนเซน

          นายกรัฐมนตรี : สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
         ฮุน เซน หรือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ปัจจุบันอายุ 61 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้งแต่อายุ 33 ปี ในยุคสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดของกัมพูชา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็น สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เมื่อ พ.ศ. 2536 

ภาพโดย ROMEO GACAD / AFP

3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

          ประธานาธิบดี : โจโก วิโดโด

        โจโก วิโดโด เป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 ของอินโดนีเซีย ได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) โดยประวัติส่วนตัวเขานั้น เรียกได้ว่าเขาเป็นขวัญใจคนจนโดยแท้ เพราะเคยเป็นคนยากจนมาก่อน ก่อนที่จะมาเป็นมหาเศรษฐีค้าขายเฟอร์นิเจอร์ จากนั้นก็เข้าสู่วงการการเมืองเป็นนายกเทศมนตรีเมืองโซโล, ผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา และประธานาธิบดีอินโดนีเซีย

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี


4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

          ประธานาธิบดี : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน

         สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ผู้นำสูงสุดของประเทศเรียกว่า "ประธานประเทศ" เทียบเท่ากับตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน อายุ 76 ปี เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของประเทศ และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกหนึ่งตำแหน่ง

           นายกรัฐมนตรี : นายทองสิง ทำมะวง

         นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ นายทองสิง ทำมะวง ปัจจุบันอายุ 68 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และยังดำรงตำแหน่งกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค พรรคประชาชนปฏิวัติลาว อีกหนึ่งตำแหน่ง ก่อนหน้านั้นในช่วง พ.ศ. 2549-2553 เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติ


5. ประเทศมาเลเซีย


          พระมหากษัตริย์ : สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ 

         ประเทศมาเลเซียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รูปแบบคล้ายกับประเทศอังกฤษ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี องค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ พระชนมายุ 85 พรรษา ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และ 14 และทรงเป็นสุลต่านแห่งรัฐเกดะห์ พระองค์ปัจจุบัน

          นายกรัฐมนตรี : นายนาจิบ ราซะก์

         ดาโต๊ะซรี ฮัจญี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตน ฮัจญี อับดุล ราซะก์ หรือ นายนาจิบ ราซะก์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซีย หรือเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของประเทศ ปัจจุบันอายุ 59 ปี เกิดมาในครอบครัวนักการเมือง เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และสังกัดพรรคอัมโน 

กต. แจ้ง เต็งเส่ง เยือนไทย 22-24 ก.ค.

6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์


          ประธานาธิบดี : พลเอกเต็ง เส่ง
         สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือ พม่า ปกครองประเทศด้วยระบบประธานาธิบดี ปัจจุบันคือ พลเอกเต็ง เส่ง หรือ เทียน เส่ง อายุ 67 ปี รับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจาก พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 หลังจากชนะการเลือกตั้งทั่วไป อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พลเอกเต็ง เส่ง เคย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า ในช่วงปี พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2554

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี

7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์


         ประธานาธิบดี : นายเบนิกโน อากีโนที่ 3

         ประเทศฟิลิปปินส์เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงรับเอาการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้บริหารประเทศ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ ซึ่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเบนิกโน อากีโนที่ 3 หรือ เบนิกโน ซีเมออน โกฮวงโก อากีโนที่ 3 ปัจจุบันอายุ 54 ปี ดำรงตำแหน่งตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 15 ของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี

8. สาธารณรัฐสิงคโปร์


          ประธานาธิบดี : นายโทนี ตัน เค็ง ยัม

         ประเทศสิงคโปร์ ปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายโทนี ตัน เค็ง ยัม ปัจจุบันอายุ 72 ปี เพิ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 หลังจากทำคะแนนเฉือนชนะคู่แข่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ ไปเพียง 0.34% จึงได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์ คนที่ 7 นับแต่นั้นมา

          นายกรัฐมนตรี : นายลี เซียน ลุง 

         นายลี เซียน ลุง ปัจจุบันอายุ 60 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ ต่อจากนายโก๊ะ จ๊ก ตง ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศ ทั้งนี้ นายลี เซียน ลุง เป็นบุตรชายคนโตของ นายลี กวนยู อดีตนายกรัฐมนตรี

9. ราชอาณาจักรไทย 
ในหลวง

          พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

        ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเรียกรวมกันว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งพระประมุขของประเทศมาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงขณะนี้ทรงครองราชย์มาแล้ว 66 ปี ถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนม์ชีพอยู่ที่เสวยราชย์นานที่สุดในโลก และยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย



          นายกรัฐมนตรี : ยังไม่มี คาดว่า จะมีนายกรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้

         



10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
          ประธานาธิบดี : นายเจือง เติ๊น ซาง

         ประเทศเวียดนามมีการปกครองในรูปแบบคอมมิวนิสต์ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเจือง เติ๊น ซาง อายุ 62 ปี เป็นสมาชิกระดับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 9 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับคะแนนสูงสุดจากการลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี 

          นายกรัฐมนตรี : นายเหงียน เติ๊น สุง

         นายเหงียน เติ๊น สุง ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 6 ของประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีอายุ 63 ปี สังกัดพรรคคอมมิวนิสต์ ในอดีตเคยเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งรัฐเวียดนาม (State Bank of Vietnam) 

         และนี่ก็คือรายชื่อผู้นำทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน จะเห็นว่า ผู้นำของแต่ละประเทศจะมีสถานะ และบทบาทแตกต่างกันไปตามระบอบการปกครองที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งเราคนไทยก็ควรจะรู้จักข้อมูลของประเทศเพื่อนบ้านร่วมอาเซียนไว้บ้าง ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 1 ปีข้างหน้า



23/FEBRUARY/2014

Translate






Author Name

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.